เนื้อดาว (อังกฤษ: mantle) เป็นชั้นโครงสร้างของดาวที่อยู่ระหว่างเปลือกดาวกับแก่นดาว ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นหินหรือน้ำแข็งและเป็นชั้นที่มีมวลมากที่สุดในโครงสร้างดาว เนื้อดาวถูกแบ่งแยกออกเป็นชั้นจากเปลือกดาวและแก่นดาวตามลำดับความหนาแน่น (หนาแน่นมากอยู่ล่าง) ดาวเคราะห์คล้ายโลก ดาวเคราะห์น้อยและดาวบริวารบางดวงจะมีชั้นเนื้อดาว

เนื้อโลก แก้

 
โครงสร้างของโลก

เนื้อโลกเป็นชั้นซิลิเกตระหว่างเปลือกโลกและแก่นโลกชั้นนอก มีมวลประมาณ 4.01 × 1024 กิโลกรัม คิดเป็น 67% ของมวลทั้งโลก[1] มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร[1] คิดเป็นประมาณ 84% ของปริมาตรโลก ปกติมีลักษณะเป็นของแข็งแต่บางช่วงเวลาจะมีพฤติกรรมเป็นของไหลที่มีความหนืด การหลอมเหลวบางส่วนของเนื้อโลกในเทือกเขากลางสมุทรทำให้เกิดเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร และการหลอมเหลวบางส่วนจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกจะก่อให้เกิดเปลือกโลกภาคพื้นทวีป[2]

เนื้อดาวเคราะห์ดวงอื่น แก้

เนื้อดาวพุธเป็นชั้นซิลิเกตหนาประมาณ 490 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 28% ของมวลดาว[1] เนื้อดาวศุกร์เป็นชั้นซิลิเกตหนาประมาณ 2,800 กิโลเมตร คิดเป็น 70% ของมวลดาว[1] เนื้อดาวอังคารเป็นชั้นซิลิเกตหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร คิดเป็น 74–88% ของมวลดาว[1] ซึงดูได้จากอุตกาบาตจากดาวอังคาร[3]

เนื้อดาวบริวาร แก้

ดวงจันทร์ไอโอ ดวงจันทร์ยูโรปาและดวงจันทร์แกนีมีดของดาวพฤหัสก็มีเนื้อดาว โดยไอโอเป็นชั้นซิลิเกตหนาประมาณ 1,100 กิโลเมตรและปกคลุมดาวเปลือกดาวที่มีลักษณะเป็นภูเขาไฟ เนื้อดาวของแกนีมีดมีสองชั้นโดยชั้นบนเป็นน้ำแข็งหนาประมาณ 835 กม. ส่วนชั้นล่างเป็นชั้นซิลิเกตหนาประมาณ 1,315 กม. ส่วนเนื้อดาวของยูโรปามีสองชั้นเช่นกัน ชั้นล่างเป็นซิลิเกตหนาประมาณ 1,165 กม. ส่วนชั้นบนมีลักษณะเป็นน้ำแข็งหนาประมาณ 85 กม. และอาจมีน้ำที่เป็นของเหลวด้วย[1]

ดวงจันทร์มีเนื้อดาวเป็นซิลิเกตหนาประมาณ 1,300–1,400 กม. และเป็นต้นกำเนิดของหินในจันทรสมุทร[4] คาดการณ์ว่าเนื้อดวงจันทร์โผล่ขึ้นมาเป็นพื้นผิวบริเวณแอ่งเอตเคน-ขั้วใต้และทะเลคริเซียม[4]

ดวงจันทร์ไททันและดวงจันทร์ไทรทันมีเนื้อดาวที่เป็นน้ำแข็งและสารของแข็งระเหยอื่น ๆ[5][6]

เนื้อดาวเคาะห์น้อย แก้

ดาวเคราะห์น้อยบางดวงก็มีเนื้อดาว[7] เช่น 4 เวสตา[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Katharina., Lodders (1998). The planetary scientist's companion. Fegley, Bruce. New York: Oxford University Press. ISBN 978-1423759836. OCLC 65171709.
  2. "What is the Earth's Mantle Made Of? – Universe Today". Universe Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  3. Swindle, T. D. (2002-01-01). "Martian Noble Gases". Reviews in Mineralogy and Geochemistry (ภาษาอังกฤษ). 47 (1): 171–190. doi:10.2138/rmg.2002.47.6. ISSN 1529-6466.
  4. 4.0 4.1 Wieczorek, M. A. (2006-01-01). "The Constitution and Structure of the Lunar Interior". Reviews in Mineralogy and Geochemistry (ภาษาอังกฤษ). 60 (1): 221–364. doi:10.2138/rmg.2006.60.3. ISSN 1529-6466.
  5. "Layers of Titan". NASA. 23 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2015. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
  6. "Triton: In Depth". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  7. "Griffith Observatory – Pieces of the Sky – Meteorite Histories". www.griffithobservatory.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-10. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  8. Reddy, Vishnu; Nathues, Andreas; Gaffey, Michael J. (2011-03-01). "First fragment of Asteroid 4 Vesta's mantle detected". Icarus (ภาษาอังกฤษ). 212 (1): 175–179. doi:10.1016/j.icarus.2010.11.032. ISSN 0019-1035.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้