เจ้าชายสืบสายพระโลหิต
เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (อังกฤษ: Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่นๆ
บรรดาศักดิ์
แก้ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” จำกัดใช้เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายทางบิดา (Patrilineality) ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้มักจะใช้ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเอก แต่บางครั้งก็อาจจะใช้ตำแหน่งอื่นที่เฉพาะเจาะจงกว่าตำแหน่งนี้ก็ได้
มองซิเออร์พรินซ์
แก้“มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” (ฝรั่งเศส: Premier prince du sang) ที่มักเป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยผู้มีอาวุโสสูงสุด (บุตรคนโต) ของราชวงศ์ผู้ที่มิใช่พระอนุชา, พระราชโอรส หรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หรือของโดแฟง (ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้เป็นเชื้อพระวงศ์ (ฝรั่งเศส: famille du roi)) ที่เป็นตำแหน่งที่เหนือกว่า “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” แต่พระโอรสองค์โตของพระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์หรือของโดแฟงสามารถถือตำแหน่งนี้ได้ คือเป็นตำแหน่งสำหรับผู้ที่มิได้เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (ฝรั่งเศส: petit-fils de France)[1] การใช้บรรดาศักดิ์ “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้จำกัดความเกี่ยวดองกับพระมหากษัตริย์ที่กำลังทรงราชย์อยู่ แต่ต้องมีคุณสมบัติเป็นเชื้อพระวงศ์ แม้ว่าอาจจะเป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ห่างๆ ก็ตาม (เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สำเร็จราชการแผ่นดินฟิลลิปที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15) แต่ก็มีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1785 เมื่อยุติการเป็นตำแหน่งตลอดชีพไปเป็นตำแหน่งที่มอบให้แก่เจ้าองค์ใดที่กลายมาเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของราชบัลลังก์โดยไม่ต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (เช่นในกรณีของหลุยส์-อองตวน ดยุคแห่งอองกูเลม) ซึ่งตามสิทธิแล้วก็ควรจะเป็น “เจ้าชายชั้นเอก”แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ซึ่งตามปกติแล้วมากับตำแหน่ง[2]
“เจ้าชายชั้นเอก” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ประกอบด้วยอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่รวมทั้งสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฐานะจากหลวง และเป็นบรรดาศักดิ์ตลอดชีพ การกำเนิดของเจ้าองค์โตที่มีสิทธิเป็น “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้เป็นการลดฐานะของผู้ที่ถือตำแหน่งอยู่แล้ว เช่น “มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยพรินซ์แห่งคองเดเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี การใช้บรรดาศักดิ์ตกไปเป็นของราชวงศ์ออร์เลอองส์ในปี ค.ศ. 1709 แต่ก็แทบจะไม่ได้ใช้กัน
เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก, ค.ศ. 1465-ค.ศ. 1830
- 1. ค.ศ. 1465-ค.ศ. 1498 : หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1462-ค.ศ. 1515) ;
- 2. ค.ศ. 1498-ค.ศ. 1515 : ฟรองซัวส์ เคานท์แห่งอองกูเลม (ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1547)
ราชวงศ์บูร์บอง-ลามาร์ช
- 3. ค.ศ. 1515-ค.ศ. 1525 : ชาร์ลส์ที่ 4 ดยุคแห่งอลองซอง (ค.ศ. 1489-ค.ศ. 1525) ;
- 4. ค.ศ. 1525-ค.ศ. 1527 : ชาร์ลส์ที่ 3 ดยุคแห่งบูร์บองผู้ที่ควรจะเป็นเจ้าชั้นเอกแต่ถูกห้ามจากตำแหน่งเพราะเป็นกบฏ (ค.ศ. 1490-ค.ศ. 1527) ;
- 5. ค.ศ. 1527-ค.ศ. 1537 : ชาร์ลส์ที่ 4 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งแวงโดม (ค.ศ. 1489-ค.ศ. 1537) ;
- 6. ค.ศ. 1537-ค.ศ. 1562 : อองตวนแห่งบูร์บอง ดยุคแห่งแวงโดม ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1518-ค.ศ. 1562).
- 7. ค.ศ. 1562-ค.ศ. 1589 : พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1553-ค.ศ. 1610) ;
- 8. ค.ศ. 1589-ค.ศ. 1646 : อองรีที่ 2 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1588-ค.ศ. 1646) ;
- 9. ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1686 : หลุยส์ที่ 2 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1621-ค.ศ. 1686) ;
- 10. ค.ศ. 1686-ค.ศ. 1709 : อองรีที่ 3 แห่งบูร์บอง ดยุคแห่งคองเด (ค.ศ. 1643-ค.ศ. 1709).
- 11. ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1723 : ฟิลิป ชาร์ลส์แห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1674-ค.ศ. 1723) มีสิทธิในการใช้บรรดาศักดิ์แต่ไม่ได้ใช้;
- 12. ค.ศ. 1723-ค.ศ. 1752 : หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1703-ค.ศ. 1752) ;
- 13. ค.ศ. 1752-ค.ศ. 1785 : หลุยส์ ฟิลิปแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1725-ค.ศ. 1785) ;
- 14. ค.ศ. 1785-ค.ศ. 1793 : หลุยส์ ฟิลิปป์ โจเซฟแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1747-ค.ศ. 1793) ;
- 15. ค.ศ. 1814-ค.ศ. 1830 : หลุยส์ ฟิลิปป์แห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1773-ค.ศ. 1850) ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
มาดามพรินเซส
แก้“มาดามพรินเซส” เป็นตำแหน่งภรรยาของ “มองซิเออร์พรินซ์” ดัชเชส/พรินเซสที่มีสิทธิในการใชบรรดาศักดิ์นี้ก็ได้แก่:
- ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1686 : Claire-Clémence de Maillé-Brézé (ค.ศ. 1628-ค.ศ. 1694) หลานของคาร์ดินัลรีชลีเยอ และภรรยาของ กรองด์คองเด นอกจากนั้นก็ยังมีตำแหน่งของตนเองเป็นดัชเชสแห่งฟรอนแซ็คระหว่าง ค.ศ. 1646-ค.ศ. 1674.
- ค.ศ. 1684-ค.ศ. 1709 : อันนา เฮนเรียตเตอแห่งบาวาเรีย (ค.ศ. 1648-ค.ศ. 1723) บุตรีของอันนา กอนซากา และชาร์ลส์ที่ 1 ดยุคแห่งมานตัว ในปี ค.ศ. 1663 อันนาสมรสกับอองรี ฌูลส์ ดยุคแห่งบูร์บอง บุตรชายและทายาทของ กรองด์คองเด อันนาเป็นมารดาของหลุยส์ที่ 3 ดยุคแห่งคองเด
- ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1723 : ฟรองซัวส์-มารีแห่งบูร์บอง (ค.ศ. 1677-ค.ศ. 1749) - ภรรยาของฟิลิปที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์
- ค.ศ. 1724-ค.ศ. 1726 : มากราวีนออกัสต์ มารี โยฮันนา แห่งบาเดิน-บาเดิน (ค.ศ. 1704–ค.ศ. 1726) - ภรรยาของหลุยส์แห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์
- ค.ศ. 1743-ค.ศ. 1759 : หลุยส์ อองเรียตแห่งบูร์บอง - บุตรีของ หลุยส์ เอลิซาเบธเดอบูร์บอง มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สาม และภรรยาของหลุยส์ ฟิลิปแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์
- ค.ศ. 1785-ค.ศ. 1793 : หลุยส์ มารี อเดเลดเดอบูร์บอง (ค.ศ. 1753-ค.ศ. 1821) ; ภรรยาของหลุยส์ ฟิลิปป์ โจเซฟแห่งออร์เลอองส์ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ผู้ถือตำแหน่งเป็นคนสุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
-
ฟรองซัวส์-มารี เดอ บูร์บองไม่ได้ใช้ตำแหน่งเช่นเดียวกับสามี
มองซิเออร์ดยุค
แก้“มองซิเออร์ดยุค” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด เดิมได้บรรดาศักดิ์ “duc d'Enghien” แต่มาเปลี่ยนในปี ค.ศ. 1709 เมื่อคองเดสูญเสียบรรดาศักดิ์ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” หลังจากนั้นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตก็เปลี่ยนเป็น “ดยุคแห่งบูร์บอง” และบุตรชายคนโตของบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด (หลาน) ก็เป็น “duc d'Enghien”
- 1. ค.ศ. 1689-ค.ศ. 1709 : Henri I, Duke of Enghien (ค.ศ. 1643-ค.ศ. 1709) ;
- 2. ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1710 : Louis I, Duke of Enghien (ค.ศ. 1668-ค.ศ. 1710) ;
- 3. ค.ศ. 1710-ค.ศ. 1740 : Louis II Henri, Duke of Enghien (ค.ศ. 1692-ค.ศ. 1740) ;
- 4. ค.ศ. 1740-ค.ศ. 1818 : Louis III Joseph, Duke of Enghien (ค.ศ. 1736-ค.ศ. 1818) ;
- 5. ค.ศ. 1818-ค.ศ. 1830 : Louis IV Henri, Duke of Enghien (ค.ศ. 1756-ค.ศ. 1830)
-
กรองด์คองเด และบุตรชาย Henri I, Duke of Enghien
-
มองซิเออร์ดยุค (หลุยส์ที่ 3 ดยุคแห่งคองเด)
มาดามดัชเชส
แก้“มาดามดัชเชส” เป็นตำแหน่งของภรรยาของ “มองซิเออร์ดยุค” ผู้ดำรงบรรดาศักดิ์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดคือ:
- ค.ศ. 1685-ค.ศ. 1709 : หลุยส์-ฟรองซัวส์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1673-ค.ศ. 1743) พระราชธิดานอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระสนมมาดามเดอมองเตสปอง หลุยส์-ฟรองซัวส์สมรสกับหลุยส์ที่ 3 พรินซ์แห่งคองเดเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1685 ผู้ได้รับตำแหน่งเกียรติยศว่า ดยุคแห่งบูร์บอง ที่เรียกว่า “มองซิเออร์ดยุค” หลุยส์-ฟรองซัวส์จึงได้รับการเรียกขานว่า “มาดามดัชเชส” และยังคงถือตำแหน่งแม้ว่าหลังจากที่เป็นแม่หม้ายแล้วเมื่อเป็นพรินเซสแห่งคองเด ต่อมาหลุยส์-ฟรองซัวส์ก็เป็นที่รู้จักกันในนาม มาดามดัชเชสหม้าย
“มาดามดัชเชส” คนอื่นๆ ก็ได้แก่:
- ค.ศ. 1713-ค.ศ. 1720 : มารี แอนน์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1689–ค.ศ. 1720) - ภรรยาคนแรกของหลุยส์ อองรี ดยุคแห่งบูร์บอง;
- ค.ศ. 1728-ค.ศ. 1741 : คาโรไลน์แห่งเฮสส์-โรเตนบวร์ก (ค.ศ. 1714-ค.ศ. 1741) ภรรยาคนแรกของดยุคแห่งบูร์บอง;
- ค.ศ. 1753-ค.ศ. 1760 : ชาร์ลอตต์ เอลิสซาเบธ กอดฟรีด์ เดอ โรฮัน (ค.ศ. 1737-ค.ศ. 1760) - ภรรยาของหลุยส์ โจเซฟ พรินซ์แห่งคองเด
- ค.ศ. 1770-ค.ศ. 1818 : หลุยส์ มารี เทอรีสแห่งออร์เลอองส์ (ค.ศ. 1750-ค.ศ. 1820) - ภรรยาของพรินซ์แห่งคองเดคนสุดท้าย
-
มาดามดัชเชส หลุยส์-ฟรองซัวส์เดอบูร์บอง
-
มาดามดัชเชสหลุยส์ มารี เทอรีสแห่งออร์เลอองส์
มองซิเออร์เคานท์
แก้“มองซิเออร์เคานท์” เป็นตำแหน่งประมุขของสาขารองของราชวงศ์บูร์บอง, เคานท์แห่งซัวซองส์ บรรดาศักดิ์นี้ก็เช่นเดียวกันกับบรรดาศักดิ์พรินซ์แห่งคองตี ที่สืบเชื้อสายมาจากพรินซ์แห่งคองเด ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1566 เมื่อมอบให้กับชาร์ลส์แห่งบูร์บองบุตรคนที่สองของหลุยส์แห่งบูร์บอง พรินซ์แห่งคองเดผู้ทรงเป็น พรินซ์แห่งคองเด คนแรก
