หม่อมหลวงขาบ กุญชร

พลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร (10 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 19 กันยายน พ.ศ. 2529) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป. พิบูลสงคราม)[1] และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ขาบ กุญชร
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2497 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าเชียด อภัยวงศ์
ถัดไปฉาย วิโรจน์ศิริ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505
นายกรัฐมนตรีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าพลโท อำนวย ไชยโรจน์
ถัดไปพลโท อำนวย ไชยโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2448
วังบ้านหม้อ
เสียชีวิต19 กันยายน พ.ศ. 2529 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเทียบ ฤทธาคนี
สินีนาฏ โพธิเวส
บุตร9 คน

ประวัติ

แก้

หม่อมหลวงขาบ กุญชร หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า หม่อมหลวงขาบมงคล กุญชร เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (วังบ้านหม้อ) เป็นบุตรคนที่ 30 ของพันเอก เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) และนางจันทร์ กุญชร ณ อยุธยา ได้รับประทานนาม "ขาบมงคล" จากพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

หม่อมหลวงขาบ สมรสครั้งแรกกับ นางสาวเทียบ ฤทธาคนี (2455-2511) ธิดานายพันโท พระยาทัพพสาธก์เสนา (นวม ฤทธาคนี) และคุณหญิงเนย มีบุตร-ธิดา รวม 6 คนคือ

  • ทวีวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา
  • พันตำรวจเอก (พิเศษ) วรวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา
  • อุรัชช์ ลอเรนส์
  • พลโท วิวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา
  • กนิษฐา วิลสัน
  • เทียมแข จรูญโรจน์ ณ อยุธยา สมรสกับไชยา สุริยัน

ภายหลังคุณเทียบ ถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้สมรสอีกครั้งกับสินีนาฏ โพธิเวส นักแสดงอาวุโส มีบุตรสาว 3 คน คือ[ต้องการอ้างอิง]

การศึกษา

แก้

หม่อมหลวงขาบ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดหัวลำโพง ก่อนจะเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนนายทหารบก ในปี พ.ศ. 2456 และได้รับทุนของกระทรวงกลาโหมให้ไปศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยทหารวูลิช ณ ประเทศอังกฤษ แล้วกลับมารับราชการประจำที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์

การทำงาน

แก้
 
หม่อมหลวงขาบ กุญชร (ที่ 2 จากซ้าย) บันทึกภาพร่วมกับนายทหารอเมริกันและนายทหารจีนคณะชาติ ระหว่างปฏิบัติภารกิจของขบวนการเสรีไทยในประเทศจีน

หม่อมหลวงขาบ บรรจุเข้ารับราชการในยศ "ร้อยตรี" เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469[2] เป็นผู้มีความสามารถในด้านการทหาร จึงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เสนาธิการทหาร ทูตฝ่ายทหารประจำสหรัฐอเมริกา ปลัดกระทรวงกลาโหม อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนแรก[3] และในทางการเมืองยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[4] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์อีกด้วย[5]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

หม่อมหลวงขาบ กุญชร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2529 สิริอายุ 80 ปี 344 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2530 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  2. พระราชทานยศทหารบก
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  4. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  5. ""อักษรานุสรณ์" บันทึกหลังความตาย หมายเลข 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  6. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตอนที่ 72 เล่ม 69 ราชกิจจานุเบกษา 9 ธันวาคม 2495
  8. แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 หน้า 3610 วันที่ 23 มกราคม 2481
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 63 ตอนที่ 63 หน้า 1461, 24 กันยายน 2489
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ,   เล่ม 72 ตอนที่ 88 หน้า 2773, 15 พฤศจิกายน 2498
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 386, 31 มกราคม 2499
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 51 หน้า 1303, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2500