เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง (อังกฤษ: The Legend of Zelda: Link's Awakening; ญี่ปุ่น: ゼルダの伝説 夢をみる島) เป็นวิดีโอเกมแนวต่อสู้-ผจญภัยใน ค.ศ. 1993 พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเกมบอย เกมนี้เป็นเกมลำดับที่ 4 ของซีรีส์และเป็นภาคแรกที่ทำลงเครื่องเล่นเกมพกพา ตัวเกมเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคที่ไม่ได้ดำเนินเรื่องอยู่ในอาณาจักรไฮรูล และไม่มีเจ้าหญิงเซลดาและไทรฟอร์ซเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะดำเนินเรื่องอยู่บนเกาะที่มีชื่อว่าโคโฮลินท์ ซึ่งคุ้มครองโดยผู้พิทักษ์นามว่ามัชฉาแห่งสายลม โดยที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นลิงก์ คอยจัดการกับศัตรูและแก้ไขปริศนาต่างๆพร้อมกับตามหาเครื่องดนตรีทั้งแปดเพื่อปลุกมัจฉาแห่งสายลมจากการหลับใหลเพื่อออกไปจากเกาะแห่งนี้
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง | |
---|---|
ภาพหน้าปกเกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง ค.ศ. 1993 | |
ผู้พัฒนา | Nintendo EAD |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ | Takashi Tezuka |
อำนวยการผลิต | Shigeru Miyamoto |
ศิลปิน | Yoichi Kotabe |
เขียนบท | Yoshiaki Koizumi Kensuke Tanabe |
แต่งเพลง | Minako Hamano Kozue Ishikawa |
ชุด | เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา |
เครื่องเล่น | เกมบอย, เกมบอยคัลเลอร์ |
วางจำหน่าย | เกมบอย เกมบอยคัลเลอร์ |
แนว | ต่อสู้-ผจญภัย |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว |
ลิงกส์อเวกเคนนิง ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็นขาวดำ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ ลงเกมบอยคัลเลอร์ในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งใช้กราฟิกสี รองรับการใช้เกมบอยปริ้นเตอร์ซึ่งสามารถพิมพ์รูปได้ และเพิ่มดันเจี้ยนที่ต้องใช้สีในการแก้ปัญหาเข้ามาด้วย เกมทั้งสองเวอร์ชันสามารถขายได้มากกว่าหกล้านตลับทั่วโลก และได้ปรากฏในหลายสื่อที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมว่าเป็นหนึ่งในเกมที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอีกด้วย และยังมีเกมภาครีเมคสามมิติซึ่งวางจำหน่ายบนนินเท็นโดสวิตช์ใน ค.ศ. 2019
เค้าโครงเรื่อง
แก้ตัวละคร
แก้ลิงส์อะเวกเคนนิง แตกต่างจากภาคอื่นๆที่การดำเนินเรื่องนั้นอยู่นอกอาณาจักรไฮรูลซึ่งไม่มีการเอ่ยถึงตัวละครและสถานที่จากภาคก่อนๆรวมถึงเจ้าหญิงเซลด้าด้วย[9] แต่จะเล่าถึงเกาะโคโฮลินท์ ซึ่งเป็นเกาะที่ตัดขาดจากโลกภายนอกที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีเส้นทางเชื่อมต่อถึงกันอยู่มากมาย ภายในเกมนั้น เราจะได้รับคำแนะนำจากตัวละครเช่นอูริร่า ชายแก่ขี้อายที่ชอบติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ ขณะเดียวกันก็มีการล้อเลียนตัวละครจากเกมอื่นๆในเครื่องเล่นเกมนินเท็นโดด้วยกัน เช่น วาร์ท โยชิ เคอร์บี้ เจ้าชายริชาร์ดผู้ถูกเนรเทศ ดร.