เฉิน จือ (จีน: 陳祗; พินอิน: Chén Zhī; เสียชีวิต 28 กันยายน 258[b]) ชื่อรอง เฟิ่งจง (จีน: 奉宗; พินอิน: Fèngzōng) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เฉิน จือเป็นที่รู้จักจากการร่วมกับฮุยโฮขันทีผู้มีชื่อเสียงไม่ดีในการครอบงำราชสำนักจ๊กก๊ก แต่เฉิน จือยังได้รับการกล่าวขานในเรื่องความสามารถอย่างมาก ได้รับความชื่นชมจากทั้งบิฮุยและเล่าเสี้ยน

เฉิน จือ
陳祗
ขุนพลพิทักษ์ทัพ (鎮軍將軍 เจิ้นจฺวินเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 251 (251) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 251 (251) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ก่อนหน้าลิหงี
ถัดไปตังควด
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 246 (246) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ[a]
อำเภอผิง-ยฺหวี มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิต28 กันยายน พ.ศ. 258[b]
นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
บุตร
  • เฉิน ช่าน
  • เฉิน ยฺวี่
ญาติเคาเจ้ง (ปู่น้อย)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเฟิ่งจง (奉宗)
สมัญญานามจงโหว (忠侯)

ประวัติ

แก้

เฉิน จือเป็นชาวเมืองยีหลำ (汝南郡 หรู่หนานจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอผิง-ยฺหวี มณฑลเหอหนาน เฉิน จือเป็นหลานตาของพี่ชายของเคาเจ้งผู้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู) ของรัฐจ๊กก๊กในช่วงต้นยุคสามก๊กเป็นเวลาสั้น ๆ เฉิน จือกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์ เคาเจ้งผู้เป็นปู่น้อยจึงรับมาเลี้ยงดู[4]

ครอบครัว

แก้

เล่าเสี้ยนทรงตั้งให้บุตรชายคนโตของเฉิน จือคือเฉิน ช่าน (陳粲) มีบรรดาศักดิ์เป็นกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และแต่งตั้งให้บุตรชายคนรองของเฉิน จือคือเฉิน ยฺวี่ (陳裕) ให้มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[5]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. แม้ว่าปีเกิดของเฉิน จือไม่มีการบันทึกไว้ แต่บทชีวประวัติของเฉิน จือในสามก๊กจี่ระบุว่าเฉิน จือได้รบการเลี้ยงดูโดยเคาเจ้งผู้เป็นปู่น้อยซึ่งเสียชีวิตเมื่อประมาณเดือนตุลาคม ค.ศ. 222 ประกอบกับข้อสังเกตที่ว่าเฉิน จือมีชื่อเสียงอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนอายุ 20 ปี (และเข้ารับราชการกับจ๊กก๊กในวัยราวยี่สิบปี) จึงเป็นไปได้ว่าช่วงวัยเด็กของเฉิน จืออยู่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 210
  2. 2.0 2.1 บทชีวประวัติเฉิน จือในสามก๊กจี่ระบุว่าเฉิน จือเสียชีวิตในศักราชจิ่งเย่า (景耀) ปีที่ 1[1] นอกจากนี้ในหฺวาหยางกั๋วจื้อเล่มที่ 7 บันทึกว่าเฉิน จือเสียชีวิตในวันปิ๋งจื่อ (丙子) ของเดือน 8[2] แต่ปีที่เสียชีวิตระบุเป็นศักราชจิ่งเย่าปีที่ 2 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน[3] เนื่องจากบันทึกของตันซิ่ว (เฉิน โช่ว) เขียนขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากกว่าและเป็นส่วนหนึ่งในสารบบตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด (เอ้อร์ฉือซื่อฉื่อ) ของประวัติศาสตร์จีนโบราณ จึงถือว่าปีเสียชีวิตของเฉิน จือที่ระบุในสามก๊กจี่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

อ้างอิง

แก้
  1. (景耀元年卒) สามก๊กจี่ เล่มที่ 39.
  2. (秋八月丙子,領中護軍陳祗卒。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 7.
  3. ([景耀二年]) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 7.
  4. ([陳]祗字奉宗,汝南人,許靖兄之外孫也。少孤,長於靖家。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 39.
  5. (賜子粲爵關內侯,拔次子裕為黃門侍郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 39.

บรรณานุกรม

แก้