จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)

(เปลี่ยนทางจาก จมื่นมานิตย์นเรศ)

จมื่นมานิตย์นเรศ ชื่อเดิม เฉลิม เศวตนันทน์ นักแสดงในภาพยนตร์ของรัฐบาลไทย เลือดทหารไทย สร้างโดย ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และเป็นบิดาของ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ (คู่ชีวิต สวลี ผกาพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2532)

จมื่นมานิตย์นเรศ
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2442
เฉลิม เศวตนันทน์
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต11 กันยายน พ.ศ. 2510 (68 ปี)
อาชีพข้าราชการ ,นักหนังสือพิมพ์ ,นักแสดง ,นักแต่งเพลง
ผลงานเด่นนักแสดงฝ่ายพลเรือน เลือดทหารไทย
ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงรำวงมาตรฐาน (งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ ,คืนเดือนหงาย )
เพลงปลุกใจ เพลงลีลาศของกรมโฆษณาการ (ไทยช่วยไทย ,ทางสร้างชาติ ,มีระเบียบ ฯลฯ )

ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงรำวงมาตรฐานประจำชาติ 4 เพลง งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ และ คืนเดือนหงาย รวมทั้งเพลงปลุกใจ ตลอดจนเพลงจังหวะลีลาศของกรมโฆษณาการ

วัยเด็ก แก้

เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2442 (เข้าใจว่าเกิดที่ บ้านเจ้าคุณตา ซอยรามบุตรี ตรงข้ามบ้านของหลวงบุณยมานพพานิช/อรุณ บุณยมานพ หรือบ้านหม่อมเส็ง) บุตรของ พระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห (เจริญ เศวตนันทน์) เจ้ากรมพระตำรวจในขวา กับ คุณหญิงกลิ่น ที่อยู่ บ้านสี่แยกคลองมอญ ฝั่งเหนือ เชิงสะพานวัดเครือวัลย์วิหาร (สะพานธรรมสารโสภณ)[1]

เข้าเรียนที่โรงเรียนทวีธาภิเศก แล้วต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ ได้เรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และโน้ตสากล กับพระยาวารสิริ (เอวัน วารสิริ) ก่อนเข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จมื่นมานิตย์นเรศ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2510

วัยทำงาน แก้

  • พ.ศ. 2461 - อายุ 19 ปี รับราชการเป็นมหาดเล็กรับใช้แผนกตั้งเครื่อง สมัยรัชกาลที่ 6 จนเลื่อนขึ้นเป็นเสวกโท
  • พ.ศ. 2469 - กรมมหาดเล็กหลวงยุบเลิก จึงลาออกเพื่อรับพระราชทานบำเหน็จ ไปทำงานหนังสือพิมพ์ไทยเขษมและแห่งอื่นๆ ,มีบทความเกี่ยวกับดนตรีและละคร ใช้นามแฝง ศุกรหัศน์ ,ศรีคุ้ม ,ศรีเศวต
  • พ.ศ. 2487 - อายุ 45 ปี ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ในช่วงนี้ได้ประพันธ์คำร้องเพลงรำวงมาตรฐานประจำชาติ 4 เพลง ได้แก่ งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ และ คืนเดือนหงาย
  • พ.ศ. 2492 - ลาออกจากราชการ หลังรับราชการตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ หัวหน้ากองหนังสือพิมพ์ กรมโฆษณาการ และ หัวหน้าแผนกปาฐกถาและกระจายเสียง ธนาคารออมสิน
  • พ.ศ. 2493 - รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง กฤษดาอภินิหาร
  • พ.ศ. 2496-2508 - อุปสมบท[4]
  • พ.ศ. 2509 - แสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ (ถ่ายทำในเมืองไทย)

ผลงาน แก้

นักแสดง แก้

ภาพยนตร์ แก้

โทรทัศน์ แก้

  • ----: ละครทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

ผู้ประพันธ์เพลง แก้

เพลงรำวงมาตรฐาน แก้

  • งามแสงเดือน ,ชาวไทย ,รำซิมารำ ,คืนเดือนหงาย

เพลงปลุกใจ แก้

  • ไทยช่วยไทย ,เอกราช ,ทางสร้างชาติ ,ปัจจุสมัย,รักสงบ,วันชาติ,เดินทางไกล,ยุวชนสโมสร,เดินทางไกล,สนธิสัญญามี่แก้ใหม่ (บางครั้งใช้นามแฝงในการแต่งเพลงว่า ศุกรหัศน์),ส่วนใหญ่แต่งให้วงดนตรีสุนทราภรณ์หรือวงดนตรีกรมโฆษณาการ[6]

เพลงลีลาศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เสวกโท จมื่นมานิตย์นเรศ ,www.reurnthai.com
  2. ขุนวิจิตรมาตรา ,หลักหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 2555 ISBN 978-616-543-150-7 หน้า 63
  3. หนังสือ 70 ปีกรมประชาสัมพันธ์,สำนักนายกรัฐมนตรี 2546 หน้า 81
  4. ศุกรหัศน์(เฉลิม เศวตนันทน์)กับเรื่องของศิลปิน ok nation.net
  5. กาญจนาคพันธุ์ ,ยุคเพลงหนังและละครในอดีต ,เรืองศิลป์ 2518 หน้า 59
  6. รายการเพื่อนฝัน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ,20 ก.พ.2556