เวสาลี หรือ ไวศาลี (อักษรโรมัน: Vaishali; ฮินดี: वैशाली) เป็นนครที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งโบราณคดีอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย โดยเป็นเมืองหลักของวัชชีแห่งมหาชนบท ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกของสาธารณรัฐประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช พระโคตมพุทธเจ้าให้โอวาทครั้งสุดท้ายก่อนปรินิพพานใน ป. 483 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นใน 383 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้ากลาโศกจัดการสังคายนาครั้งที่สองขึ้นที่นี้ ทำให้เวสาลีกลายเป็นสถานที่สำคัญทั้งในศาสนาเชนกับศาสนาพุทธ[1][2] เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของหนึ่งในเสาอโศกที่เก็บรักษาไว้ดีที่สุด บนเสามีสิงโตอินเดียตัวเดียว

เวสาลี

Vaiśālī

ลิจฉวี
เวสาลีตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
เวสาลี
เวสาลี
เวสาลีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เวสาลี
เวสาลี
พิกัด: 25°59′N 85°08′E / 25.99°N 85.13°E / 25.99; 85.13
ประเทศ อินเดีย
รัฐรัฐพิหาร
ภูมิภาคมิถิลา
อำเภอเวสาลี
สถาปนา599 ปีก่อนคริสตศักราช
เขตเวลาUTC+5:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย)

เวสาลีอาจเป็นที่ตั้งของสถูปตัวอย่างแรกสุด นั่นคือ พระธาตุเจดีย์ที่กล่าวกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในนั้น[3][4]

นครนี้ได้รับการกล่าวถึงในบันทึกการเดินทางของฝาเสี่ยน (คริสตศตวรรษที่ 4) กับพระถังซัมจั๋ง (คริสต์ศตวรรษที่ 7) นักสำรวจชาวจีน ซึ่งภายหลังอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษใน ค.ศ. 1861 เป็นบุคคลแรกที่ระบุที่ตั้งของเวสาลีว่าอยู่ในหมู่บ้านบสาร์ทในอำเภอเวสาลี รัฐพิหาร[5][6]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ชื่อเวสาลีนำมาจากพระนามของพระเจ้าวิศาลในยุคมหาภารตะ[7]

ความสำคัญ

แก้

เวสาลีมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป มีการปกครองด้วยระบบสามัคคีธรรมหรือคณาธิปไตย ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบหนึ่ง คือไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ขาด มีแต่ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐซึ่งบริหารงานโดยความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกจากเจ้าวงศ์ต่าง ๆ วึ่งรวมเป็นคณะผู้ครองแคว้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าเจ้าวงศ์ต่าง ๆ มีถึง 8 วงศ์ และในจำนวนนี้วงศ์เจ้าลิจฉวีแห่งเวสาลีและวงศ์เจ้าวิเทหะแห่งเมืองมิถิลาเป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลที่สุดในสมัยพุทธกาล

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่เวสาลีหลายครั้ง แต่ละครั้งจะทรงประทับที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวันเป็นส่วนใหญ่ พระสูตรหลายพระสูตรเกิดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ และที่กูฏาคารศาลานี่เอง ที่เป็นที่ ๆ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระน้านางของพระพุทธองค์ พร้อมกับบริวาร สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นครั้งแรกในโลก และในการเสด็จครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ พระองค์ได้ทรงรับสวนมะม่วงของนางอัมพปาลี นางคณิกาประจำเมืองเวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายเป็นอารามในพระพุทธศาสนา[8]

พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม และได้ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ และเมื่อหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในเมืองเวสาลี[9]

ในช่วงไม่นานหลังพุทธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมืองเวสาลีได้ตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธ โดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งราชคฤห์ คัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่า สาเหตุของการเสียเมืองแก่แคว้นมคธเพราะความแตกสามัคคีของเจ้าวัชชี[10] เพราะการยุยงของวัสสการพราหมณ์[11] พราหมณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรูส่งเป็นไส้สึกเพื่อบ่อนทำลายภายใน เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกกองทัพมายึดเมืองจึงสามารถยึดได้โดยง่าย เพราะไม่มีเจ้าวัชชีองค์ใดต่อสู้ เพราะขัดแย้งกันเอง ทำให้แคว้นวัชชีล่มสลายและเมืองเวสาลีหมดฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นและตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธ แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารแห่งราชคฤห์ออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน ทำให้เมืองเวสาลีมีความสำคัญในฐานะเมืองหลวงอีกครั้ง แต่ทว่าก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เพราะกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองเวสาลีถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองแห่งนี้ถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา[12]

บุคคลทางประวัติศาสตร์จากเวสาลี

แก้
 
วิมาลากีรติ ภาพวาดบนกำแพงในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่ตุนหฺวาง
  • Chetaka กษัตริย์และผู้ปกครองวัชชีที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เวสาลี[14]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hoiberg, Dale; Indu Ramchandani (2000). Students' Britannica India, Volumes 1-5. Popular Prakashan. p. 208. ISBN 0-85229-760-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
  2. Kulke, Hermann; Dietmar Rothermund (2004). A history of India. Routledge. p. 57. ISBN 0-415-32919-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
  3. Fogelin, Lars (2015). An Archaeological History of Indian Buddhism. Oxford University Press. p. 85. ISBN 9780199948239.
  4. Lahiri, Nayanjot (2015). Ashoka in Ancient India. Harvard University Press. pp. 246–247. ISBN 9780674057777.
  5. Janice Leoshko (2017). Sacred Traces: British Explorations of Buddhism in South Asia. Taylor & Francis. p. 74. ISBN 978-1-351-55030-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
  6. Dilip Kumar (1986). Archaeology of Vaishali. Ramanand Vidya Bhawan. p. 36. ISBN 9788185205083. OCLC 18520132. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
  7. "Vaishali". tourism.bihar.gov.in (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2021. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
  8. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  9. สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ ๘๐ ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
  10. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต วัสสการสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  11. ทรงแนะวัสสการพราหมณ์ ให้โจมตีเมืองเวสาลีจริงหรือ . เว็บไซต์ธรรมะไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[3][ลิงก์เสีย]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  12. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.
  13. Romesh Chunder Dutt (5 November 2013). A History of Civilisation in Ancient India: Based on Sanscrit Literature: Volume I. Routledge. pp. 382–383. ISBN 978-1-136-38189-8.
  14. Upinder Singh (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. Pearson Education India. pp. 260–263. ISBN 978-81-317-1677-9.
  15. The Holy Teaching of Vimalakīrti: A Mahāyāna Scripture. Motilal Banarsidass Publ. 1991. p. 20. ISBN 978-81-208-0874-4.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้