เลือดทหารไทย
เลือดทหารไทย เป็นภาพยนตร์พูด (ในฟิล์ม) ของไทยแนวชีวิตและสงคราม ชั้นพิเศษ "ซูเปอร์" เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพไทย ระบบ 35 มม.ไวด์สกรีน ซาวออนฟิล์ม ขาวดำ พ.ศ. 2478
เลือดทหารไทย | |
---|---|
กำกับ | ขุนวิจิตรมาตรา |
เขียนบท | ขุนวิจิตรมาตรา |
อำนวยการสร้าง | มานิต วสุวัต |
นักแสดงนำ | ร.อ.ม.ล.ขาบ กุญชร ร.อ.หลวงปฏิยัทนาวายุทธ น.ต.หลวงสุภีอุทกธาร ร.น.จำเนียร อินทรนิลวัต ร.ท.เขียน ธีมากร จมื่นมานิตย์นเรศ จำรุ กรรณสูตร |
กำกับภาพ | หลวงกลการเจนจิต กระเศียร วสุวัต |
ตัดต่อ | กระเศียร วสุวัต ขุนวิจิตรมาตรา (ไม่ใส่เครดิต) |
ดนตรีประกอบ | ขุนวิจิตรมาตรา (คำร้อง) เรือโท มานิต เสนะวีณิน (ทำนอง) |
บริษัทผู้สร้าง | ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง แบบวสุวัต โดยการสนับสนุนของ กระทรวงกลาโหม |
วันฉาย | พ.ศ. 2478 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง แบบวสุวัต ดำเนินงานสร้างตามความประสงค์ของกระทรวงกลาโหม โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่สามกองทัพ (บก เรือ อากาศ) ร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการใหญ่ [1]
งานสร้าง
แก้หนังฟอร์มใหญ่มโหฬารทันสมัย มีฉากการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ เช่น ปืนใหญ่ ปืนกล ลูกระเบิด รถถัง รถเกราะ รถตีนตะขาบขนาดใหญ่ เรือรบแบบต่างๆ ตอร์ปิโด ลูกระเบิดน้ำลึก เครื่องบินขนาดใหญ่ทันสมัย และทหารประจำการเข้าร่วมแสดง ทั้งบนบกและกลางทะเล โดยมีนายทหารสามฝ่ายเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการด้านยุทธวิธีต่างๆ
ฉากใหญ่อีกตอนหนึ่งเป็นงานราตรีสโมสรบนเรือรบหลวงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ดารานำในเครื่องแบบราตรีสโมสรทั้งทหาร ตำรวจและพลเรือน นักแสดงหญิงแต่งชุดราตรีแบบต่างๆ ร่วมด้วยแตรวงทหารเรือ ทีมงานตั้งกล้องหนังเงียบไว้ตัวหนึ่งบนฝั่งท่าราชวรดิษฐ์ และต้องโยงสายอุปกรณ์จากรถอัดเสียงบนฝั่งไปที่กล้องภาพ-เสียงระบบดับเบิลซีสเต็ม/แบบวสุวัต ในเรือ ถ่ายฉากนายทหารลงเรือบดไปขึ้นเรือรบและทักทาย "ไอไอ" ,การเป่านกหวีดรับรอง ,ฉากเต้นรำตอนค่ำและฉากสนทนาท่ามกลางแขกเหรื่อพูดคุยกันตามกราบเรือขณะผู้คนส่วนใหญ่เต้นรำ [2]
บทภาพยนตร์แยกเป็นซีน (Scene) เมื่อผ่านความเห็นชอบจากปรึกษาและคณะกรรมการอำนวยการใหญ่แล้วจึงทำบทสำหรับถ่ายทำหรือชูตติ้งสคริป (Shooting Script) อย่างละเอียด ส่งให้คณะกรรมการใหญ่เป็นผู้สั่งการทุกครั้ง ใช้เวลาถ่ายทำหลายเดือนและขั้นตัดต่ออีกร่วม 3 เดือน
เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ทีมงานได้จัดฉายให้ผู้บัญชาการทหารและคณะกรรมการนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ที่ห้องฉายของโรงถ่าย เพื่อตรวจแก้ไขอีก 2 -3 ครั้งและถ่ายฉากรบเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยก่อนส่งมอบคณะกรรมการ
กรมโฆษณาการ นำเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ต้นปี พ.ศ. 2478 แล้วส่งฉายทั่วราชอาณาจักร [3]
สถานที่ถ่ายทำ
แก้- ฉากงานราตรีสโมสรบนเรือรบกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดาดฟ้า เรือรบรัตนโกสินทร์ (จอดกลางน้ำหน้าท่าราชวรดิษฐ์)[4]
- ฉากรบของทหารบก ที่ จ.ลพบุรี ทุ่งพญาไท โรงถ่ายสะพานขาว และทุ่งนาติดโรงถ่ายบางกะปิ (กำลังเริ่มสร้าง)
- ฉากรบของทหารเรือ ที่ อ่าวสัตหีบและท้องทะเลลึก
- ฉากรบของทหารอากาศ ที่ ดอนเมืองและทุ่งนาติดโรงถ่ายบางกะปิ
- ฉากเพลง กุหลาบในมือเธอ ที่ โรงถ่ายบางกะปิ (ซึ่งเพิ่งติดตั้งอุปกรณ์เสร็จ )
- ฉากเพลง ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา (พระเอกทหารเรือร้องในเรือโบต) ที่ สระอาบน้ำของโรงถ่าย
- ฉากเพลง มาร์ชเลือดทหารไทย ที่ ถนนราชดำเนินใน
เพลง
แก้- มาร์ชไตรรงค์ (เพลงหลัก ทำนองไทยเดิมแปลงเข้าโน้ตสากล ลัดดา สุทธิพงษ์ แต่งชุดทหารร้องนำหมู่ตอนประกาศสงคราม )
- กุหลาบในมือเธอ (เดิมใช้ชื่อ “ดอกไม้ของหล่อน“ ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเพลงตอนที่ชรินทร์ นันทนาคร นำมาบันทึกเสียงใหม่) (เนื้อร้องเพลงกล้วยไม้ที่นิยมแพร่หลายใส่ทำนองเพลงไทยสากล ร.อ.ม.ล.ขาบ กุญชร เล่นเปียโนร้องในห้อง)
- ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา (หลวงปฏิยัทนาวายุทธ - จำรุ)
- มาร์ชเลือดทหารไทย (เพลงหลัก ทำนองฝรั่งใส่เนื้อร้องไทย กองทหารเดินร้องตอนออกสนามรบ)
เพลงต้นฉบับ บันทึกแผ่นเสียงครั่ง 78 ตราโอเดียน (ช้างคู่) ต่อมามีการบันทึกเพลง "กุหลาบในมือเธอ" ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ฟังตลอดมา โดย ชรินทร์ นันทนาคร ,ธานินทร์ อินทรเทพ ,ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ (ซึ่งได้บันทึกเพลง "ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา" คู่กับ ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล ด้วย) ,อัลบั้มเพลงบรรเลงวงศรีกรุงออร์เคสตร้า โดย อดิง ดีล่า - กังวาล ชลกุล และอัลบั้มเพลงประทับใจในอดีต โดย ประสิทธิ์ พยอมยงค์ เป็นต้น [5]
อ้างอิง
แก้- ↑ กาญจนาคพันธุ์ ,ยุคเพลงหนังและละครในอดีต ,เรืองศิลป์ 2518 หน้า 59-71
- ↑ กาญจนาคพันธุ์ หน้า 67-68,116
- ↑ กาญจนาคพันธุ์ หน้า 69-70
- ↑ ขุนวิจิตรมาตรา ,หลักหนังไทย ,หอภาพยนตร์ชาติ(องค์การมหาชน) 2555 ISBN 978-616-543-150-7 หน้า 70,119
- ↑ แผ่นเสียง/แถบเสียง/ซีดีตราโอเดียน ,ศรีกรุง ,ไทยทีวีช่อง 4 ,เมโทรแผ่นเสียง ,มูลนิธิขุนวิจิตรมาตรา ฯลฯ