คริสตจักรแห่งอังกฤษ
คริสตจักรแห่งอังกฤษ[2] (อังกฤษ: Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ[3] ของอังกฤษ[2] และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก
คริสตจักรแห่งอังกฤษ | |
---|---|
อักษรย่อ | C of E |
กลุ่ม | แองกลิคัน |
ความโน้มเอียง | คริสตจักรกลาง (รวมทั้งคริสตจักรชั้นสูง คริสตจักรกลาง และคริสตจักรระดับล่าง) |
เทววิทยา | ลัทธิแองกลิกัน |
แผนการปกครอง | การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล |
ประมุข | สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร |
ไพรเมต | จัสติน เวลบี |
สมาคม | แองกลิคันคอมมิวเนียน ปอร์วูคอมมิวเนียน สภาคริสตจักรโลก[1] |
ภูมิภาค | อังกฤษ, เวลส์ (ข้ามพรมแดน) ไอล์ออฟแมน หมู่เกาะแชเนิล ยุโรปภาคพื้นทวีป โมร็อกโก |
ศูนย์กลาง | เชิร์ชเฮาส์ เวสต์มินสเตอร์ อังกฤษ |
ผู้ก่อตั้ง |
|
แยกตัวจาก | โรมันคาทอลิก (1534) |
แยกออก | ผู้คัดค้านชาวอังกฤษ (1534 เป็นต้นไป) พิวริตัน (ศตวรรษที่ 17) นิกายเมโทดิสต์ (ศตวรรษที่ 18) Plymouth Brethren (คริสต์ทศวรรษ 1820) ฟรีคริสตจักรแห่งอังกฤษ (1844) Ordinariate of Our Lady of Walsingham (2011) |
สมาชิก | 26 ล้านคน (พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน) |
ชื่ออื่น | คริสตจักรแองกลิคัน |
เว็บไซต์ทางการ | www |
ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1534 แล้วออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงนำคริสตจักรแห่งอังกฤษกลับไปรวมกับคริสตจักรคาทอลิกอีกในปี ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา ค.ศ. 1558 ปฏิเสธอำนาจของพระสันตะปาปาในคริสตจักรแห่งอังกฤษอีก ทั้งฝ่ายคาทอลิกและฝ่ายปฏิรูปต่างพยายามรูปแบบหลักความเชื่อและพิธีกรรมให้เป็นไปตามแบบของตนตลอดมา จนความขัดแย้งมาสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงเอลิซาเบธันโดยกำหนดว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นทั้งแบบคาทอลิกและปฏิรูป[4]
- คาทอลิก เป็นคาทอลิกเพราะเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรสากลที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอัครทูต คริสตจักรนี้จึงให้ความสำคัญกับคำสอนของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก ซึ่งกำหนดไว้ในหลักข้อเชื่อของอัครทูต หลักข้อเชื่อไนซีน และหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียน[5]
- ปฏิรูป เป็นคริสตจักรปฏิรูปเพราะได้รับอิทธิพลด้านหลักความเชื่อจากการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดังพบได้จากหนังสือคำอธิษฐานทั่วไปและคำแถลงสามสิบเก้าข้อ
ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาและการเมืองขึ้นอีก ทำให้ฝ่ายพิวริตันและเพรสไบทีเรียนได้ขึ้นมามีอำนาจในคริสตจักร แต่ก็หมดอำนาจไปเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้คืนสู่ราชบัลลังก์ ปัจจุบันในคริสตจักรมีแนวความเชื่ออยู่หลายแบบ แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มแองโกล-คาทอลิกและกลุ่มอีแวนเจลิคัล ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกันมาตั้งแต่การปฏิรูปช่วงแรก นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้นอีกในปัจจุบันระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยมกับฝ่ายพิพัฒนาการนิยมอันเนื่องมาจากประเด็นการบวชสตรีและทัศนะต่อคนรักร่วมเพศ ทั้งนี้คริสตจักรแห่งอังกฤษได้บวชสตรีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 และปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันให้มีการอภิเษกบิชอปหญิง
คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งเขตปกครองออกเป็นเขตแพริช หลายเขตแพริชรวมกันเป็นมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคือไพรเมตแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษทั้งหมด และเป็นศูนย์กลางเพื่อเอกภาพของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก เจเนอรัลซิโนดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นที่ประชุมของคริสตจักรและบรรดาบิชอป เคลอจี และฆราวาส มีอำนาจในการออกนโยบายต่าง ๆ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในขั้นสุดท้าย
ภาคคริสตจักร
แก้คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งการปกครองออกเป็นสองภาคคริสตจักร คือภาคแคนเทอร์เบอรีและภาคยอร์ก แต่ละภาคมีอาร์ชบิชอปเป็นประมุข ภาคคริสตจักรประกอบด้วยหลายมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข
อ้างอิง
แก้- ↑ Church of England at World Council of Churches
- ↑ 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5
- ↑ "The History of the Church of England". The Archbishops' Council of the Church of England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-30.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-30.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูล
แก้- Cowart, John Wilson; Knappen, M. M., บ.ก. (2007). The Diary Of Samuel Ward, A Translator Of The 1611 King James Bible. Bluefish Books.
- Hefling, Charles (2021). The Book of Common Prayer: A Guide. Guides to Sacred Texts. Oxford University Press. doi:10.1093/oso/9780190689681.001.0001. ISBN 9780190689681.
- Helmholz, R.H. (2003). Mulholland, Maureen (บ.ก.). Judges and trials in the English ecclesiastical courts in "Judicial Tribunals in England and Europe, 1200–1700 Volume I". Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6342-8.
- King, Peter (July 1968). "The Episcopate during the Civil Wars, 1642-1649". The English Historical Review. Oxford University Press. 83 (328): 523–537. doi:10.1093/ehr/lxxxiii.cccxxviii.523. JSTOR 564164.
- MacCulloch, Diarmid (1990). The Later Reformation in England.
- MacCulloch, Diarmaid (1996). Thomas Cranmer: A Life (revised ed.). London: Yale University Press. ISBN 9780300226577.
- Marshall, Peter (2017a). Heretics and Believers: A History of the English Reformation. Yale University Press. ISBN 978-0300170627.
- Marshall, Peter (2017b). "Settlement Patterns: The Church of England, 1553–1603". ใน Milton, Anthony (บ.ก.). The Oxford History of Anglicanism. Vol. 1: Reformation and Identity, c. 1520–1662. Oxford University Press. ISBN 9780199639731.
- Moorman, John R. H. (1973). A History of the Church in England (3rd ed.). Morehouse Publishing. ISBN 978-0819214065.
- Shagan, Ethan H. (2017). "The Emergence of the Church of England, c. 1520–1553". ใน Milton, Anthony (บ.ก.). The Oxford History of Anglicanism. Vol. 1: Reformation and Identity, c. 1520–1662. Oxford University Press. ISBN 9780199639731.
- Shepherd, Jr., Massey H.; Martin, Dale B. (2005). "Anglicanism". ใน Jones, Lindsay (บ.ก.). Encyclopedia of Religion. Vol. 1 (2nd. ed.). Detroit: Macmillan Reference USA.
- Spurr, John (1998). English Puritanism, 1603-1689. Palgrave. ISBN 978-0333601884.
- Wedgwood, C.V. (1958). The King's War, 1641–1647 (1983 ed.). Penguin Classics. ISBN 978-0-14-006991-4.