วันชาติจีน
วันชาติ (จีน: 国庆节; พินอิน: guóqìng jié; แปลตรงตัว: "วันฉลองชาติ") หรือชื่อทางการคือ วันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国国庆节) เป็นวันหยุดราชการในประเทศจีน ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและระลึกถึงการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการโดยประธานเหมา เจ๋อตงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีนส่งผลให้พรรคก๊กมินตั๋งต้องถอยร่นไปยังไต้หวัน และก่อให้เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นมาแทนที่สาธารณรัฐจีน[1][2]
วันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน 中华人民共和国国庆节 | |
---|---|
สวนดอกไม้ในสวนเป่ย์ไห่เมื่อปี ค.ศ. 2004 แสดงอักษร 国庆 (guóqìng; 'ฉลองชาติ"') | |
ชื่ออื่น | วันจีน, วันเกิดจีน, วัน PRC, 10-1 |
จัดขึ้นโดย | สาธารณรัฐประชาชนจีน, รวมถึงฮ่องกงและมาเก๊า |
ประเภท | ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ชาตินิยม |
ความสำคัญ | วันประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี ค.ศ. 1949 |
การเฉลิมฉลอง | งานเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงการแสดงดอกไฟและดนตรี (การสวนสนามทหารทุก 10 ปี) |
วันที่ | 1 ตุลาคม |
ความถี่ | ประจำปี |
ครั้งแรก | 1 ตุลาคม 1949 |
วันชาติจีน | |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 国庆节 | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 國慶節 | ||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | วันฉลองชาติ | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อโปรตุเกส | |||||||||||||||||||||||||||
โปรตุเกส | Dia Nacional da República Popular da China |
แม้ว่าวันเฉลิมฉลองจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม แต่ก็มีการเพิ่มวันหยุดราชการอีก 6 วัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะรวมวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วันแรกของเดือนตุลาคมไว้ด้วย ทำให้เป็นวันหยุดราชการโดยพฤตินัยติดต่อกัน 7 วัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "สัปดาห์ทอง" (黄金周) โดยมีรายละเอียดที่กำหนดโดยคณะรัฐมนตรี[3]
ในวันดังกล่าวจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองและการแสดงดนตรีทั่วประเทศ และในบางปีจะมีการจัดการสวนสนามทหารและในบางปี จะมีการจัดขบวนพาเหรดทางทหารและขบวนแห่พลเรือนอย่างยิ่งใหญ่ในรูปแบบพิธีการ[A] ครั้งล่าสุดถูกจัดขึ้นเมื่อในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2019 เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความเป็นมา
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เอาชนะรัฐบาลชาตินิยมก๊กมินตั๋ง รัฐบาลที่ปกครองอยู่เดิมของสาธารณรัฐจีนในสงครามกลางเมืองจีนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1927 ถึง 1950 ยกเว้นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันต่อต้านญี่ปุ่นในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลังเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลชาตินิยมได้ถอนทัพไปยังเกาะไต้หวัน ซึ่งเดิมเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิชิง และเคยถูกญี่ปุ่นยึดครองเป็นอาณานิคมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 ถึง 1945[5]
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 โดยมีพิธีเฉลิมฉลองการตั้งรัฐบาลประชาชนกลาง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง (เดิมคือเป่ย์ผิง) เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศในวันเดียวกัน[6] หลังจากที่ประธานเหมา เจ๋อตง ผู้นำคนแรกของประเทศได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศการก่อตั้งสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ ณ ที่แห่งนั้นได้มีการจัดการสวนสนามทหารต่อสาธารณชนครั้งแรกของกองทัพปลดปล่อยประชาชนชุดใหม่[7]
หลังจากพิธีก่อตั้ง หม่า ซฺวี่หลุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมาธิการกลางสมาคมส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งประเทศจีน ได้เล็งเห็นว่าประเทศจีนควรมีวันชาติของตนเอง เขาได้ร่างข้อเสนอที่มีชื่อว่า "เสนอให้วันที่ 1 ตุลาคมเป็นวันชาติ" เพื่อนำเสนอในสมัยประชุมแรกของคณะกรรมาธิการแห่งชาติประจำสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนที่กำลังจะมาถึง[8]
ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1949 การประชุมจัดขึ้นที่หอฉินเจิ้งภายในจงหนานไห่ โดยหม่าได้มอบหมายให้นางสฺวี กว่างผิง เป็นผู้แทนนำเสนอข้อเสนอ เนื่องจากประสบปัญหาสุขภาพ[9] หลิน ปั๋วฉฺวี เลขาธิการรัฐบาลประชาชนกลาง ได้แสดงความเห็นสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว และเหมา เจ๋อตง ก็ได้แสดงความเห็นชอบเช่นกัน[10] ในที่สุด ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ต่อข้อเสนอ และได้มีมติให้ส่งข้อเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อกำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมเป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน แทนวันชาติเดิมที่ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม[11]
วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1949 คณะกรรมาธิการกลางรัฐบาลประชาชนกลาง (จีน: 中央人民政府委员会) สมัยประชุมที่สี่ ได้มีมติเกี่ยวกับวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยประกาศให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีนับตั้งแต่ ค.ศ. 1950 เป็นวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน[12][13]
วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1949 การประชุมกิจการการเมืองของคณะรัฐมนตรีรัฐบาลประชาชนกลาง (จีน: 中央人民政府政务院) ครั้งที่ 12 ได้ผ่านระเบียบวันหยุดราชการประจำปีและวันรำลึก โดยกำหนดให้วันชาติเป็นวันหยุดราชการสำหรับประชาชนทั่วไป ตรงกับวันที่ 1 และ 2 ตุลาคม[14][15] วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1950 ได้มีการจัดงานฉลองวันชาติครั้งแรก ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน[16]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1960 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินนโยบาย "ประหยัดอดออมเพื่อสร้างชาติ" และปฏิรูประบบการจัดงานฉลองวันชาติ โดยกำหนดให้มีการจัดงานเฉลิมฉลองขนาดเล็กทุก 5 ปี และการจัดสวนสนามใหญ่ทุก 10 ปี ในปี ค.ศ. 1984 คณะกรรมาธิการกลางได้มีมติให้จัดพิธีฉลองวันชาติครั้งใหญ่ขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนตามข้อเสนอของเติ้ง เสี่ยวผิง ในปี ค.ศ. 1999 คณะกรรมาธิการกลางได้มีมติให้จัดพิธีสวนสนามทหารเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้มีการจัดพิธีสวนสนามทหารครั้งใหญ่ขึ้น ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในวันที่ 1 ตุลาคมปีเดียวกัน[17] ในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการจัดพิธีสวนสนามทหารครั้งใหญ่เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันชาติ[18] ในปี ค.ศ. 2019 กรุงปักกิ่งได้จัดพิธีฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในวันชาติ[19][20]
การเฉลิมฉลอง
แก้วันชาติเป็นจุดเริ่มต้นของสัปดาห์ทอง ซึ่งเป็นวันหยุดราชการติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์[21][22][23]
มีการเฉลิมฉลองวันดังกล่าวทั่วทั้งแผ่นดินใหญ่ของจีน ฮ่องกง และมาเก๊า โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองต่าง ๆ ที่รัฐบาลเป็นผู้จัด อาทิ การแสดงดอกไม้ไฟ การแสดงดนตรี การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมทางวัฒนธรรม สถานที่สาธารณะ เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ได้รับการตกแต่งในธีมเทศกาลอย่างสวยงาม มีการจัดแสดงภาพเหมือนของผู้นำที่เคารพนับถืออย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น เหมา เจ๋อตง[24] วันหยุดนี้ยังได้รับการเฉลิมฉลองจากชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก
พิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์วีรชน
แก้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ถึง 2013 ในวันชาติของทุกปีที่ไม่มีการจัดสวนสนาม จะมีการจัดพิธีวางพวงมาลาแห่งชาติ ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตามหลังพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา พิธีดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่อนุสาวรีย์วีรชน ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1958 เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาวจีนหลายล้านคนที่ล้มตายในช่วงการต่อสู้เพื่อชาติอันยาวนาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา พิธีดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นในวันสำคัญวันใหม่คือ วันผู้เสียสละ (Martyrs' Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 30 กันยายน ก่อนวันชาติหนึ่งวัน โดยมีผู้นำพรรคและประเทศเป็นประธานในพิธี[25]
