เกอช่างจู่กั๋ว

เพลงรักชาติของจีน

เกอช่างจู่กั๋ว[1] (จีนตัวย่อ: 歌唱祖国; จีนตัวเต็ม: 歌唱祖國; พินอิน: Gēchàng Zǔguó; "บทกวีสรรเสริญมาตุภูมิ") เป็นเพลงรักชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประพันธ์ทั้งเนื้อร้องและทำนองโดยหวัง เชิน (จีน: 王莘; พินอิน: Wáng Shēn; 26 ตุลาคม ค.ศ. 1918 – 15 ตุลาคม ค.ศ. 2007) ในช่วงหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949–51) บางครั้งเพลงนี้ได้รับเกียรติให้เป็น "เพลงชาติที่สอง" ของจีน เพลงนี้ได้รับการแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติครั้งสำคัญเมื่อประเทศจีนเข้าร่วมในขบวนพาเหรดของชาติต่าง ๆ เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 กีฬาทหารโลก 2019 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2021 ตลอดจนโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 และเอเชียนเกมส์ 2022

"เกอช่างจู่กั๋ว"
เพลง
เขียนเมื่อ1950; 74 ปีที่แล้ว (1950)
แนวเพลงมาร์ช
ผู้ประพันธ์ดนตรีหวัง เชิน

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพลงนี้มีชื่อว่า "เกอช่างเช่อฮุ่ยจู่อี้จู่กัว" (จีน: 歌唱社会主义祖国; พินอิน: Gēchàng shèhuì zhǔyì zǔguó; "บทกวีสรรเสริญมาตุภูมิสังคมนิยม") โดยเนื้อเพลงมีการอ้างอิงถึงลัทธิคอมมิวนิสต์และยกย่องสรรเสริญประธานเหมา เจ๋อตงอย่างมาก

เพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงเปิดรายการวิทยุ "สรุปข่าวและหนังสือพิมพ์" (新闻和报纸摘要) และ "เครือข่ายข่าวแห่งชาติ" (全国新闻联播) ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเป็นเพลงปิดรายการวิทยุบางช่องของสถานีฯ อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ต้นกำเนิด

แก้

หวัง เชิน นักดนตรีจากเมืองเทียนจินซึ่งอยู่ใกล้เคียง เริ่มต้นประพันธ์เพลงนี้ในปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 1950 ไม่นานหลังจากที่เขาได้เห็นธงชาติจีนจำนวนมากโบกสะบัดอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในช่วงเตรียมการสำหรับวันชาติครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีนั้น เพลงนี้เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเมืองเทียนจินก่อน จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังกรุงปักกิ่ง ทั้งเนื้อร้องและทำนองของเพลงนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการในหนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้า (人民日报) เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1951 และได้รับการส่งเสริมอย่างกว้างขวางจากกระทรวงวัฒนธรรมของจีนก่อนถึงงานวันชาติ[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "President Hu watches grand show marking 10th anniversary of HK's return". Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09. The song's Name in English - "Ode to the Motherland" - translated by Xinhua.
  2. 人民音乐家王莘与《歌唱祖国》(图). Beijing Daily. 2010-09-06.