ระบบ (อังกฤษ: system, มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน systēma, ในภาษากรีก σύστημα systēma, , ดูเพิ่มเติมได้จากบทความเกี่ยวกับ องค์ประกอบ หรือ "composition"[1]) คือชุดของสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ของสิ่งที่มีการดำรงอยู่ที่แตกต่างและ อย่างเป็นอิสระ ที่ได้ถูกควบรวมในรูปแบบบูรณาการทั้งหมด ดังนั้นระบบส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน

ระบบหนึ่ง อาจเป็น เซ็ตขององค์ประกอบย่อยของเซ็ตใด ๆ ในระบบอื่น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ ความสัมพันธ์ของเซ็ตนั้นๆ กับ องค์ประกอบย่อยของมัน ต่อ องค์ประกอบย่อย หรือ เซ็ตอื่น ๆ หรือ อาจกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งในสภาพแวดล้อมในโลก เรียกว่า ระบบ ที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในของมันเอง หรือ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมให้กับ ระบบอื่น ๆ หรือ อย่างน้อย ทุก ๆ สิ่งในโลกนี้ เป็น เซ็ตของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งภายใน "โลก" คือ ระบบโดยรวม นั่นเอง ขอบเขตของการศึกษาเกี่ยวกับ ระบบ ในคุณลักษณะทั่วไป "general properties of systems" จะพบได้ใน ศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้ทฤษฎีระบบ, cybernetics, ระบบพลวัต, อุณหพลศาสตร์ และ complex systems ศาสตร์เหล่านี้ ต่างศึกษาหาคำจำกัดความ หรือ สรุปแนวคิดโดยรวมเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะโดยทั่วไปของ ระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องให้คำจำกัดความโดยไม่ขึ้นอยู่กับ แนวคิดเฉพาะเจาะจง สาขา ชนิด หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

ระบบ ส่วนใหญ่จะแบ่งปันลักษณะบางอย่างร่วมกัน ดังนี้ :

  • ระบบ มี โครงสร้าง รูปร่าง หรือ structure, ที่ถูกกำหนดโดย องค์ประกอบภายใน components และ ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน;
  • ระบบ มี พฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “กระบวนการภายใน” (input, process, output)ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นได้ทั้ง วัตถุดิบ,พลังงาน หรือ ข้อมูลข่าวสาร หรือ แม้แต่ data เป็นต้น
  • ระบบ มี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายใน interconnectivity: ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ส่วนต่าง ๆ ภายในระบบที่มี ฟังก์ชันการปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องกันเช่นเดียวกับ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่มีต่อกันภายใน
  • ระบบ อาจจะมี การทำงานหรือ ฟังก์ชันบางส่วน หรือ อาจจะเป็นการทำงานของทั้งกลุ่มที่อยู่ภายใน

ในความหมายของคำว่า ระบบ อาจจะอ้างถึง เกี่ยวกับ เซ็ตของ กฎ ที่ควบคุม โครงสร้าง รูปร่าง โครงสร้าง หรือ พฤติกรรม ของ ระบบทั้งหมด นั้น ๆ

อ้างอิง

แก้
  1. σύστημα,โดย Henry George Liddell และ Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้