เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน)

(เปลี่ยนทางจาก เจ้าสิทธิสาร ณ น่าน)

เจ้าอุปราช (สิทธิสาร) เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน มีนามเดิมว่า เจ้าสิทธิสาร (พ.ศ. 2378 - พ.ศ. 2442) เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าสุนันทาอัครเทวี (ชายาที่ 1)

เจ้าอุปราชสิทธิสาร
เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน
เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2442
ระยะเวลา6 ปี
ก่อนหน้าเจ้าอุปราช (เจ้าสุริยะ ณ น่าน)
ถัดไปเจ้าอุปราช (เจ้าน้อยมหาพรม ณ น่าน)
ประสูติ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378
พิราลัย17 ตุลาคม พ.ศ. 2442 (65 ปี)
ชายาเจ้าบงกช ณ น่าน
พระบุตรเจ้าเกี๋ยงเหมย ณ น่าน
เจ้าจีน น้อยไธสง(ณ น่าน)
ราชสกุลณ น่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
เจ้าบิดาเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
เจ้ามารดาแม่เจ้าสุนันทาอัครเทวี

พระประวัติ แก้

เจ้าอุปราชสิทธิสาร เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน มีพระนามเดิมว่า เจ้าสิทธิสาร ประสูติเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378 เป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าสุนันทาอรรคราชเทวี (พระชายาที่ 1) ทรงเป็นเจ้าอนุชาร่วมพระมารดากับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 เมื่อปี พ.ศ. 2400 ได้ลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระบิดาเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2401 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ว่าที่เจ้าสุริยวงษ์ นครเมืองน่าน" และได้ช่วยราชการพระบิดาในนครเมืองน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้นำเครื่องราชบรรณาการลงไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงรับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ 4 (ภัทราภรณ์) ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสัญญาบัตรขึ้นเป็น "เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน" และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ 3 (มัณฑณาภรณ์ ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสัญญาบัตรขึ้นเป็น "เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน" และให้ดำรงตำแหน่งยุติธรรมเมืองนครน่าน[1]

พิลาลัย แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 เจ้าอุปราชสิทธิสาร ประชวรเป็นวรรณโรคเม็ดเล็กภายในมีอาการให้ไอ และเป็นไข้จับสบัดร้อนสท้านหนาว รับประทานอาหารไม่ค่อยจะได้หมอประกอบยาให้รับประทาน อาการทรงบ้างแล้วกลับซุดลง มาจนถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2442 อาการซุดหนักลงอาหารรับประทานไม่ได้ ให้เหนื่อยอ่อนมีเสมหะปะทะในลำคอให้หอบ ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าอุปราชสิทธิสาร ก็ได้ถึงแก่พิราลัย สิริชนมายุ 65 ปี[1]

เครื่องประกอบยศ แก้

• ครั้งที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน ได้รับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ ดังนี้

  1. พานหมากถม ๑
  2. คนโทถม ๑
  3. กระโถนถม ๑

• ครั้งที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน ได้รับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ ดังนี้

  1. พานหมากถม เครื่องทองคำ ๑
  2. คนโททองคำ ๑
  3. กระโถนทองคำ ๑
  4. ลูกประคำทองคำ ๑ สาย

พระกรณียกิจ แก้

เจ้าอุปราชสิทธิสาร ได้ประกอบกรณียกิจเคียงคู่กับเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าบิดา และเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเชษฐา อาทิ

  • ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ให้ไปช่วยงานพระศพพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่
  • ได้รับแต่งตั้งให้คุมไพร่พลไปช่วยปราบพวกเงี้ยว ที่นครเชียงใหม่
  • ได้คุมไพร่พลขึ้นไปจัดราชการที่เมืองหลวงภูคา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

ก่อนหน้า เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) ถัดไป
เจ้าอุปราช (สุริยะ ณ น่าน)   เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน
(พ.ศ. 2436 - 2442)
  เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน)