ชานะ นักรบเนตรอัคคี

(เปลี่ยนทางจาก เนตรเพลิงชานะ)

ชานะ นักรบเนตรอัคคี (ญี่ปุ่น: 灼眼のシャナโรมาจิShakugan no Shana) เป็นนิยายแบบไลท์โนเวลที่แต่งโดย ยาชิจิโร ทากาฮาชิ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ต่อมาได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน อนิเมะ และดราม่าซีดี ตัวเอกของเรื่องคือ ซาคาอิ ยูจิ และ ชานะ ซึ่งถูกเรียกว่า "มือสังหารเกศาเพลิงเนตรอัคคี"

ชานะ นักรบเนตรอัคคี
ชานะ นักรบเนตรอัคคี
灼眼のシャナ
ชื่อภาษาอังกฤษShakugan no Shana
แนวแอ็คชั่น, แฟนตาซี, โรแมนติก
มังงะ
เขียนโดยยาชิจิโร่ ทากาฮาชิ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น Dengeki Bunko
สหรัฐ Viz Media
สาธารณรัฐจีน ฮ่องกง Kadokawa Media
เกาหลีใต้ Daiwon C.I.
ไทย บลิส พับลิชชิ่ง (ปิดกิจการ)
กลุ่มเป้าหมายMale
มังงะ
ชานะ นักรบเนตรอัคคี
เขียนโดยยาชิจิโร่ ทากาฮาชิ (ผู้แต่ง)
โนอิจิ อิโต (ผู้ออกแบบตัวละคร)
อายาโตะ ซาซาคุระ (ผู้วาด)
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น ASCII Media Works
ไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์
อนิเมะ
เนตรเพลิงชานะ
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
สตูดิโอญี่ปุ่น J.C.Staff
เกม
ผู้พัฒนาMediaWorks
ผู้จัดจำหน่ายMediaWorks
แนวผจญภัย
แพลตฟอร์มเพลย์สเตชัน 2
อนิเมะ
Shakugan no Shana Tokubetsuhen: Koi to Onsen no Kōgai Gakushū!
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
สตูดิโอญี่ปุ่น J.C.Staff
เกม
Shakugan no Shana DS
ผู้พัฒนาMediaWorks
ผู้จัดจำหน่ายMediaWorks
แนวผจญภัย
แพลตฟอร์มนินเทนโดดีเอส
วางจำหน่ายเมื่อ29 มีนาคม พ.ศ. 2550
อนิเมะ
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
ดนตรีโดยKō Ōtani
สตูดิโอJ.C.Staff
มังงะ
ชานะ นักรบเนตรอัคคี -บทเพลงอันเป็นนิรันดร์-
เขียนโดยยาชิจิโร่ ทากาฮาชิ (ผู้แต่ง)
โนอิจิ อิโต (ผู้ออกแบบตัวละคร)
ชิอิ คิยะ (ผู้วาด)
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น MediaWorks
ไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์
อนิเมะ
Shakugan no Shana II
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
สตูดิโอญี่ปุ่น J.C.Staff
อนิเมะ
Shakugan no Shana S
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
สตูดิโอญี่ปุ่น J.C.Staff
อนิเมะ
Shakugan no Shana Final
กำกับโดยทาคาชิ วาตานาเบะ
สตูดิโอญี่ปุ่น J.C.Staff

ในประเทศไทย ชานะ นักรบเนตรอัคคี ฉบับนิยาย ได้ลิขสิทธิ์ตีพิมพ์โดย บลิส พับลิชชิ่ง (อยู่ในหมวด J-Light ) แปลโดย กมลวรรณ สงวนสิริกุล และ ชนินันท์ กิตติปฏิมาคุณ ฉบับหนังสือการ์ตูนได้ลิขสิทธิ์โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ ส่วนฉบับอนิเมะซีซันแรกได้ลิขสิทธิ์โดย อามีโก้ ใช้ชื่อภาษาไทยว่า เนตรเพลิงชานะ และอนิเมะซีซันสองและสามได้ลิขสิทธิ์โดย โรส แอนิเมชัน

เนื้อเรื่อง แก้

ซาคาอิ ยูจิ นักเรียนมัธยมปลายผู้ซึ่งหวังว่าจะใช้ชีวิตอย่างสงบสุข ได้ทราบว่าแท้จริงแล้วตัวเขาเองนั้นได้ตายไปแล้ว ระหว่างทางกลับบ้านวันหนึ่ง เขาได้พบเหตุการณ์ประหลาด อยู่ๆ บรรยากาศรอบข้างก็หยุดลง และผู้คนที่อยู่รอบๆ ก็ตกอยู่ในเปลวเพลิงสีฟ้า ขณะที่ปิศาจที่รูปร่างคล้ายตุ๊กตาขนาดยักษ์ดูดเปลวเพลิงนั้นเข้าไปในปาก ขณะที่ปิศาจนั้นกำลังจะกินยูจิเข้าไป ก็ปรากฏหญิงสาวถือดาบในผ้าคลุมสีดำผู้ซึ่งมีผมและนัยน์ตาสีแดงราวกับเปลวเพลิงที่กำลังลุกโชนออกมาช่วยเขา หญิงสาวคนนั้นเรียกตัวเองว่า เฟลมเฮซ (Flame Haze) ผู้ซึ่งออกล่าเหล่าโทโมงาระ (ชื่อเต็มคือ กุเซะ โนะ โทโมงาระ ที่แปลว่า "ผู้อาศัยในโลกปิศาจ" ในภาษาไทย) สิ่งมีชีวิตจากต่างมิติ เมื่อยูจิสังเกตเห็นลูกไฟสีฟ้าภายในตัวเอง เฟลมเฮซนั้นจึงได้บอกเขาว่า ยูจิตัวจริงนั้นได้ตายไปแล้ว ขณะนี้เขาคือทอร์ช (Torch) เป็นสิ่งที่ใช้ทดแทนมนุษย์ที่ถูกลบไป ทอร์ชนั้นจะสวมในรูปของคนที่ถูกลบไป แต่พอเวลาผ่านไป พวกเขาจะหายไปจากความทรงจำของคนอื่นๆ เมื่อตระหนักถึงการตายของตนเองแล้ว ยูจิจึงได้เป็นเพื่อนกับหญิงสาวแปลกหน้าคนนั้นและได้ตั้งชื่อเธอว่า ชานะ ชานะคิดว่ายูจิคงจะสลายไปเช่นเดียวกับทอร์ชอื่นๆ แต่กลับพบว่ายูจินั้นไม่ใช่ทอร์ชธรรมดา แต่เป็นทอร์ชพิเศษที่เรียกกันว่ามิสเทส (Mistes) เขามี สมบัติแห่งพิภพแดง (โฮกุ) อยู่ภายในตัว และเป็นสมบัติแห่งพิภพแดง ที่มีพลังและมีค่ามาก ดังนั้นชานะจึงคอยคุ้มครองยูจิจากพวกโทโมงาระ ซึงจะใช้สมบัติแห่งพิภพแดง (โฮกุ) เพื่อทำลายสมดุลแห่งโลก ยูจิจึงตัดสินใจที่จะฝึกฝนตนเองกับชานะเพื่อช่วยเหลือเธอต่อสู้

การต่อสู้ของชานะนั้นเป็นหนึ่งในการต่อสู้อันยาวนานระหว่างเหล่าเฟลมเฮซและโทโมงาระ พวกโทโมงาระนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่อีกมิติหนึ่งและคอยดูดพลังชีวิต ซึ่งเป็นพลังงานที่สร้างชีวิตต่างๆ ในโลก จากสิ่งมีชีวิต และใช้พลังนั้นตามความทะเยอทะยานของตนเอง ส่วนเฟลมเฮซนั้นเป็นเหล่าศัตรูของพวกโทโมงาระ ซึ่งจะคอยรักษาสมดุลของทั้งสองโลก ดังนั้นพวกเฟลมเฮซจึงสร้างทอร์ชขึ้นมาแทนที่คนที่ตายไปเพื่อเยียวยาความเสียหายจากการกระทำของพวกโทโมงาระ

ตัวละครหลัก แก้

ซาคาอิ ยูจิ
(ญี่ปุ่น: 坂井悠二โรมาจิSakai Yūji) (มิสเทส)
พากย์เสียงโดย ซาโตชิ ฮิโนะ
ตัวละครหลักของเรื่อง เขาเป็นนักเรียนมัธยมปลายธรรมดาๆ แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อเขาพบว่าตัวเขานั้นได้ตายไปแล้ว และเหลือเวลาอีกไม่มากก่อนจะสลายไป แต่ทว่าเขาเป็นมิสเทส ซึ่งไม่เหมือนทอร์ชทั่วๆ ไป เพราะมิสเทส คือ ทอร์ชที่บรรจุ "สมบัติ" ของพิภพแดงเอาไว้ ซึ่งสมบัติของเขานั้นเรียกกันว่า "เด็กหลงยามเที่ยงคืน" (เรย์จิ ไมโกะ) ด้วยเด็กหลงยามเที่ยงคืนนั้นทำให้ยูจิสามารถมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ทั่วไปได้ตราบที่เขายังมีพลังชีวิตเหลืออยู่ แต่เพราะคุณสมบัติพิเศษของมัน ทำให้เมื่อถึงยามเที่ยงคืนในแต่ละวัน พลังชีวิตของยูจิจะถูกฟื้นพลังขึ้นมาใหม่เหมือนไม่เคยเสียพลังไป ยูจิจึงพยายามที่จะฝึกฝนการใช้พลังที่อยู่ภายในตัวเขา เพื่อช่วยเหลือชานะในการต่อสู้ด้วย ยูจิเป็นคนประเภทที่คิดถึงผู้อื่นก่อนคิดถึงตนเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้ชานะรำคาญในตัวยูจิเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกันก็ยิ่งทำให้ชานะสนใจยูจิมากขึ้นเช่นกัน
ชานะ
(ญี่ปุ่น: シャナโรมาจิShana) / มือสังหารเกศาเพลิงเนตรอัคคี (ญี่ปุ่น: 炎髪灼眼の討ち手โรมาจิ"Enpatsu Shakugan no Uchite") (เฟลมเฮซ)
พากย์เสียงโดย ริเอะ คุงิมิยะ
เป็นนางเอกของเรื่องและเป็นเฟลมเฮซของอลาสทอร์ ซึ่งเริ่มแรกเธอมุ่งมั่นต่อหน้าที่ของเธอที่เป็นเฟลมเฮซ ไม่มีแม้กระทั่งชื่อ และเห็นยูจิเป็นแค่ทอร์ช เป็นสิ่งของอย่างนึ่ง สนใจในตัวยูจิเนื่องจากยูจิเป็นมิสเทส แต่ต่อมาเธอรู้จักยูจิมากขึ้น และคิดกับยูจิเป็นมนุษย์มากขึ้น และในที่สุดเธอก็หลงรักยูจิ เดิมชานะนั้นไม่มีชื่อ โดยจะเรียกกันจากฉายาของเธอคือ "มือสังหารเกศาเพลิงเนตรอัคคี" ต่อมายูจิจึงตั้งชื่อเธอเป็น ชานะ จากดาบของเธอ นิเอโทโนะ โนะ ชานะ
อลาสทอร์
(ญี่ปุ่น: アラストールโรมาจิArasutōru) / เพลิงกัลป์ถล่มฟ้าทลายปฐพี (ญี่ปุ่น: 天壌の劫火โรมาจิ"Tenjō no Gōka") (ราชาแห่งพิภพแดง)
พากย์เสียงโดย มาซาชิ เอบาระ
เขาเป็นราชาแห่งพิภพแดงที่ทำพันธสัญญากับชานะ ซึ่งอยู่ในรูปเปลวเพลิงที่บรรจุอยู่ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์รูปร่างคล้ายล็อกเก็ตห้อยคอขนาดใหญ่ "โคคิวทอส" ซึ่งชานะมักจะห้อยคอติดตัวอยู่เสมอ ชื่อของเขานั้นมาจากชื่อปิศาจในตำนาน Alastor
อลาสเตอร์นั้นว่ากันว่าเป็นราชาแห่งพิภพแดงที่แข็งแกร่งที่สุด หรืออาจเทียบได้กับเทพของอีกโลกหนึ่งเลยก็ว่าได้ ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นเขาก็พยายามขัดขวางพวกโทโมงาระที่จะดูดพลังชีวิต และพิเศษกว่าระดับราชาตัวอื่นที่จะต้องแสดงพลังผ่านเฟลมเฮซ เขาสามารถใช้ความสามารถที่เรียกว่า เทนปะ โจไซ ซึ่งจะอัญเชิญร่างที่แท้จริงของเขามาสู่โลกเพื่อดูดกลืนเหล่าโทโมงาระที่อยู่รอบๆ เขาได้ ซึ่งวิชานีถือเป็นท่าไม้ตายสุดท้ายของ เอ็นปัทซึ ชากุกัน เพราะว่าเหล่าเฟลมเฮซที่ใช้วิชานี้ก่อนหน้าชานะนั้น ไม่เคยมีผู้ใดรอดชีวิต
มาเจอรี่ ดอว์
(ญี่ปุ่น: マージョリー・ドーโรมาจิMājorī Dō) / ผู้ร่ายโคลงกำสรวล (ญี่ปุ่น: 弔詞の詠み手โรมาจิ"Chōshi no Yomite") (เฟลมเฮซ)
พากย์เสียงโดย ฮิโตมิ นาบาทาเมะ
เฟลมเฮซ หุ่นดีรูปร่างสุงเพรียวผมสีบลอนด์ ผู้ซึ่งทำพันธสัญญากับมาโคเชียส ซึ่งอยู่ในรูปหนังสือ วิชาของเธอนั้นคือการแปลงร่างเป็นหมาป่าขนาดใหญ่ เธอร่ายเวทย์โดยการใช้ โทซัทสึ โนะ โซเคียวชิ ซึ่งแปลว่า ลำนำแห่งการสังหาร เธอเป็นคนชอบดื่มเหล้า ซาโต้และทานากะนั้นคอยติดตามเธอเพราะว่าเธอได้ช่วยชีวิตพวกเขาไว้ เหตุผลที่เธอเป็นเฟลมเฮซเนื่องจากต้องการแก้แค้นโทโมงาระที่มีเปลวเพลิงสีเงิน (ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับยูจิ)
มัลโคเชียส
(ญี่ปุ่น: マルコシアスโรมาจิMarukoshiasu) / เขี้ยวเล็บแห่งการทำลายล้าง (ญี่ปุ่น: 蹂躙の爪牙โรมาจิ"Jūrin no Sōga") (ราชาแห่งพิภพแดง)
พากย์เสียงโดย มิตสึโอะ อิวาตะ
ราชาแห่งพิภพแดงที่ทำสัญญากับมาเจอรี่ โด ซึ่งพูดผ่านภาชนะศักดิ์สิทธิ์ กรีมอร์ ซึ่งอยู่ในรูปหนังสือ ชื่อของเขานั้นมาจากชื่อปิศาจ พูดจาโผงผาง คอยแหย่มาเจอรี่อยู่เสมอ แล้วก็จะถูกมาเจอรี่เหยียบเป็นประจำ แต่ก็เอาใจใส่เธอเสมอ อย่างสหายร่วมรบ
โยชิดะ คาซึมิ
(ญี่ปุ่น: 吉田一美โรมาจิYoshida Kazumi)
พากย์เสียงโดย อายาโกะ คาวาสุมิ
เพื่อนร่วมชั้นของยูจิ แอบชอบยูจิอยู่ แต่เป็นคนขี้อายจึงไม่กล้าไปบอกยูจิตรงๆ แต่ภายหลังได้รวบรวมความกล้าบอกความรู้สึกของเธอแก่ยูจิ และให้ยูจิเป็นคนตัดสินใจระหว่างเธอและชานะ

อภิธานศัพท์ แก้

พลังชีวิต
(ญี่ปุ่น: 存在の力โรมาจิSonzai no Chikara)
พลังที่จำเป็นต่อการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกๆสิ่ง หากพลังชีวิตหมดไปจะทำให้สูญสิ้นตัวตน คือไม่มีใครรู้ถึงการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้นอีก
ทอร์ช
(ญี่ปุ่น: トーチโรมาจิTōchi)
โดยศัพท์แปลว่าคบเพลิง แต่ในที่นี้ทอร์ชคือสิ่งที่แทนที่คนที่ตายไปแล้วให้ยังคงดำเนินกิจวัตรประจำวันของคนๆ นั้นต่อไป จนกว่าดวงไฟจะดับลง หลังจากนั้นทุกคนก็ไม่รู้ถึงการคงอยู่ของคนๆนั้นอีกเลย
มิสเทส
(ญี่ปุ่น: ミステスโรมาจิMisutesu)
ทอร์ชชนิดพิเศษที่เก็บโฮวกุ "สมบัติแห่งพิภพแดง" ไว้ เมื่อทอร์ชนั้นดับสูญสมบัติลับภายในจะถูกสุ่มย้ายไปยังทอร์ชดวงอื่น มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "หีบสมบัติเร่ร่อน"
เฟลมเฮซ
(ญี่ปุ่น: フレイムヘイズโรมาจิFureimuheizu)
ผู้ทำสัญญากับราชาแห่งพิภพแดง ส่วนใหญ่ทำสัญญาเพื่อแก้แค้นโทโมงาระที่ช่วงชิงสิ่งสำคัญไป
โทโมงาระแห่งพิภพแดง / โทโมงาระ
(ญี่ปุ่น: 紅世の徒โรมาจิGuze no Tomogara)
ชาวต่างโลก มีโทโมงาระบางตนช่วงชิงพลังชีวิตของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น
ราชาแห่งพิภพแดง / ราชา
(ญี่ปุ่น: 紅世の王โรมาจิGuze no Ō)
โทโมงาระแห่งพิภพแดงที่เก่งมากๆ มีราชาแห่งพิภพแดงบางตนทำสัญญากับมนุษย์เพื่อไล่ล่าโทโมงาระที่กลืนกินพลังชีวิตมากเกินไป คนที่ทำสัญญากับราชาเพื่อไล่ล่าโทโมงาระถูกเรียกว่า เฟลมเฮซ
รินเนะ
(ญี่ปุ่น: 燐子โรมาจิRinne)
รินเนะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นข้ารับใช้ให้กับพวกโทโมงาระ โดยต้องการพลังชีวิตจากเจ้านายของตนเพื่อให้ตนเองให้คงอยู่ต่อไป
เวทนิรมิต
(ญี่ปุ่น: 自在法โรมาจิJizaihō)
ปรากฏการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นบนโลกนี้ ใช้พลังชีวิตเป็นพลังงานในการร่าย เช่น เขตแดน เป็นต้น
สมบัติแห่งพิภพแดง
(ญี่ปุ่น: 宝具โรมาจิHōgu)
สมบัติลับที่แฝงพลังไว้มากมายหลายแบบ เช่น เด็กหลงยามเที่ยงคืน,แท่นผลึก,โอแกล เป็นต้น
เขตแดน
(ญี่ปุ่น: 封絶โรมาจิFūzetsu)
เวทนิรมิตชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเขตปิดตายคล้ายโดมสีแดง ตามหลักการแล้วมีแต่เฟลมเฮซกับโทโมงาระที่เคลี่อนไหวในเขตแดนได้(ฟูเซสซึ)
แท่นผลึก
(ญี่ปุ่น: 玻璃壇โรมาจิHaridan)
สมบัติลับชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแบบจำลองเมืองมิซากิขนาดย่อ เมื่อเดินกลไกสามารกเลือกให้แสดงเฉพาะทอร์ชได้ด้วย
เอาท์ลอว์
(ญี่ปุ่น: 外界宿(アウトロー)โรมาจิAutorō)
หน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างมนุษย์กับเฟลมเฮซ

นิยายและสื่อต่างๆ แก้

นิยายและหนังสือ แก้

นิยาย ชานะ นักรบเนตรอัคคี แต่งโดย ยาชิจิโร ทาคาฮาชิ ภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ได้ออกจำหน่ายแล้ว 26 เล่มจบ ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง 10 พฤศจิกายน 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยสำนักพิมพ์ เด็นเกคิ บุนโกะ ในเครือ แอสกี มีเดียเวิร์คส์[1][2] ประกอบด้วยเนื้อเรื่องหลัก 22 เล่มและรวมเรื่องสั้นไซด์สตอรีอีก 4 เล่ม[3][4][5][6] สำนักพิมพ์ VIZ Media ได้ประกาศซื้อลิขสิทธิ์ของนิยายเรื่องนี้ เพื่อจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนิยายเล่มแรกในภาษาอังกฤษนั้นแปลโดย ยูกิ โยชิโอกะ และ คินดี เอช. ยามาอุจิ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550[7] และเล่มสองวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 แปลโดย ยูกิ โยชิโอกะ & คินดี เอช. ยามาอุจิ และ มาร์ค เกียมบรูโน[8] หลังจากนั้นสำนักพิมพ์ Viz ก็ไม่ได้วางจำหน่ายเล่มต่อไปอีกเลย ส่วนประเทศไทย ชานะ นักรบเนตรอัคคี ฉบับนิยาย ได้ลิขสิทธิ์ตีพิมพ์โดยบลิส พับลิชชิ่ง ในหมวดหนังสือ J-Light แปลโดย กมลวรรณ สงวนสิริกุล (เล่ม 0, 1, 2, 4, 6-14, S) และ ชนินันท์ กิตติปฏิมาคุณ (เล่ม 3, 5, 10) ปัจจุบันหยุดวางจำหน่ายเนื่องจาก บลิส พับลิชชิ่ง ได้ปิดกิจการแล้ว

มังงะ แก้

มังงะเรื่องแรก วาดโดย อายาโตะ ซาซาคุระ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายเดือน Dengeki Daioh เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยสำนักพิมพ์ มีเดียเวิร์กส และ เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ส่วนประเทศไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์ ได้ลิขสิทธิ์

มังงะเรื่องที่สองใช้ชื่อว่า Shakugan no Shana X Eternal song -Harukanaru Uta- วาดโดย ชิอิ คิยะ โดยนำเนื้อเรื่องจากในนิยายเล่ม 10 และเริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสารDengeki Black Maoh เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยสำนักพิมพ์ มีเดียเวิร์กส[9]

อนิเมะ แก้

ในเวอร์ชันอนิเมะซีซันแรกของ ชานะ นักรบเนตรอัคคี นั้นกำกับโดย ทาคาชิ วาตานาเบะ ผลิตโดย J.C.Staff ออกอากาศในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึง 23 มีนาคม พ.ศ. 2549 รวมทั้งหมด 24 ตอน[10] ลิขสิทธิ์ในอเมริกาเหนือโดย Geneon[11] และลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยอามีโก้ ส่วนการวางจำหน่ายดีวีดีแผ่นแรกในญี่ปุ่น วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2549[12]

ในอนิเมะซีซันสอง ใช้ชื่อว่า Shakugan no Shana Second (ญี่ปุ่น: 灼眼のシャナⅡ) ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และออกอากาศในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 รวมทั้งหมด 24 ตอน และสำหรับโอวีเอ Shakugan no Shana S จะวางจำหน่ายวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552[13][14]

ซีซัน 3 มาแล้ว และ จบ แล้ว ชื่อว่า shakugan no shana final 24 ตอน

ฉบับพากย์ไทย มีให้ดูทั้งสามซีซัน ในยูทิวป์ ตอนละประมาณ 25 นาที

เพลง แก้

ใน เนตรเพลิงชานะ นั้นประกอบไปด้วยเพลงเปิดและปิดอย่างละ 2 เพลง โดยเพลงเปิดเพลงแรกคือเพลง "ฮิโชคุ โนะ โซระ" ร้องโดย มามิ คาวาดะ ใช้เป็นเพลงเปิดใน 16 ตอนแรกและโอวีเอ เพลงเปิดเพลงที่สองคือเพลง "บีอิง" ร้องโดย โคโตโกะ ในเป็นเพลงเปิดตอนที่เหลือ เพลงปิดเพลงแรกคือเพลง "โยอะเคะ อูมาเระคุรุ โชโจ" ร้องโดย โยโกะ ทาคาฮาชิ ใช้เป็นเพลงปิด 14 ตอนแรกและโอวีเอ เพลงปิดเพลงสุดท้ายคือเพลง "อะคา โนะ เซอิจาคุ" ร้องโดย โยโกะ ทาคาฮาชิ ใช้เป็นเพลงปิดระหว่างตอนที่ 14 ถึง 23 ส่วนตอนสุดท้ายใช้เพลง "ฮิโชคุ โนะ โซระ"

เพลงเปิดเพลงแรกสำหรับ เนตรเพลิงชานะ II ก็คือเพลง "จอนท์" ร้องโดย มามิ คาวาดะ ใช้เป็นเพลงเปิดตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 15 โดยซิงเกิล วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2007 เพลงปิดเพลงแรกคือเพลง "ไทรแองเกิล" ร้องโดย มามิ คาวาดะ ใช้เป็นเพลงปิด 15 ตอนแรก เพลงเปิดเพลงที่สองคือเพลง "เบลซ" ร้องโดย โคโตโกะ และ เพลงปิดเพลงที่สองคือเพลง "โซซีโอเมไทร" ร้องโดย โคโตโกะ และเพลงปิดเพลงที่สามในตอนที่ 24 คือเพลง "sense" ร้องโดย มามิ คาวาดะ

ซาวนด์แทร็คประกอบอนิเมะ วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2006 โดย Geneon และยังมีอัลบั้มซาวนด์แทร็คอีกอัลบั้มหนึ่งใช้ชื่อว่า แอสสอร์ท ชานะ โดยแผ่นที่ I, II และ III วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์, 24 มีนาคม และ 21 เมษายน 2006 โดย Geneon

วิดีโอเกม แก้

ภาพยนตร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "灼眼のシャナ" [Shakugan no Shana] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  2. "灼眼のシャナXXII" [Shakugan no Shana XXII] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  3. "灼眼のシャナ0" [Shakugan no Shana 0] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  4. "灼眼のシャナS" [Shakugan no Shana S] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  5. "灼眼のシャナSII" [Shakugan no Shana SII] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  6. "灼眼のシャナSIII" [Shakugan no Shana SIII] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. สืบค้นเมื่อ November 9, 2012.
  7. "Shakugan no Shana: The Girl With Fire In Her Eyes (Novel)". Viz Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ May 7, 2007.
  8. "Shakugan no Shana: Fight Day! (Novel)". Viz Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
  9. "Teikoku Blog" (ภาษาญี่ปุ่น). 2007-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-10.
  10. "Shakugan no Shana (TV)". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2008-11-10.
  11. "Geneon Anime Licenses". Anime News Network. 2006-07-02. สืบค้นเมื่อ 2006-11-24.
  12. "ANN Encyclopedia: Releases". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2006-11-24.
  13. "Producer Plans 3rd & Final Shana Series after S OVA". Anime News Network. 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  14. "New Shana Anime to Be Shakugan no Shana 'S OVA Series". Anime News Network. 2009-07-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้