เคาเจ้ง (จีน: 許靖 , ? — ค.ศ. 222) มีชื่อรองว่า เหวินซิว (文休) เป็นเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กในช่วง ยุคสามก๊ก

เคาเจ้ง (สฺวี่ จิ้ง)
許靖
ซือถู (司徒)
ดำรงตำแหน่ง
พฤษภาคม ค.ศ. 221 – กันยายนหรือตุลาคม ค.ศ. 222
กษัตริย์เล่าปี่
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ราชครู (太傅)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 219 (219) – พฤษภาคม ค.ศ. 221
กษัตริย์เล่าปี่
หัวหน้าเสมียนของขุนพลซ้าย
(左將軍長史)
ดำรงตำแหน่ง
ราว ค.ศ. 215 – ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองจ๊กกุ๋น
(蜀郡太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 214 (214)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองเกงฮัน (廣漢太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองปากุ๋น
(巴郡太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
อำเภอผิงยฺหวี มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตค.ศ. 222[1]
เฉิงตู มณฑลเสฉวน
บุตรสฺวี่ ชิน (许钦)[2]
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองเหวินซิว (文休)

เคาเจ้งเกิดที่เมืองยีหลำเป็นญาติกับ เขาเฉียว หมอดูชื่อดังที่เคยทำนายโชคชะตาให้กับ โจโฉ ทำให้มีความสามารถในการทำนายดวงชะตาและทำนายลักษณะของคนต่อมาได้เข้ามารับใช้ เล่าเจี้ยง ในตำแหน่งที่ปรึกษา

ต่อมาเมื่อเล่าเจี้ยงได้ยอมแพ้ต่อ เล่าปี่ ทำให้เคาเจ้งได้เข้ามารับใช้เล่าปี่ในตำแหน่งที่ปรึกษาจากนั้นใน ค.ศ. 221 เมื่อเล่าปี่ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จ๊กก็ได้แต่งตั้งให้เคาเจ้งเป็นราชครูแต่ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเดียวก็ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 222

อ้างอิง แก้

  1. ชีวประวัติเล่าปี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก'ระบุว่าเคาเจ้งเสียชีวินในเดือน 8 ของรัชศกเจี๋ยงบู๋ (จางอู่; ค.ศ. 221-223) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของเล่าปี่ ([章武二年]秋八月,收兵还巫。司徒许靖卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก, เล่มที่ 32. เทียบเท่ากับช่วงระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึง 22 ตุลาคมในปฏิทินจูเลียน
  2. สฺวี่ ชินเสียชีิวิตก่อนบิดา (子钦,先靖夭没。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 38

ดูเพิ่ม แก้