พิธีเชิญธงชาติ
แก้เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่มีการจัดพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในช่วงเช้าของวันที่ไม่มีกำหนดการจัดสวนสนาม[26] พิธีเชิญธงชาติเนื่องในวันชาติในเวลา 06:00 น. นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในปีที่ไม่มีการจัดสวนสนามฉลองครบรอบ ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา กองร้อยอารักขาธง กองพันทหารรักษาการณ์เกียรติยศปักกิ่ง ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมกับวงโยธวาทิตแห่งชาติของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ก่อนหน้านั้นตำรวจติดอาวุธประชาชนปักกิ่งได้จัดหากำลังพลชายเข้าร่วมในหน่วยอารักขาธงพิธีการ พิธีดังกล่าวเปิดให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวเข้าร่วมชมได้ และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และสตรีมมิงออนไลน์อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ผู้ชมทั้งในและต่างประเทศได้รับชม ในช่วงท้ายของพิธีมีการปล่อยนกพิราบและลูกโป่งหลากสีสัน[27][28]
พิธีสวนสนามของทหารและพลเรือน
แก้ในเช้าของวันชาติในปีพิเศษจะมีการจัดพิธีสวนสนามร่วมกันของทหารและพลเรือน ซึ่งประกอบด้วยกองทัพปลดปล่อยประชาชน ตำรวจติดอาวุธประชาชน และกองกำลังอาสาสมัคร พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ รวมถึงผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์แห่งประเทศจีน พิธีดังกล่าวถูกถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 เป็นต้นมา และยังได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกผ่านระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลในปีเดียวกัน นับเป็นไฮไลท์สำคัญของการเฉลิมฉลองในระดับชาติที่กรุงปักกิ่ง[29] พิธีสวนสนามถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1959 และได้หยุดจัดไปจนถึง ค.ศ. 1984[30] มีการวางแผนจัดพิธีสวนสนามในปี ค.ศ. 1989 แต่ถูกยกเลิกไปหลังจากเหตุการณ์ปราบปรามในวันที่ 4 มิถุนายน และได้มีการจัดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1999[31][32][33]
พิธีดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ[33]
ระเบียงภาพ
แก้-
วันชาติ ค.ศ. 1950
-
วันชาติ ค.ศ. 1950 (2)
-
เหมา เจ๋อตง และหลิว เช่าฉี ทักทหายฝูงชนในวันชาติ ค.ศ. 1950
-
พิธีสวนสนามฉลองครบรอบ 10 ปี ค.ศ. 1959
-
ครบรอบ 15 ปีวันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1964
-
เหมา เจ๋อตง และหลิว เช่าฉีในวันครบรอบ 15 ปีวันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1964
-
ครบรอบ 50 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1999
-
จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันชาติ ค.ศ. 2004
-
จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันชาติ ค.ศ. 2006 มีป้ายประกาศข้อความว่า "ฉลองครบรอบ 57 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างอบอุ่น" ภาพที่ปรากฏคือภาพของซุน ยัตเซ็น[34]
-
งานฉลองวันชาติ ค.ศ. 2008 ในมาเก๊า
-
การเฉลิมฉลองวันชาติ ค.ศ. 2012 ในฮ่องกง
-
แปลงดอกไม้ฉลองวันชาติครบรอบ 70 ปี บนถนนเจี้ยนกั๋วเหมินเน่ย์
-
เครื่องบิน KJ-2000 และเครื่องบิน J-10 แสดงการบินผาดโผนเพื่อฉลองวันชาติครบรอบ 70 ปี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Flag-raising ceremony held for China's National Day celebration". Xinhua News Agency. 1 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.
- ↑ Westad, Odd (2003). Decisive Encounters: The Chinese Civil War, 1946–1950. Stanford University Press. p. 305. ISBN 978-0-8047-4484-3.
- ↑ 国务院办公厅关于2019年部分节假日安排的通知 [Notice of the General Office of the State Council on Some Holiday Arrangements in 2019] (ภาษาจีน). 4 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
- ↑ 新中国历次大阅兵 [New China's previous grand military parades]. gov.cn (ภาษาจีน). Xinhua News Agency. 21 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2009. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
- ↑ Mass, K. History of Taiwan: Its Challenges, Separation from China, and More. Efalon Acies. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ "China National Day: October 1st, Golden Week". travelchinaguide.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2016.