ไวร์ท จากเกม ซิมซิตี้ ในเครื่องซุปเปอร์นินเท็นโด (ชอมพ์จากเกมซีรีส์มาริโอก็ได้อยู่ในเกมด้วยหลังจากที่มีการเพิ่มเติมตัวเกมให้ลิงก์สามารถพามันไปเดินเล่นได้ ,กูมบาจากซูปเปอร์มาริโอบรอสก็ได้ปรากฏตัวในฉากไซด์สครอลลิ่งใต้ดิน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะกระโดดเหยียบหัวหรือใช้อาวุธจัดการก็ได้ และแต่ละวิธีก็จะได้โบนัสแตกต่างกันไป ) ผู้กำกับทาคาชิ เทซึกะบอกว่าเนื่องจากความเป็นอิสระของเกม ทำให้ภาคนี้ดูเป็นภาคออกแนวล้อเลียนของซีรีส์เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ตัวละครในเกมยังสามารถจะทำลายกำแพงที่สี่ (fourth wall) ได้ด้วย (เช่น มีเด็กคนหนึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเซฟเกม แต่เจ้าตัวกับไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูดเลยแม้แต่น้อย)[10]
เนื้อเรื่อง
แก้หลังจากภารกิจในภาค ออราเคิลออฟซีซันส์ และ ออราเคิลออฟเอจเจส[11] ลิงก์ได้ออกเดินทางไปฝึกวิชาต่อ ในขณะที่เดินทางอยู่บนเรือนั้น ก็ได้มีพายุพัดเรือจนอับปางกลางทะเล ลิงก์ลอยมาอยู่บนชายฝั่งเกาะโคโฮลินท์[12] หลังจากที่มารินได้ช่วยพาเขามาที่บ้านของทาริน พ่อของเธอ เธอก็เริ่มสนใจในตัวลิงก์และโลกภายนอกที่กว้างใหญ่ เธอเล่ากับลิงก์ว่าถ้าเธอได้เป็นนกนางนวล เธอจะโบยบินไปสู่โลกภายนอก[13] หลังจากลิงก์ได้ดาบคืนมา เขาก็ได้รับคำบอกกล่าวจากนกฮูกปริศนาว่าต้องปลุกมัจฉาแห่งสายลม ซึ่งหลับใหลอยู่ในไข่ใบยักษ์บนยอดภูเขาทามารานช์ โดยลิงก์จำเป็นต้องหาเครื่องดนตรีแห่งไซเรนทั้งแปดในการปลุกเพื่อให้ผู้พิทักษ์พาลิงก์กลับบ้าน
ในระหว่างการเดินทาง ลิงก์ได้เจอซากโบราณสถานแห่งหนึ่งซึ่งมีภาพฝาผนังที่บอกเล่าเกี่ยวกับความจริงของเกาะแห่งนี้ ลิงก์พบว่าเกาะแห่งนี้เป็นเพียงความฝันของมัจฉาแห่งสายลมเท่านั้น[14] หลังจากที่ได้รับรู้ความจริง เจ้านกฮูกก็ได้โผล่มาบอกว่ามีเพียงแค่มัจฉาแห่งสายลมเท่านั้นที่รับรู้ถึงเรื่องนี้ เหล่าอสุรกายในเกาะได้คิดจะขัดขวางการตามหาเครื่องดนตรีของลิงก์ เพื่อการยึดครองความฝันมัจฉาแห่งสายลมมาเป็นของตน
หลังจากลิงก์ตามหาเครื่องดนตรีทั้งแปดเจอแล้ว เขาก็ได้ขึ้นไปบนภูเขาทามารานช์ แล้วเล่นบทเพลงมัจฉาแห่งสายลมทำให้ไข่แตกออกเป็นทางให้เขาเดินเข้าไปเผชิญหน้ากับปีศาจตัวสุดท้าย 'ไนท์แมร์ ซึ่งจะปรากฏตัวได้หลายแบบ ทั้งร่างกานอน และร่างอสุรกายอีกมากมายที่ลิงก์เคยพบเจอมา[15] ลิงก์ต่อสู้จนเจอกับร่างสุดท้ายคือเดทล์ ซึ่งเป็นเงาปีศาจตัวกลมๆ มีหนวดยื่นออกมาทั้งสองข้างคล้ายกับวาเอติ[16][17] หลังจากเดทล์ถูกจัดการแล้ว มัจฉาแห่งสายลมก็ได้บอกกับลิงก์ว่าโคโฮลินท์นั้นเป็นความฝันที่เกิดจากลิงก์เองทั้งหมด เมื่อเขาเล่นเพลงของมัจฉาแห่งสายลมอีกครั้ง พวกเขาทั้งสองจะตื่นจากภวังค์ เกาะโคโฮลินท์จะค่อยๆเลือนหายไป[18] จากนั้นลิงก์ก็พบตัวเองกำลังลอยเกาะท่อนไม้อยู่กลางทะเล ในขณะที่มัจฉาแห่งสายลมได้บินเหนือหัวเขาไป (ถ้าผู้เล่นไม่เคยตายเลย จะมีภาพของมารินโผล่ออกมา[19] เธอจะมีปีกในเวอร์ชันเกมบอยขาวดำ และเธอจะเป็นนกนางนวลในเวอร์ชันเกมบอยคัลเลอร์)
ระบบการเล่น
แก้ในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเกาะโคโฮลินท์ ต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า ไนท์แมร์ ซึ่งเราต้องจัดการเแล้วเอาเครื่องดนตรีทั้งแปดมาเพื่อจบเกม[20] โดยที่เมื่อเราชนะไนท์แมร์แต่ละตัว เราจะได้หัวใจเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่ประตูบานล่าสุดที่เราเปิดในเกม