พรินซ์แห่งคองเดคนแรกมีบุตรชายสามคน:
- 1. อองรีแห่งบูร์บองพรินซ์แห่งคองเดคนที่สอง
- 2. ชาร์ลส์แห่งบูร์บองเคานท์แห่งซัวซองส์คนแรกและผู้ก่อตั้ง ตระกูลบูร์บอง-ซัวซองส์
- 3. ฟรองซัวส์แห่งบูร์บอง พรินซ์แห่งคองตี ผู้เป็นพรินซ์แห่งคองตีคนแรก แต่บรรดาศักดิ์ว่างลงหลังจากที่ฟรองซัวส์เสียชีวิตโดยไม่มีทายาทในปี ค.ศ. 1614 และมารื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1629 สำหรับอาร์มองด์ พรินซ์แห่งคองตีพระโอรสองค์ที่สองของเฮนรีที่ 2 พรินซ์แห่งคองเด
-
ชาร์ลส์แห่งบูร์บองเคานท์แห่งซัวซองส์
-
โอลิมเปีย มันชินิ หรือที่เรียกว่า มาดามเคานเทส ในราชสำนัก
เคานท์แห่งซัวซองส์คนที่สองเสียชีวิตโดยไม่มีทายาท บรรดาศักดิ์จึงตกไปเป็นของน้องสาวคนรอง มารี เดอ บูร์บอง-คองเด ภรรยาของทอมัส ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งคาริยองแห่งราชวงศ์ซาวอย มารีจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์ เมื่อมารีเสียชีวิตตำแหน่งก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนที่สอง โจเซฟ-เอมมานูเอล พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง (ค.ศ. 1631-ค.ศ. 1656) และต่อมาไปเป็นของบุตรชายคนที่สามเออแฌง-ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง เออแฌงสมรสกับโอลิมเปีย มันชินิหลานของคาร์ดินัลมาซาแรง โอลิมเปียจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์[3] เช่นเดียวกับมารดาของสามี เมื่อสามีเสียชีวิตบรรดาศักดิ์ก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนโตหลุยส์-ทอมัส พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยองผู้เป็นพี่ชายของนายพลผู้มีชื่อเสียงของออสเตรียเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ตำแหน่งซัวซองส์มาสิ้นสุดลงเมื่อ เออแฌง-ฌอง-ฟรองซัวส์เดอซาวอย-คาริยอง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1734
มาดามเคานเทส
แก้“มาดามเคานเทส” เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “มองซิเออร์เคานท์” ตัวอย่างผู้ถือตำแหน่งก็ได้แก่
มาดามพรินเซสหม้าย
แก้“มาดามพรินเซสหม้าย” (ฝรั่งเศส: Madame la Princesse Douairière) เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “พรินซ์แห่งคองตี” ที่สามีเสียชีวิตไปแล้ว ถ้ามีหลายคนก็จะเรียงลำดับด้วยหมายเลข ระหว่างปี ค.ศ. 1727 ถึงปี ค.ศ. 1732 ก็มีภรรยาหม้ายของพรินซ์แห่งคองตีถึงสามคนที่รวมทั้ง:
- มารี แอนน์เดอบูร์บอง (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1739) พระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และ หลุยส์ เดอ ลา วาลลิเยร์; มารี แอนน์เป็นภรรยาของหลุยส์ อาร์มองด์ที่ 1 พรินซ์แห่งคองตี มารี แอนน์เป็นที่รู้จักกันในตำแหน่ง มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่หนึ่ง (Madame la Princesse de Conti Première Douairière) เพราะเป็นภรรยาหม้ายของพรินซ์แห่งคองตีคนแรกที่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1685 บรรดาศักดิ์พรินซ์แห่งคองตีตกไปเป็นของน้องชายคนรองของสามีฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี
- มารี เทอเรส เดอ บูร์บอง (ค.ศ. 1666-ค.ศ. 1732), ภรรยาของฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี มารี เทอเรสเป็นที่รู้จักกันในตำแหน่ง ''มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สอง (Madame la Princesse de Conti Seconde Douairière) หลังจากที่สามีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1709
- หลุยส์ เอลิซาเบธเดอบูร์บอง (ค.ศ. 1693-ค.ศ. 1775) ภรรยาของหลุยส์ อาร์มองด์ที่ 2 เดอบูร์บอง พรินซ์แห่งคองตี บุตรชายและทายาทของฟรองซัวส์ หลุยส์ พรินซ์แห่งคองตี หลุยส์ เอลิซาเบธเป็นบุตรีของ มองซิเออร์ดยุคหลุยส์ที่ 3 ดยุคแห่งคองเด และ มาดามดัชเชส หลุยส์-ฟรองซัวส์เดอบูร์บอง เมื่อสามีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1727 หลุยส์ เอลิซาเบธก็เป็น มาดามพรินเซสแห่งคองตีหม้ายที่สาม (Madame la Princesse de Conti Troisième/Dernière Douairière) ตำแหน่งที่ว่านี้ไม่ใช่ตำแหน่งตามสิทธิแต่เป็นวิธีที่ทางราชสำนักใช้แยกระหว่างแม่หม้ายทั้งสามผู้ใช้ตำแหน่ง พรินเซสแห่งคองตี พร้อมกัน
พระราชโอรสธิดาตามกฎหมาย
แก้พระราชโอรสธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส และของชายในราชวงศ์ใช้นามสกุลตามสาขาของตระกูลคาเปต์ที่เป็นของพระราชบิดาหรือบิดาเช่นหลุยส์-โอกุสต์เดอบูร์บอง ดยุคแห่งแมนผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระสนม|มาดามเดอมองเตสปอง[4] หลังจากที่ทำให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็จะได้รับบรรดาศักดิ์จากดินแดนที่เป็นของบิดา ส่วนบุตรีก็จะได้รับตำแหน่งเป็น มาดมัวเซลล์แห่ง X
ถ้าเป็นบุตรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะใช้นามสกุลตามแต่ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่เป็นราชตระกูลก็ได้ เด็กที่เป็นลูกนอกกฎหมายไม่ถือว่าเป็น เชื้อพระวงศ์ (fils de France) แต่ถ้าได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นให้ถูกกฎหมาย พระมหากษัตริย์อาจจะพระราชทานบรรดาศักดิ์เกือบเท่าเทียมหรือเท่าเทียม เจ้าชายสืบสายพระโลหิต ก็ได้[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Velde, François. "The French Royal Family: Titles and Customs". Heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
- ↑ Velde, François. "The French Royal Family: Titles and Customs". Heraldica.org. สืบค้นเมื่อ 2009-08-05.
- ↑ Nancy Mitford, The Sun King, 1966, p.87
- ↑ Spanheim, Ézéchiel (1973). ed. Émile Bourgeois (บ.ก.). Relation de la Cour de France. le Temps retrouvé (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Mercure de France. p. 70.
{{cite book}}
:|editor=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ ib. Spanheim, Ézéchiel, pp. 100-105, 323-327.