มีไซอาห์ (แฮนเดิล)

(เปลี่ยนทางจาก เมสไซยาห์ (ฮันเดล))

มีไซอาห์ (อังกฤษ: Messiah, HWV 56) เป็นผลงานออราทอริโอสำหรับการขับร้องประสานเสียงโดยจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล เป็นหนึ่งในบทร้องประสานเสียงภาษาอังกฤษที่มีได้รับความนิยมที่สุด โดยนำคำร้องมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ 2 ฉบับ ที่ชำระขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ฉบับ ค.ศ. 1611) และสมัยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (ฉบับ ค.ศ. 1538)

แฮนเดิลแต่งบทประพันธ์นี้ที่ลอนดอนในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1741[1] และออกแสดงครั้งแรกที่ดับลินเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1742[2] แฮนเดิลได้ปรับปรุงใหม่ และออกแสดงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1754 บทประพันธ์นี้ได้รับการเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาเยอรมันโดยโมซาร์ทในปี ค.ศ. 1789 โดยเพิ่มเติมส่วนดนตรีเครื่องเป่าลมไม้[3] ส่วนฉบับที่ได้รับฟังกันในปัจจุบัน ได้รับการเรียงเรียงโดยเอเบเนเซอร์ เพราต์ (1835 – 1909)

ปัจจุบัน มีไซอาห์ นิยมนับมาขับร้องกันในช่วงเทศกาลคริสต์มาส[4] โดยเฉพาะดนตรีช่วงท้ายของท่อนที่ 2 จากทั้งหมด 3 ท่อน ที่นิยมเรียกกันว่า "ฮาลเลลูยาห์คอรัส" (อังกฤษ: Hallelujah chorus) บทคำร้องในท่อนนี้นำมาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์พันธสัญญาใหม่

ในการแสดงมีไซอาห์รอบแรกที่ลอนดอนต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ เมื่อดนตรีบรรเลงมาถึงท่อนฮาเลลูยาห์คอรัส พระเจ้าจอร์จประทับยืนขึ้น พร้อมกับที่ผู้ชมทั้งหอประชุมพากันลุกขึ้นยืนตาม[5] จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันว่าเมื่อมีการแสดงเพลงนี้ครั้งใด ผู้ชมทั้งหมดจะต้องลุกขึ้นยืน[6]

อ้างอิง แก้

  1. Hinckley & Bosworth Borough Council. The Garden Temple at Gopsall Hall เก็บถาวร 2008-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. March 2004. Retrieved August 6, 2009.
  2. Edwards, F.G. (November 1, 1902). "Handel's Messiah: Some Notes on Its History and First Performance". The Musical Times and Singing-Class Circular. 43 (717): 713–718.
  3. Messiah - Arranged by Mozart
  4. "Messiah "A Sacred Oratorio"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-08-14.
  5. มีข้อสันนิษฐานมากมายว่าธรรมเนียมนี้มีที่มาอย่างไร บ้างก็ว่าพระเจ้าจอร์จทรงยืนขึ้นเป็นการคารวะต่อพระคริสต์ บ้างก็ว่าเพื่อคารวะต่อแฮนเดิล บ้างก็ว่าทรงยืนเพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถหลังจากนั่งชมการแสดงติดต่อกันเป็นเวลานาน
  6. บัณฑิต อึ้งรังษี และจุมพฏ สายหยุด. ดนตรีดีๆ ไม่มีกระได. กรุงเทพ : อินสไปร์มิวสิค, พ.ศ. 2552. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-235-269-1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้