ภาคนี้เป็นภาคมุมมองด้านบนภาคแรกที่ตัวเอกสามารถกระโดดได้ (รวมทั้งฉากแบบ"ไซด์สครอลลิ่ง" ซึ่งคล้ายๆกับ เซลดา II ดิแอดเวนเจอร์ออฟลิงก์) ผู้เล่นสามารถเพิ่มความสามารถของลิงก์ด้วยไอเท็ม ซึ่งพบได้ในดันเจี้ยนหรือการคุยกับตัวละคร ไอเท็มที่ได้มานั้นสามารถใช้เปิดทางที่เราไม่สามารถผ่านไปได้ และจำเป็นต้องใช้ในการตะลุยดันเจี้ยนด้วย (ผู้เล่นสามารถขโมยไอเท็มในร้านค้าได้ แต่ชื่อผู้เล่นจะเปลี่ยนเป็น "THIEF" ตลอดทั้งเกม และเมื่อกลับเข้าไปในร้าน เจ้าของร้านจะฆ่าเราจนตาย)
นอกจากภารกิจหลักแล้ว ในเกมยังมีภารกิจย่อยต่างๆ รวมถึงการเก็บเปลือกหอยที่ซ่อนอยู่ในเกม เมื่อเก็บครบ 20 อัน เราจะได้ดาบอันทรงพลังที่สามารถปล่อยลำแสงได้ขณะที่มีหัวใจเต็มหลอด คล้ายกับเกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ภาคนี้ยังเป็นภาคแรกที่มีมินิเกมแลกของ โดยที่เราต้องให้ไอเท็มกับตัวละครหนึ่งแล้วตัวละครนั้นจะให้ไอเท็มอีกชิ้นหนึ่งกลับมาแทนและยังเป็นภาคแรกที่สามารถปรับแต่งปุ่ม A กับ B สำหรับใช้ไอเท็มต่างๆได้ ทำให้ปริศนาในเกมมีความหลากหลายและสามารถใช้ไอเท็มร่วมกันได้ นอกจากนั้น ภาคนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของอีเวนท์ประจำเกมซีรีส์เซลด้าหลายอีเวนท์ อาทิ ตกปลา, เรียนรู้บทเพลงใหม่จากออคารินา ซึ่งภายหลังได้ไปอยู่ในเกมเซลด้าภาคถัดมา เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์[21]
ช่วงการพัฒนา
แก้ลิงส์อะเวกเคนนิง นั้นแต่เดิมเป็นโปรเจกต์ที่ยังไม่ได้รับอนุมัติในการสร้างจากบริษัท โปรแกรมเมอร์นาม คาซุเอคิ โมริตะ ได้ลองสร้างเกมเลียนแบบเซลด้าด้วยชุดพัฒนาเกมบอย และเอาไปลองวัดสมรรถนะของเครื่อง หลังจากนั้นสมาชิกคนอื่น ๆ ใน Nintendo EAD ก็ได้เข้ามาร่วมทำในช่วงเวลาหลังเลิกงาน จนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จากนั้นปี 1991 เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ก็ได้วางขายสู่ตลาด ผู้กำกับ ทาคาชิ เทซุกะ ได้คิดจะทำเซลด้าลงเครื่องเกมพกพาโดยการพอร์ทลงเกมบอย แต่จากเสียงโหวตนั้นได้เลือกที่จะทำเกมใหม่แทน พวกเขาจึงร่วมกันพัฒนาเกมลิงส์อะเวกเคนนิงเป็นเวลาปีครึ่งจึงเสร็จสมบูรณ์[22]
เทซุกะเล่าว่าในช่วงการพัฒนาแรกๆนั้น ตัวเกมที่ออกมามีหลายสิ่งหลายอย่างมั่วปนเปกันไปหมด เช่น ตัวละครจากเกมมาริโอและเคอร์บี้ โผล่มาระหว่างเล่น เคนซุเกะ ทานาเบะ ผู้เขียนสคริปต์เกม อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ได้เข้าร่วมทีมและทำหน้าที่ร่างบทเกม[23] เทซุกะแนะนำทานาเบะว่าให้เขียนเรื่องเป็นเหมือนภาคเสริมและทิ้งคอนเซปต์เดิมๆเช่น เจ้าหญิงเซลด้า ไทรฟอร์ซ ไฮรูล ซึ่งในที่สุดทานาเบะก็ตัดสินใจให้ตัวเกมดำเนินเนื้อเรื่องอยู่ในเกาะแห่งหนึ่งที่มีไข่ยักษ์อยู่บนภูเขา
หลังจากนั้น โยชิอาคิ โคอิซุมิ ผู้ที่ได้ช่วยวางพล็อตเกมภาค อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ก็ได้เข้าร่วมทีมพัฒนา โคอิซุมิได้รับหน้าที่วางโครงเรื่องภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง และเขาได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับเกาะแห่งความฝันในเกม และสร้างการปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านด้วย[23][24][25] อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ได้ เออิจิ อาโอนุมะ มากำกับโดยเขาได้ทำให้เกมมีพล็อตเรื่องที่เหมาะสมกับตัวมันเอง ซึ่งมีลักษณะแบบโรแมนติกตามฉบับโคอิซุมิ[26] เทซุกะได้สร้างโลกในเกมให้บรรยากาศคล้ายซีรีส์ทีวีทวินพีค ซึ่งตัวละครในเกมจะมีพวกที่มีลักษณะพิรุธอยู่เหมือนกับซีรีส์เรื่องนี้ ซึ่งได้นำมาใช้ใน เซลด้า ภาคต่อๆมา ทานาเบะได้สร้างตัวละครประหลาดๆและภารกิจเสริมในเกม รวมถึงเขียนบทพูดตัวละครเกือบทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับนกฮูกและมัจฉาแห่งสายลม ทานาเบะได้ใช้ไอเดียเรื่องจุดจบของโลกเมื่อไข่ยักษ์แตกบนยอดเขา ซึ่งเป็นไอเดียเดิมในภาค อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ทานาเบะนั้นอยากจะเห็นไอเดียนี้ในเกมมากและนำมาใช้เป็นคอนเซปต์พื้นฐานของภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง ในที่สุด[27]
มาซานาโอะ อาริโมโตะและ ชิเงฟุมิ ฮิโนะ ได้รับหน้าที่ออกแบบตัวละคร ขณะที่ โยอิชิ โคทาเบะได้รับหน้าที่วาดภาพประกอบ[28] ซึ่งภาพในฉากเปิด ฉากปิด และภาพทั้งหมดในเกมนั้นวาดขึ้นโดยอาริโมโตะ ส่วนยาซาฮิสะ ยามามูระรับหน้าที่ออกแบบดันเจี้ยน และไอเดียเกี่ยวกับห้องและทางเดิน รวมถึงตำแหน่งที่ศัตรูปรากฏตัวด้วย และถึงแม้ว่าชิเงรุ มิยาโมโตะ โปรดิวเซอร์ภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง จะไม่ได้ช่วยคิดไอเดียอะไรใหม่ๆให้กับทีม แต่เขาก็รับหน้าที่เป็น "เกม เทสเตอร์" และคำวิพากย์วิจารณ์จากเขาก็มีส่วนช่วยต่อช่วงครึ่งหลังของการพัฒนาเกมด้วย
เพลงใน ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้มินาโก ฮามาโนะ และโคซูเอะ อิชิกาว่าเป็นผู้ประพันธ์ (ซึ่งนี่เป็นงานเกี่ยวกับเกมครั้งแรกของพวกเขาทั้งสองคนอีกด้วย)[22] และคาซุมิ โททาคะ เป็นผู้รับผิดชอบด้านซาวน์ โปรแกรมมิ่งและซาวน์เอฟเฟคทั้งหมด ลิงส์อะเวกเคนนิงนั้นจะมีเพลงโอเวอร์เวิร์ลบรรเลงระหว่างเล่นเหมือนกับภาคที่ผ่านมา โดยเพลงไตเติ้ลนั้นแต่งโดยอิชิกาว่า และเพลงสตาฟ เครดิต "ยูเมะ โอ มิรุ ชิมา เอะ" แต่งโดยคอนโดะ ฮามาโนะและอิชิกาว่า ซึ่งได้ถูกนำไปประพันธ์สำหรับวงออเครสตร้าโดย ยุคะ สึจิโยโคะและบรรเลงในงาน Orchestral Game Music Concert 3 ในปี 1993[29] (เกม Super Smash Bros. Brawl นั้นก็มีเพลงรีมิกซ์จากเกมคือ ทอล ทอล ไฮทส์อยู่ด้วยเช่นกัน)[30]
ครั้นเมื่อมีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับพัฒนาการของเกมเซลด้า อาโอนุมะเรียก"ลิงส์อะเวกเคนนิง"ว่าเป็น "ภาคที่มีความสมดุลของเกมมากที่สุด"[31] เขากล่าวว่าภาคก่อนหน้า อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ และ ออคารินาออฟไทม์ จะมีความแตกต่างจากสองภาคนี้อย่างมาก หลายอย่างใน "ลิงส์อะเวกเคนนิง" ถูกนำมาใช้ในภาคต่อๆมา เช่น มินิเกมตกปลาใน"ออคารินาออฟไทม์"และภาคอื่นๆที่โมริตะสร้างขึ้น, ระบบแลกของที่ทานาเบะพัฒนาขึ้น เทซุกะเปรียบเทียบระบบนี้เหมือนกับนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นเรื่อง Straw Millionaire ซึ่งมีคนมาแลกฟางข้าวกับของที่ล้ำค่ากว่า ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เกือบทุกภาคหลังจากนั้น
การวางจำหน่าย
แก้นินเท็นโดได้ทำการโปรโมทเกม ลิงส์อเวกเคนนิง ที่อเมริกาเหนือ โดยจัดงานที่มีชื่อว่า เซลด้า วิสเทิล ทัวร์[32] และในช่วงสามวันสุดท้ายจะมีการให้ผู้เล่นเล่นเกมแข่งกับเวลา[33] ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่โชว์เกมอย่างเดียว ยังมีการแสดงเครื่องเกมบอยที่ปรับปรุงให้เล่นได้นานขึ้นและพกพาสะดวก ซึ่งทำให้มีคนเข้าถึงเกมเซลดา มากยิ่งขึ้น โดยที่นิตยสาร นินเท็นโดเพาเวอร์ ได้จัดจำหน่ายบทสรุปในเดือนกรกฎาคม 1993[34]
ในปี 1998 นินเท็นโดได้ปล่อย เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ เหมือนกับ ซูเปอร์มาริโอบรอส ดีลักซ์ และเกมอื่นๆเพื่อโปรโมทเกมบอยคัลเลอร์ที่ใช้กราฟิกสีเต็มรูปแบบและสนับสนุนเกมของเกมบอยรุ่นก่อน ซึ่งภาคใหม่นี้จะประกอบไปด้วยดันเจี้ยนใหม่ซึ่งมีศัตรูหน้าใหม่และปริศนาที่ใช้สีในการแก้ (แต่ดันเจี้ยนนี้จะเข้าไม่ได้ในเกมบอยรุ่นก่อนซึ่งยังไม่มีการแสดงผลเป็นสี) หลังจากจบดันเจี้ยน ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะสวมเสื้อสีแดงหรือสีฟ้า ซึ่งจะเพิ่มแรงโจมตีและการป้องกันตามลำดับ ในภาค ดีเอ็กซ์ ยังสามารถถ่ายสกรีนช๊อตได้หลังจากเข้าร้านกล้องในเกม คนถ่ายจะอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆในเกมและเราสามารถถ่ายได้ทั้งหมดสิบสองภาพ ซึ่งสามารถดูได้ที่ร้านหรือพิมพ์ผ่านเกมบอยปริ้นเตอร์[35] สำหรับภาค ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ ได้เทซุกะกลับมารับหน้าที่คุมงาน พร้อมกับโยชิโนริ ซึจิยาม่าในฐานะไดเร็คเตอร์คนใหม่ในทีม โนบุโอะ มาซึมิยะได้ร่วมมือกับซึจิยาม่าในการเปลี่ยนแปลงสคริปต์ในเกม เช่น มีการเพิ่มคำพูดบอกใบ้ในการสู้กับบอส สำหรับดันเจี้ยน ใหม่นั้น ยูอิจิ โอซากิได้แต่งเพลงประกอบโดยใช้รูปแบบเพลงดันเจี้ยนของคอนโดะจาก เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เป็นหลัก[23][36]
ในปี 2010 นินเท็นโดประกาศวางขายเกมเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ อีกครั้งในเวอร์ชัวล์คอนโซลของนินเท็นโด 3ดีเอส[37]และเริ่มจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2011 ต่อมาในช่วงกรกฎาคม 2013 ได้มีการนำเสนอให้สมาชิกอีไลท์ในคลับนินเท็นโดสามารถแลกเป็นของขวัญได้[38]
ผลตอบรับ
แก้ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้รับคำวิจารณ์ไปในทางที่ดี และได้คะแนนเฉลี่ยไป 90% จากเว็บไซต์เกมแรงกิงส์[39] ซึ่งในบทความของ Jeremy Paris จากนิตยสาร Electronic Gaming Monthly ได้ขนานนาม ลิงส์อะเวกเคนนิง ว่า "เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดเท่าที่มีมา สำหรับการผจญภัยอันยิ่งใหญ่และอลังการที่จะทำให้เราลืมทุกสิ่งทุกอย่างและเข้าไปอยู่ใน'ความฝัน'อันหลอกลวง!"[40] Ben Reeves จากเว็บไซต์ เกมอินฟอร์เมอร์ ได้ยกย่องให้เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดเป็นเป็นอันดับสาม Chip Carter จากหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้กล่าวว่านินเท็นโดได้สร้าง "ตำนานบนมือพวกคุณทุกคนแล้ว" และเขาชื่นชมในเรื่องการพกพาและความลึกซึ้งของเกม[41][42] นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ Mainichi Shimbun บอกว่าเขาเพลิดเพลินไปกับดนตรีและเนื้อหาของเกม[43] สำนักเกมหลายแห่งได้ยกย่องให้เป็น"เกมผจญภัยฉบับพกพายอดเยี่ยมที่เหมาะกับคนไม่มีเวลาเล่นเกม"[44][45]
ที่อย่างงั้น เหล่านักวิจารณ์ก็ได้ติตัวเกมที่แสดงผลเป็นขาวดำซึ่งยากต่อการมองระหว่างเล่น[46]และได้หวังว่าตัวเกมจะแสดงผลเป็นสี นักวิจารณ์บางคนยังตำหนิเรื่องกราฟิกที่ ย่ำแย่จนไม่มีอะไรจะบรรยาย[47] และการเปลี่ยนอาวุธจากปุ่มทั้งสองที่ดูอืดอาดยุ่งยาก แต่ส่วนที่เหลือของเกมก็ทำให้มันดู น่าตื่นตาตื่นใจ[48]อยู่ดี
ส่วน ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ นั้นได้รับคำวิจารณ์ไปในทางที่ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งเกมนี้ได้คะแนนเฉลี่ยไป 92% บนเว็บเกมแรงกิงส์[49] นักวิจารณ์ชื่นชมว่านินเท็นโดได้ปรับปรุงเกมให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นโดยมีการเพิ่มเติมคอนเท้นท์ต่างๆ เช่น สีในเกมทำให้เล่นง่ายขึ้น การถ่ายภาพสถานที่ในเกมที่ท้าทายให้ผู้เล่นตามเก็บสะสมระหว่างเล่น[50][51][52][53] ถึงแม้ว่าคอนเท้นท์ที่เพิ่มเข้ามาจะน้อยนิดก็ตาม แต่ก็ยังดึงดูดให้กลับมาเล่นได้อยู่ดี[54]
ลิงส์อะเวกเคนนิง ทำยอดขายได้ดีและช่วยให้เกมบอยขายดีขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ในปี 1993 ทำให้เป็นปีที่นินเท็นโดได้กำไรมากที่สุดในช่วงเวลานั้น[55] ตัวเกมขึ้นแท่นเบสท์ เซลเลอร์ติดต่อกันนานกว่า 90 เดือน[56] และทำยอดขายไปได้ 3.83 ล้านตลับในปี 2004 ส่วนเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ ขายไปได้ 2.22 ล้านตลับ[57]
ตัวเกมนั้นได้รับรางวัลมากมาย รวมไปถึงด้านกราฟิค, เสียง, ความท้าทาย, เพลงประกอบ และภาพโดยรวมของเกมในกลุ่มประเภทเกมบอยในงานนินเท็นโดเพาเวอร์อวอร์ดปี 1993[58] และยังได้รางวัลเกมจากเกมบอยที่ดีที่สุดประจำปี 1993 โดยนิตยสาร Electronic Gaming Monthly[59] และขึ้นอันดับเกมนินเท็นโดที่ดีที่สุดอันดับที่ 56 โดยนิตยสาร นินเท็นโดเพาเวอร์[60] ส่วนเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ นั้นได้อันดับเกมเกมบอยหรือเกมบอยคัลเลอร์ที่ดีที่สุดเป็นอันดับสอง[61] และ IGN ได้ให้อันดับเกมที่ดีทีสุดจากคนเล่นและนักวิจารณ์เป็นอันดับที่ 40 และ 78 ตามลำดับ[62] เหล่านักวิจารณ์กล่าวว่า "ขณะที่เกมภาคเสริมในเครื่องพกพาส่วนใหญ่มักจะถูกมองว่าเป็นภาคที่ย่ำแย่ของซีรีส์ ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการนำประสบการณ์การเล่นที่ดีเยี่ยมจากคอนโซลมาลงสู่เครื่องพกพานั้นสามารถทำได้จริงๆ"[63] เกมนี้ยังได้อันดับที่ 42 จาก 50 เกมที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการวิดีโอเกมตลอดกาลใน บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ประจำปี 2009 อีกด้วย[64]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Game Boy (original) Games" (PDF). Nintendo of America Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 14, 2010. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
- ↑ ゼルダの伝説 夢をみる島 (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo Co., Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2008. สืบค้นเมื่อ March 26, 2009.
- ↑ "Iwata Asks: Zelda Handheld History – Like an Afterschool Club". Nintendo of Europe GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
- ↑ The Legend of Zelda: Link's Awakening (1993) Game Boy release dates - MobyGames เก็บถาวร เมษายน 26, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "Country: United Kingdom - Release Date: Nov 18, 1993"
- ↑ Mega Fun 11/1993 (German magazine; Scan @ Kultboy.com เก็บถาวร พฤษภาคม 1, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน): "Erscheinungstermin: November" (Release date: November)
- ↑ "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX". Nintendo of Europe GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 17, 2009.
- ↑ "Zeldaの伝説 – Introduction" (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo Co., Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2008. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
- ↑ "Guide 64: Game Boy Release Schedule". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 1999.
- ↑ "Zelda Retrospective Part 2". GameTrailers. MTV Networks. 2006-10-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc.
Kid: Hey man! When you want to save, just push all the Buttons at once! ...Uh, don't ask me what that means, I'm just a kid!
- ↑ "The Official Zelda Timeline, Now With Added Detail". Kotaku.com. 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-16.
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc.
Marin: You must still be a little woozy. You are on Koholint Island!
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc.
Marin: If I was a seagull, I would fly as far as I could! I would fly to far away places and sing for many people! ...If I wish to the Wind Fish, I wonder if my dream will come true...
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc.
To the finder, the isle of Koholint is but an illusion... Human, monster, sea, sky... a scene on the lid of a sleeper's eye... Awake the dreamer, and Koholint will vanish much like a bubble on a needle... Cast-away, you should know the truth!
- ↑ "Zelda Retrospective Part 6". GameTrailers. MTV Networks. 2006-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
- ↑ The Legend of Zelda: Link's Awakening – Nintendo Player's Guide. Nintendo of America Inc. 1994. p. 84.
- ↑ "Strategy – Bosses of the Egg". Nintendo of America Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-10-16.
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc.
Wind Fish: But, verily, it be the nature of dreams to end! When I dost awaken, Koholint will be gone...
- ↑ "Link's Awakening – Frequently Asked Questions". Nintendo of America Inc. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
- ↑ The Legend of Zelda: Link's Awakening Instruction Booklet. Nintendo of America Inc. August 1993. pp. 9–28.
- ↑ Vestal, Andrew; O'Neill, Cliff; Shoemaker, Brad. "History of Zelda". GameSpot. CBS Interactive Inc. p. 13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 "「ゼルダの伝説 夢をみる島」開発スタッフ名鑑". Nintendo Official Guide Book – The Legend of Zelda: Link's Awakening (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan Inc. July 1993. pp. 120–124. ISBN 4-09-102448-3.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "開発スタッフアンケート". ゲームボーイ&ゲームボーイカラー 任天堂公式ガイドブック ゼルダの伝説 夢を見る島DX (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan Inc. 1999-02-20. pp. 108–111. ISBN 4-09-102679-6.
- ↑ Kohler, Chris (2007-12-04). "Interview: Super Mario Galaxy Director On Sneaking Stories Past Miyamoto". Wired: GameLife. Condé Nast Digital. สืบค้นเมื่อ 2010-06-10.
- ↑ "Interview: Nintendo's Unsung Star". Next Generation. Future US, Inc. 2008-02-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
- ↑ "Iwata Asks: The History of Handheld The Legend of Zelda Games – Make All the Characters Suspicious Types". Nintendo of America Inc. January 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-01-13.
- ↑ Skrebels, Joe (2014-02-19). "Monkey Men: talking to Michael Kelbaugh and Kensuke Tanabe". Official Nintendo Magazine. Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
- ↑ Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Scene: staff credits.
- ↑ Orchestral Game Music Concert 3. Sony Records. 1993.
- ↑ "Smash Bros. Dojo!! – Full Song List with Secret Songs". Nintendo of America Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
- ↑ "GDC 2004: The History of Zelda". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2004-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-04.
- ↑ Williamson, Matt (1993-08-20). "'Legend of Zelda' Still Growing". Rocky Mountain News. p. C1.
- ↑ Bette, Harrison (1993-08-30). "Riding the rails for Nintendo contest". The Atlanta Journal-Constitution. p. B2.
- ↑ "'The Legend of Zelda: Link's Awakening' Guide". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (50): 57–66. July 1993.
- ↑ "Mega Mirror; Win two Game Boy games". The Mirror. 1999-02-27. p. 41.
- ↑ Musashi (2000-02-07). "Reviews – The Legend of Zelda: Link's Awakening DX". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ Scullion, Chris (2010-09-26). "3DS Virtual Console Will Play Game Boy Games". Official Nintendo Magazine. Future Publishing Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ Goldfarb, Andrew (2013-07-15). "2013 Club Nintendo Elite Status Rewards Now Available". IGN Entertainment, INC. สืบค้นเมื่อ 2013-07-16.
- ↑ "The Legend of Zelda: Link's Awakening for Game Boy". GameRankings. CBS Interactive Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ Parish, Jeremy (2006-11-15). "Link of A Thousand Faces". 1UP.com. UGO Entertainment, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
- ↑ Carter, Chip (1993-08-04). "Nintendo Creates Legend That Fits in Your Hand". The Washington Post.
- ↑ Joukiri, An (2007-07-04). "「ゼルダの伝説 夢幻の砂時計」レビュー". ITmedia +D Games (ภาษาญี่ปุ่น). ITmedia Inc. สืบค้นเมื่อ 2011-03-08.
- ↑ "ゲームクエスト(ライブラリ) – ゼルダの伝説 夢をみる島". Mainichi.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Newspapers Co. Ltd. 2005-02-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
- ↑ Diamond, John (1993-12-19). "Little Plumber Boy; Night and Day". The Mail. p. 33.
- ↑ Hughes, Gwyn (1993-12-09). "The Guardian Features Page". The Guardian. p. 21.
- ↑ Provick, Bill (1994-08-04). "Nintendo's Game Boy on big screen". The Ottawa Citizen. p. J2 (Citizen Section: Weekend Fun; Electronic Gaming).
- ↑ Burrill, William (1993-10-14). "Plot is a bit cliched, but Rocket Knight game has big, bright graphics". The Gazette. p. E5.
- ↑ Monk, Katherine (1999-05-06). "Zelda lives up to her legend". The Vancouver Sun. p. F23.
- ↑ "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX for Game Boy Color". GameRankings. CBS Interactive Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
- ↑ Cleveland, Adam (1999-09-17). "Legend of Zelda: Link's Awakening DX – Game Boy Color Review". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
- ↑ Davis, Cameron (2000-01-28). "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX Review". GameSpot. CBS Interactive Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ Wilson, A. (1999-01-14). "What's On; The Legend of Zelda DX". Courier Mail. p. 4.
- ↑ Amjadali, Samantha; Scatena, Dino (1999-05-20). "Game on". The Daily Telegraph. p. T6.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Zelda: Link's Awakening DX". Total Games' Guide to the Game Boy Color. Paragon Publishing Ltd (2): 16. 1999.
- ↑ Smith, David (1993-10-20). "Video games master Nintendo forecasting a record sales year". The Vancouver Sun. p. D5.
- ↑ Kelley, Malcom (2000-11-19). "Fun time for couch potatoes: Video game reviews". National Post. p. F6.
- ↑ Parton, Rob (2004-03-31). "Japandemonium – Xenogears vs. Tetris". RPGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-21.
- ↑ "Nester Awards Results". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (60): 54–57. May 1994.
- ↑ "Electronic Gaming Monthly's Buyer's Guide". Electronic Gaming Monthly. Ziff Davis Media Inc. January 1994.
- ↑ "NP Top 200". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (200): 58–66. February 2006.
- ↑ "Nintendo Power – The 20th Anniversary Issue!". Nintendo Power. Future Publishing Limited (231): 72. August 2008.
- ↑ "Readers' Picks Top 100 Games: 31–40". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-22.
- ↑ "IGN Top 100 Games 2007 – 78. The Legend of Zelda: Link's Awakening". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2007-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-06-04.
- ↑ Gibson, Ellie (2009-02-27). "Guinness lists top 50 games of all time". Eurogamer.net. Eurogamer Network Ltd. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.