เครื่องเป่าลมไม้

เครื่องเป่าลมไม้ (อังกฤษ: Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง

ประเภทเครื่องเป่าลมไม้

แก้

เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ

  • 1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทขลุ่ย ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ แบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล
  • 2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทปี่ ส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือน ลมจะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำทอน แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้ เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว (Single reed)

เครื่องเป่าลมไม้ประเภทขลุ่ย

แก้

ฟลูต

แก้

ฟลูต (อังกฤษ: Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง ปัจจุบันเครื่องคนตรีในตระกูลคอนเสิร์ตฟลุต (Western concert flute) มีหลายประเภท ได้แก่

  1. ปิคโคโล (อังกฤษ: Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้ หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
  2. เทรเบิลฟลูต (อังกฤษ: Treble flute) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กรองลงมาจากปิคโคโล ทำมาจากเงิน ระดับเสียงสูงกว่าคอนเสิร์ตฟลูตห้าตัวโน้ต ปัจจุบันค่อนข้างหาได้ยาก พบในฟลูตออร์เคสตรา และการบรรเลงเดี่ยวเป็นส่วนมาก
  3. โซปราโนฟลูต (อังกฤษ: Soprano flute) เป็นฟลูตขนาดที่สาม บางครั้งจึงเรียกว่า "Third Flute" ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะมักใช้มีแฟลตคลาริเน็ตแทน
  4. คอนเสิร์ตฟลูต (อังกฤษ: Western concert flute) (ปัจจุบันที่นิยมใช้) มีความยาว 26 นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่ นุ่มนวล
  5. Flûte d'amour ไม่ใช้ในวงฟลูตออร์เคสตรา แต่นิยมใช้ในวงแจ๊ส เรียกอีกอย่างว่า เทเนอร์ฟลูต
  6. อัลโตฟลูต (อังกฤษ: Alto flute) เป็นฟลูตที่มีขนาดใหญ่กว่าคอนเสิร์ตฟลูตเล็กน้อย มีการทำหัวฟลูตอยู่สองแบบ คือแบบหัวโค้งและแบบหัวตั้ง
  7. เบสฟลูต (อังกฤษ: Bass flute)
  8. คอนทรา-อัลโตฟลูต (อังกฤษ: Contra-alto flute)
  9. คอนทราเบสฟลูต (อังกฤษ: Contrabass flute)
  10. ซับคอนทราเบสฟลูต (อังกฤษ: Subcontrabass flute)
  11. ดับเบิลคอนทราเบสฟลูต (อังกฤษ: Double contrabass flute)
  12. ไฮเปอร์เบสฟลูต (อังกฤษ: Hyperbass flute)

ไฟฟ์

แก้

ไฟฟ์ (อังกฤษ: Fife) เป็นเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย มีลักษณะคล้ายกับปิคโคโล ต่างกันที่ไฟฟ์เสียงจะแหลมและดังกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะไฟฟ์ทำมาจากไม้และมีท่อนที่ขนาดเล็กกว่า ไฟฟ์จะไม่เรียงสเกลตามฟลูต โดยจะไม่เรียงชาร์ป, แฟลตโน้ตลงไป แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สเกลแบบฟลูต นิยมใช้ในวงดุริยางค์และวงมาร์ช

รีคอร์เดอร์

แก้

ขลุ่ย

แก้

ขลุ่ยตี๋จื่อ

แก้

ขลุ่ยตี๋จื่อ (พินอิน: Dizi ตัวอักษร: 笛子) เป็นเครื่องดนตรีเป่าหลักในวงดนตรีจีน ใช้สำหรับบรรเลงเพลงพื้นเมืองและเพลงงิ้ว นิยมพบเห็นในหนังกำลังภายในหรือภาพยนตร์จีน ปัจจุบันสามารถใช้เล่นควบคู่กับดนตรีสากลได้ ตัวขลุ่ยส่วนมากมักจะทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและหาได้ง่าย สมัยก่อนจึงเป็นที่นิยมมาก เพราะพกพาได้ง่าย นอกจากไม้ไผ่แล้ว ขลุ่ยตี๋จื่อก็นิยมทำจากไม้ชนิดอื่น หิน หยกและโลหะ แต่ส่วนมากนิยมเก็บสะสมมากกว่านำมาเล่น

ขลุ่ยตี๋จื่อมีหลายคีย์ ยิ่งคีย์สูง ขลุ่ยยิ่งสั้น ความยาวของขลุ่ยมีตั้งแต่ 49 − 68 ซม. บริเวณหัวและท้ายของขลุ่ยจะมักจะประกอบด้วยวัสดุสวยงาม เช่น เขาสัตว์ พลาสติก แก้ว เป็นต้น

ขลุ่ยพื้นเมืองอเมริกัน

แก้

ขลุ่ยเซียว

แก้

แฟลกโกเล็ค

แก้

ทิม วิสเซล

แก้

ออร์การินา

แก้

เครื่องเป่าลมไม้ประเภทปี่

แก้

ประเภทปี่ลิ้นคู่ (Double reed)

แก้

โอโบ

แก้

โอโบ (อังกฤษ: Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุด ชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณมีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ออโรส” (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวยทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้องจำพวก้ขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ลิ้นของปี่โอโบได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงาน ผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมา ตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง

โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่ ความจริงแล้วแม้แต่เด็กก็สามารถเป่าได้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่นต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบางเข้าไปในท่อลม เทคนิคการควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน

ช่วงเสียงของโอโบกว้างประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือนฟลูต มีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนองเศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและ ลักษณะของดินแดนทางตะวันออก

หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวง ออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง “ลา” (A)

คอร์ แองเกลส์

แก้

คอร์ แองเกลส์ (อังกฤษ: Cor Anglais or English horn) เป็นปี่ตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า "อองเกล" (Angle) ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)

คอร์ แองเกลส์นอกจากมีชื่อประหลาดแล้วยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต

บาสซูน

แก้

บาสซูน (อังกฤษ: Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูนค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์

เนื่องจากความใหญ่ โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลมให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อ ให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก

เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของ กลุ่มเครื่องลมไม้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างไพเราะอีกด้วย

คอนทราบาสซูน

แก้

คอนทราบาสซูน หรือดับเบิลบาสซูน (อังกฤษ: Contra Bassoon or Double Bassoon) คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาว ของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อ รูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง

คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆให้สมบูรณ์ และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้

คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่งลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือน บาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตราขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะ สร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มืด โอกาสที่ใช้ในการบรรเลงมีไม่มากนักทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบทเพลงนั้น ๆ

ประเภทปี่ลิ้นเดียว (Single Reed)

แก้

คลาริเนต

แก้

คลาริเนต (อังกฤษ: Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

ปี่คลาริเนตทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์เช่นเดียวกับปี่โอโบ มีรูปร่างคล้ายโอโบมาก ความแตกต่างอยู่ที่มีลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็น ทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว

คลาริเนตมีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ ปี่ชนิดนี้ แตกต่างกับฟลูตในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูตจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลาริเนตให้เสียงสูงสดใสร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บนริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้แตกต่างกัน โดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อย และการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่หนัก–เบาเพียงใด

ในวงโยธวาทิตปี่คลาริเนตถือเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็น ไวโอลินของวงโยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาดแต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต

เบส คลาริเนต

แก้

เบส คลาริเนต (อังกฤษ: Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้น ส่วนที่เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์เบสคลาริเนตขึ้นเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรีในตระกูลคลาริเนตครบทุกเสียง

แซกโซโฟน

แก้

แซกโซโฟน (อังกฤษ: Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้ มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1840 อดอล์ฟ แซก ได้รับการว่าจ้างจากหัวหน้าวงโยธวาทิต ให้ผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้ว เรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophicleide) มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทน จากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก

ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่า คลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว ปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอมโบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่

แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ขนาด คือ บีแฟลตโซปราโน อีแฟลตอัลโต บีแฟลตเทเนอร์ และอีแฟลตบาริโทน

ดูเพิ่ม

แก้