เทศกาลล่าปา (จีน: 臘八節) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่จัดขึ้นในวันที่ 8 ของเดือนล่า (หรือล่าเยฺว่ 臘月) คือเดือน 12 ตามปฏิทินจีน ถือเป็นการเริ่มต้นของช่วงเทศกาลตรุษจีน ในวันเทศกาลนี้มีประเพณีรับประทานโจ๊กล่าปา

เทศกาลล่าปา
ชื่อทางการล่าปาเจี๋ย (臘八節, 腊八节; Làbā Jié)
จัดขึ้นโดยชาวจีน
ความสำคัญการเฉลิมฉลองส่งท้ายปี, การเฉลิมฉลองการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
การถือปฏิบัติรับประทานโจ๊กล่าปา ฯลฯ
วันที่วันที่ 8 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ
วันที่ในปี 202318 มกราคม
วันที่ในปี 202418 มกราคม
วันที่ในปี 20257 มกราคม
ส่วนเกี่ยวข้องวันโพธิ์
โรฮัตสึ (ในประเทศญี่ปุ่น)
เทศกาลอื่นที่เกี่ยวข้อง
วันวิสาขบูชา (ในประเทศศรีลังกา พม่า ไทย กัมพูชา ลาว)
เทศกาลล่าปา
อักษรจีนตัวเต็ม臘八
อักษรจีนตัวย่อ腊八
ความหมายตามตัวอักษร"แปดแห่งล่า"

เทศกาลล่าปาไม่ได้มีการกำหนดวันแน่นอนจนกระทั่งในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้เมื่อได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ จึงมีการกำหนดให้วันที่ 8 ของเดือน 12 เป็นวันเทศกาล ซึ่งถือเป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วย ดังนั้นธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างของเทศกาลล่าปาจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เทศกาลนี้เทียบได้โดยตรงกับเทศกาลโรฮัตสึของญี่ปุ่นและวันโพธิ์ของเอเชียใต้

ประวัติ

แก้

ชื่อของเทศกาลล่าปาบ่งบอกถึงวันที่บนปฏิทินจีน ล่าเป็นชื่อของเดือน 12 และเดือนสุดท้าย ส่วนปามีความหมายว่า "แปด"[1] ในจีนยุคโบราณ เลข "แปด" สื่อถึงการบวงสรวงถึงเทพเจ้า 8 องค์ในช่วงท้ายปี[2]

เทศกาลในรูปแบบดั้งเดิมมีการเฉลิมฉลองโดยการบวงสรวงแก่เทพเจ้าและบรรพบุรุษเพื่อขอพรให้มีโชคลาภ สุขภาพ ความปลอดภัย และการเก็บเกี่ยวได้ผลดีในปีใหม่[3][2] คำว่าล่าเดิมหมายถึงการบวงสรวงเหล่านี้[3]

หลังจากศาสนาพุทธแพร่หลายในจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เทศกาลล่าปาได้ถูกใช้เพื่อเป็นที่รำลึกถึงการตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า[2] และมีการกำหนดวันที่ที่แน่นอน (วันที่ 8 ของเดือน 12) ในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้[3]

ในยุคราชวงศ์ชิง พิธีกรรมของเทศกาลล่าปาจัดขึ้นในวัดยงเหอในกรุงปักกิ่ง[4]

ประเพณี

แก้

เทศกาลล่าปาถือเป็นการเป็นเริ่มต้นของเทศกาลตรุษจีนซึ่งจะอยู่ในช่วงอีกประมาณ 3 สัปดาห์ให้หลัง[3][5]

ประเพณีเก่าแก่คือการตีกลองเพื่อขับไล่โรคภัยไข้เจ็บ การปฏิบัติเช่นนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีโบราณของการใช้เวทมนตร์ และยังคงมีการปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ เช่นในอำเภอซิน-ฮฺว่า มณฑลหูหนาน[6]

โจ๊กล่าปา

แก้

ตามธรรมเนียมแล้ว การรับประทานโจ๊กล่าปาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเทศกาลนี้ มีเรื่องเล่าในตำนานจำนวนมากที่เล่าถึงต้นกำเนิดของโจ๊กล่าปา[7] เรื่องเล่าหนึ่งกล่าวว่าโจ๊กล่าป่ามีต้นกำเนิดในยุคราชวงศ์ซ่ง โดยมีอารามพุทธที่แจกจ่ายโจ๊กให้กับผู้คนเพื่อเป็นเกียรติแก่เรื่องราวที่ศากยมุนี (พระโคตมพุทธเจ้า) ตรัสรู้ในวันที่ 8 เดือน 12 หลังพระองค์เสวยปายาส[2]

