ปายาส
ปายาส (อังกฤษ: rice pudding) คือ ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยน้ำหรือน้ำนมและน้ำตาล เป็นอาหารของหลายชนชาติ ซึ่งบางชาติเป็นอาหารหลัก บางชาติเป็นอาหารว่าง
มธุปายาส
แก้ปายาสเจือน้ำผึ้งเรียก มธุปายาส ครั้งหนึ่งนางสุชาดาเคยถวายแด่พระสมณโคดม ในพุทธศาสนิกชนชาวไทยทำอาหารใกล้เคียงกันเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียกว่า กระยาทิพย์ หรือ ข้าวทิพย์ กวนด้วยข้าว น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา และน้ำนม โดยจะให้หญิงพรหมจารีย์เป็นผู้กวน ในภาคเหนือเรียก ข้าวพระเจ้าหลวง ส่วนชาวไทใหญ่เรียก ข้าวซอมต่อหลวง โดยจะนำไปถวายพระพุทธเจ้าในเทศกาลสำคัญทางศาสนาพุทธเช่นกัน[1]
ข้าวเวท
แก้ข้าวเวท หรือ ข้าวเปียก คือข้าวที่หุงด้วยน้ำอ้อยและนม หรือหุงด้วยกะทิ[2][3] เป็นอาหารที่พราหมณ์ไทยใช้ทำถวายพระเป็นเจ้า โดยจะนำข้าวสุกใส่กะลามะพร้าว แล้วเอากล้วยน้ำไทปักไว้ตรงกลางลูกหนึ่ง[4] ผู้ทำอาหารชนิดนี้ต้องเป็นคนเชื้อสายพราหมณ์เท่านั้น กระทำที่เทวสถานสำหรับพระนครเพื่อถวายพระเป็นเจ้าในพระราชพิธีตรียัมปวายและศิวาราตรี เดิมห้ามผู้หญิงทำอาหารนี้ แต่คลายความเข้มงวดเรื่องเพศลงแล้ว ปัจจุบันผู้ทำส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง[5] ข้าวเวทนี้ใกล้เคียงกับ ปงกัล (பொங்கல்) ปายาสของทมิฬ เป็นข้าวหุงด้วยน้ำนมและน้ำตาล[6] ถวายแก่สุริยเทพในเทศกาลปงกัล ช่วงมกรสังกรานติของพราหมณ์ในรัฐทมิฬนาฑูและอานธรประเทศ[7] ซึ่งตรงกับพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวายของไทยพอดี[8]
ระเบียงภาพ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ถวายข้าวมธุปายาส". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง. 18 มีนาคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2020.
- ↑ "พระราชพิธีตรียัมปวาย". เทวสถาน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2020.
- ↑ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (31 กรกฎาคม 2019). "อาหารกับศาสนา : ข้าว". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020.
- ↑ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (17 พฤษภาคม 2018). ""บายศรี" สารพัน อะไร? ยังไง? ใหม่? เก่า?". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.
- ↑ Adcharawadee S. (31 กรกฎาคม 2019). "พราหมณ์กินอะไร ?". Urban Eat. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020.
- ↑ Wilson, Horace Hayman (1862). Rost, Reinhold (บ.ก.). Essays and Lectures Chiefly on the Religion of the Hindus, Volume 2. Trübner & Company. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2019.
- ↑ Pandey, Alpana (11 สิงหาคม 2015). Medieval Andhra: A Socio-Historical Perspective. Partridge Publishing. ISBN 978-1-4828-5017-8. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2019.
- ↑ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (7 กันยายน 2017). "ข้าวในประเพณีพราหมณ์". มติชนสุดสัปดาห์. ISSN 1686-8196. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.