เม็กกาโลดอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เม็กกาโลดอน สูญพันธุ์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: | |
---|---|
แบบจำลองของขากรรไกรเม็กกาโลดอน ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | †Otodontidae |
สกุล: | †Otodus |
สปีชีส์: | †O. megalodon |
ชื่อทวินาม | |
†Otodus megalodon Agassiz, ค.ศ. 1843 [1] | |
ชื่อพ้อง[2][3][4][5] | |
รายชื่อของชื่อพ้อง
|
เม็กกาโลดอน (อังกฤษ: Megalodon; มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า μέγας (megas) "ใหญ่, ทรงพลัง" และ ὀδoύς (odoús), "ฟัน" รวมกันแปลว่า ฟันใหญ่[6]) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก (Meg[7]) ปลาฉลามเป็นปลาฉลามขนาดใหญ่ เดิมใช้ชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carcharocles megalodon แต่ปัจจุบันได้มีการพิจารณาใหม่ให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otodus megalodon อยู่ในวงศ์ Otodontidae ซึ่งเป็นวงศ์ของปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในอันดับ Lamniformes[8][9][10]
ในช่วงที่มีชีวิตอยู่
แก้เม็กกาโลดอน มีชีวิตอยู่ในราว 23 ถึง 3.6 ล้านปีก่อน สมัยไมโอซีนตอนต้นถึงไพลโอซีน[11] โดยแหวกว่ายอยู่ในทั่วทุกมหาสมุทรเขตที่อบอุ่นและตามแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ มันเป็นฉลามที่มีขนาดใหญ่ โดยงานวิจัยล่าสุดระบุว่ามันมีขนาดอยู่ที่ราวๆ 10-13 เมตร[12] นักบรรพชีวินวิทยาคาดว่าเม็กกาโลดอนกินอาหารหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น วาฬ เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลวาฬและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอื่นๆที่มีรอยกัดของเม็กกะโลดอน
การสูญพันธุ์และการอ้างว่ามีการพบเห็น
แก้ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 3.6 ล้านปีก่อน[11] คาดว่าอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แหล่งอาหารลดน้อยลง รวมถึงการถูกแย่งอาหารโดยบรรพบุรุษของปลาฉลามขาว[11][13] โดยมีบางทฤษฎีระบุว่าบรรพบุรุษของวาฬเพชฌฆาต เป็นสาเหตุที่ทำให้เม็กกาโลดอนสูญพันธุ์ แต่จากการวิจัยภายหลังพบว่าบรรพบุรุษของวาฬเพชฌฆาตกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร และไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เม็กกะโลดอนสูญพันธุ์[14]
ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น Shark Attack 3: Megalodon ในปี ค.ศ. 2002, นวนิยายเรื่อง Megalodon เขี้ยวมหึมาสึนามิ นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเขียนและนักสมุทรศาสตร์ชาวไทย ในปี ค.ศ. 2005 หรือสารคดีทางโทรทัศน์เรื่อง Megalodon: The Monster Shark Lives เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ทางช่องดิสคัฟเวอรี [15]
หลายครั้งที่มีรูปภาพหรือวีดิโอซึ่งอ้างว่าเป็นหลักฐานการมีอยู่ของเม็กกะโลดอน แต่มักจะเป็นการตัดต่อ หรือเป็นเพียงปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิดอื่น เช่น ปลาฉลามสลีปเปอร์และปลาฉลามอาบแดด
อ้างอิง
แก้- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อagassiz1833
- ↑ "Otodus (Megaselachus) megalodon (Agassiz, 1837)". SharkReferences.com. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- ↑ Eastman, C. R. (1904). Maryland Geological Survey. Vol. 2. Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University. p. 82.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcappetta
- ↑ Hay, O. P. (1901). "Bibliography and Catalogue of the Fossil Vertebrata of North America". Bulletin of the United States Geological Society (179): 308.
- ↑ μέγας. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project. Also, ὀδούς in Liddell and Scott. Retrieved 11 August 2013.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmy
- ↑ Pimiento, C.; MacFadden, B. J.; Clements, C. F.; Varela, S.; Jaramillo, C.; Velez-Juarbe, J.; Silliman, B. R. (2016-03-30). "Geographical distribution patterns of Carcharocles megalodon over time reveal clues about extinction mechanisms". Journal of Biogeography. 43 (8): 1645–1655. doi:10.1111/jbi.12754.
- ↑ Pimiento, C.; Clements, C. F. (2014-10-22). "When Did Carcharocles megalodon Become Extinct? A New Analysis of the Fossil Record". PLoS ONE. 9 (10): e111086. doi:10.1371/journal.pone.0111086.
- ↑ Pimiento, C.; Balk, M. A. (2015-06-04). "Body-size trends of the extinct giant shark Carcharocles megalodon: a deep-time perspective on marine apex predators". Paleobiology. 41 (3): 479–490. doi:10.1017/pab.2015.16. PMC 4541548. PMID 26321775.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Boessenecker RW, Ehret DJ, Long DJ, Churchill M, Martin E, Boessenecker SJ. 2019. The Early Pliocene extinction of the mega-toothed shark Otodus megalodon: a view from the eastern North Pacific. PeerJ 7:e6088 https://doi.org/10.7717/peerj.6088
- ↑ Perez, Victor; Leder, Ronny; Badaut, Teddy (2021). "Body length estimation of Neogene macrophagous lamniform sharks (Carcharodon and Otodus) derived from associated fossil dentitions". Palaeontologia Electronica. 24 (1): 1–28. doi:10.26879/1140.
- ↑ McCormack, Jeremy; Griffiths, Michael L.; Kim, Sora L.; Shimada, Kenshu; Karnes, Molly; Maisch, Harry; Pederzani, Sarah; Bourgon, Nicolas; Jaouen, Klervia; Becker, Martin A.; Jöns, Niels (31 May 2022). "Trophic position of Otodus megalodon and great white sharks through time revealed by zinc isotopes". Nature Communications. 13 (1): 2980. Bibcode:2022NatCo..13.2980M. doi:10.1038/s41467-022-30528-9. ISSN 2041-1723. PMC 9156768. PMID 35641494. S2CID 249235478.
- ↑ Citron, Sara; Geisler, Jonathan H.; Alberto, Collareta; Giovanni, Bianucci (2022). "Systematics, phylogeny and feeding behavior of the oldest killer whale: a reappraisal of Orcinus citoniensis (Capellini, 1883) from the Pliocene of Tuscany (Italy)". Bollettino della Società Paleontologica Italiana. 61 (2): 167–186. doi:10.4435/BSPI.2022.13.
- ↑ "Shark Week 'Megalodon: The Monster Shark Lives' Tries To Prove Existence Of Prehistoric Shark (VIDEO)". Huff Post Green. 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 August 2013.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Carcharocles megalodon ที่วิกิสปีชีส์
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
แก้- Bretton W. Kent (1994). Fossil Sharks of the Chesapeake Bay Region. Egan Rees & Boyer, Inc.; 146 pages. ISBN 1-881620-01-8
- Dickson, K. A.; Graham, J. B. (2004). "Evolution and consequences of endothermy in fishes". Physiological and Biochemical Zoology. 77 (6): 998–1018. doi:10.1086/423743. PMID 15674772.