เลห์ (ฮินดี: लेह; อักษรทิเบต: གླེ་, ไวลี: Gle) เป็นเมืองหนึ่งในเขตเลห์ของลาดักบนเทือกเขาหิมาลัย มีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของพระราชวังเลห์ซึ่งเป็นอดีตวังของเจ้านายลาดักในอดีต ลักษณะใกล้เคียงกับพระราชวังโปตาลา เคยเป็นที่ประทับของทะไลลามะที่ 14 ก่อนเสด็จไปประทับที่เมืองธรรมศาลา รัฐหิมาจัลประเทศ ในช่วงการก่อการกำเริบในทิเบต พ.ศ. 2502

เลห์
เมือง
พระราชวังเลห์
เลห์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เลห์
เลห์
พิกัด: 34°08′43.43″N 77°34′03.41″E / 34.1453972°N 77.5676139°E / 34.1453972; 77.5676139พิกัดภูมิศาสตร์: 34°08′43.43″N 77°34′03.41″E / 34.1453972°N 77.5676139°E / 34.1453972; 77.5676139
ประเทศ อินเดีย
ดินแดนสหภาพลาดัก
อำเภอเลห์
พื้นที่
 • ทั้งหมด45,110 ตร.กม. (17,420 ตร.ไมล์)
ความสูง3,500 เมตร (11,500 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด30,870 คน
 • ความหนาแน่น0.68 คน/ตร.กม. (1.8 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ท้องถิ่น
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
ทะเบียนพาหนะJK 10
เว็บไซต์leh.gov.in

เลห์ตั้งอยู่บนความสูง 3,524 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เชื่อมการเดินทางกับเมืองศรีนครทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทางหลวงเลห์–มนาลีเชื่อมการเดินทางไปยังเมืองมนาลีทางใต้

ประชากรส่วนใหญ่ในเลห์สืบเชื้อสายจากชาวทิเบต พูดภาษาลาดักซึ่งเป็นภาษาทิเบตตะวันออก ส่วนชาวมุสลิมเป็นประชากรที่อพยพเข้ามาในยุคหลัง หลังการผนวกลาดักเป็นส่วนหนึ่งของกัศมีร์ ในการสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2554 พบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแบบทิเบตร้อยละ 43.85 ศาสนาฮินดูร้อยละ 35.37 ศาสนาอิสลามร้อยละ 15.14 และศาสนาซิกข์ร้อยละ 2.70[2]

อ้างอิง แก้

  1. Zutshi, Chitralekha (2004). Languages of Belonging: Islam, Regional Identity, and the Making of Kashmir (ภาษาอังกฤษ). Hurst & Company. ISBN 9781850656944.
  2. Leh Ladakh, Census of India 2011.