โจ๊กล่าปาหรือล่าปาโจว (臘八粥; Làbāzhōu) เป็นที่นิยมอย่างมากในหลายสถานที่ในประเทศจีน ใช้ข้าว ถั่ว ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว และผลไม้แห้งหลายชนิดเป็นส่วนผสมหลัก ผู้คนเชื่อว่าโจ๊กล่าปาดีต่อสุขภาพในฤดูหนาว[1]

โจ๊กล่าป่ายังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า "โจ๊กแปดสมบัติ" หรือ "ปาเป่าโจว" (八宝粥; Bā bǎo zhōu)[8] และมักทำด้วยส่วนผสมตั้งแต่ 8 อย่างขึ้นไปที่สื่อถึงโชคดี[1] แปดเป็นเลขมงคลในประเทศจีน[9] และคำว่าปาในล่าปาก็มีความหมายถึงเลขแปด[1]

โจ๊กล่าปามีหลากหลายรูปแบบในภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน[7] ส่วนผสมมีตั้งแต่ธัญพืชผสม เช่น ข้าว ข้างฟ่าง และข้าวบาร์เลย์, ถั่วและผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว เช่น ถั่วเขียว ถั่วอาซูกิ เมล็ดบัว ถั่วลิสง วอลนัต และเกาลัด, ผลไม้แห้ง เช่น พุทราจีน ลำไย ลูกเกด และเก๋ากี้, ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผักและเนื้อสัตว์[8][10][6][7]

กระเทียมล่าปา

แก้
 
กระเทียมล่าปา

อาหารในเทศกาลล่าป่าอีกอย่างหนึ่งคือกระเทียมล่าปาซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในภาคเหนือของจีน[11] คำว่ากระเทียมในภาษาจีนคือซฺว่าน (; suàn) ซึ่งพ้องเสียงคำว่าซฺว่าน (; suàn) ที่มีความหมายว่า "คำนวณ" และกล่าวกันว่าในเทศกาลล่าปา ธุรกิจต่าง ๆ ควรจัดทำงบดุลและคำนวนรายรับรายจ่ายของปีนั้น ๆ[8] กระเทียมล่าปาทำโดยการแช่กระเทียมในน้ำส้มสายชู[6] กระเทียมล่าปาจะแช่ในน้ำส้มสายชูตั้งแต่เทศกาลล่าปาจนถึงเทศกาลตรุษจีน จากนั้นกระเทียมและน้ำส้มสายชูก็จะถูกใช้ร่วมกับเกี๊ยวเจี่ยวจึ (餃子) ในช่วงเทศกาลตรุษจีน[5]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

แก้

เทศกาลล่ามีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องนวนิยายเรื่องมังกรทลายฟ้าของกิมย้ง

ในปี ค.ศ. 2011 กูเกิลเผยแพร่กูเกิล ดูเดิลเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลล่าป่า[12]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "'Eight treasure congee' shines during Laba Festival". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Guang, Xing (November 2013). "Buddhist Impact on Chinese Culture". Asian Philosophy. 23 (4): 305–322. doi:10.1080/09552367.2013.831606. S2CID 145072418. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "The Laba Festival". www.magzter.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  4. "新年纳余庆 嘉节启新芳——古诗词里的春节习俗". guoqing.china.com.cn. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  5. 5.0 5.1 Gong, Wen (2007). Lifestyle in China (ภาษาอังกฤษ). 五洲传播出版社. p. 14. ISBN 978-7-5085-1102-3. สืบค้นเมื่อ 23 November 2022.
  6. 6.0 6.1 6.2 "腊八节的传说和习俗(图)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-14.
  7. 7.0 7.1 7.2 Stepanchuk, Carol (1991). Mooncakes and Hungry Ghosts: Festivals of China. San Francisco: China Books & Periodicals. pp. 3–6. ISBN 0-8351-2481-9.
  8. 8.0 8.1 8.2 "农历腊八节:有悠久传统和历史 喝腊八粥腌腊八蒜". 中新网. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  9. Hoon Ang, Swee (1 January 1997). "Chinese consumers' perception of alpha-numeric brand names". Journal of Consumer Marketing. 14 (3): 220–233. doi:10.1108/07363769710166800. ISSN 0736-3761. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  10. "7 Chinese dishes that are completely plant-based". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 5 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
  11. Block, E. (2010). Garlic and Other Alliums: The Lore and the Science. Royal Society of Chemistry. ISBN 978-0-85404-190-9.
  12. "Laba Rice Porridge Festival 2011". สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้