- ↑ "China says National Day parade 'won't disappoint' in scale or weapons". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ 马叙伦与中国民主促进会. 中国各民主党派主要创始人传记丛书 (ภาษาจีน). 广东人民出版社. 2004. p. 136. ISBN 978-7-218-04417-0. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 上海鲁迅纪念馆 (2009). 上海鲁迅研究 (ภาษาจีน). 上海社会科学院出版社. p. 49. ISBN 978-7-80745-354-3. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ Yamada, N.C.F. (2020). Preferential Education Policies in Multi-ethnic China: National Rhetoric, Local Realities. Education and Society in China. Taylor & Francis. p. 90. ISBN 978-1-000-20695-1. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 中国共产党纪念活动史. 国家哲学社会科学成果文库 (ภาษาจีน). 社会科学文献出版社. 2017. p. 342. ISBN 978-7-5201-1292-5. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 中国节日. 人文中国书系 (ภาษาจีน). 五洲传播出版社. 2005. p. 65. ISBN 978-7-5085-0807-8. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 国务院法制办公室 (2006). 法律法规全书 (ภาษาจีน). 中国法制出版社. p. 1-PA69. ISBN 978-7-80226-018-4. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 劳动科学与经济体制 (ภาษาจีน). 中国劳动社会保障出版社. 2000. p. 65. ISBN 978-7-5045-2764-6. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ China. Guo wu yuan (2001). 中华人民共和国国务院令, 1949.10-2001.4 (ภาษาจีน). 中国民主法制出版社. p. 2570. ISBN 978-7-206-03703-0. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 亮阵: 共和国大阅兵 (ภาษาจีน). 中央文献出版社. 2009. p. 86. ISBN 978-7-5073-2746-5. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ "1949-1999 -- Celebrate the 50th anniversary of the founding of the People's Republic of China". Chineseposters.net. สืบค้นเมื่อ 2024-07-13.
- ↑ "People's Republic of China marks 60th anniversary". CNN.com. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2024-07-13.
- ↑ "China anniversary: Beijing celebrations mark 70 years of Communist rule". BBC Home. 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 2024-07-13.
- ↑ "China celebrates 70 years of People's Republic – in pictures". the Guardian. 2019-10-01. สืบค้นเมื่อ 2024-07-13.
- ↑ "China National Day holiday 2018". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ "Disappointing start to 'golden week' for Hong Kong retailers". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ "Golden Week 2022, 2023 and 2024". PublicHolidays.cn. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ "China celebrates with elaborate display of power and ideology". The Irish Times. 2 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2012. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.
- ↑ "First national Martyrs' Day remembers those who sacrificed for China". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 30 September 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
- ↑ "National Day celebrated across China". Xinhua News Agency. 1 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.
- ↑ 图文20世纪中国史 (ภาษาจีน). 广东旅游出版社. 1999. p. 1691. ISBN 978-7-80521-977-6. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ 中国广播电视出版社 (2000). 中国广播电视年鉴 (ภาษาจีน). 中国广播电视出版社. p. 319. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
- ↑ "The history of the People's Republic of China – through 70 years of mass parades". 30 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ "The history of the People's Republic of China – through 70 years of mass parades". theconversation.com. สืบค้นเมื่อ 1 October 2022.
- ↑ "1960年至1983年为什么没有国庆阅兵". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ Hung, Chang-tai (2007). "Mao's Parades: State Spectacles in China in the 1950s" (PDF). The China Quarterly. 190 (190): 411–431. doi:10.1017/S0305741007001269. JSTOR 20192777. S2CID 154319855. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
- ↑ 33.0 33.1 Hwang, Yih-Jye; Schneider, Florian (2011). "Performance, Meaning, and Ideology in the Making of Legitimacy: The Celebrations of the People's Republic of China's Sixty-Year Anniversary". China Review. 11 (1): 27–55. ISSN 1680-2012. JSTOR 23462196. สืบค้นเมื่อ 2 October 2022.
- ↑ Fu, Ying (16 July 2008). "China at 60: Nostalgia and progress". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 April 2011.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "upper-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="upper-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน