ประตูเทียนอัน (จีน: 天安门) เป็นประตูใหญ่ในใจกลางเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นประตูหน้านครจักรพรรดิแห่งปักกิ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับเขตศูนย์กลางธุรกิจของเมือง และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติที่รับรู้โดยทั่วกัน

ประตูเทียนอัน
Tian'anmen
"Tiān'ānmén" ในอักขระจีนตัวย่อ (บนสุด) และ ตัวเต็ม (ตัวล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ天安门
อักษรจีนตัวเต็ม天安門
ฮั่นยฺหวี่พินอินTiān'ānmén
ความหมายตามตัวอักษร"Gate of Heavenly Peace"
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᠠᠪᡴᠠᡳ
ᡝᠯᡥᡝ
ᠣᠪᡠᡵᡝ
ᡩᡠᡴᠠ
เมิลเลินดอร์ฟabkai elhe obure duka
(วิดีโอ) ภาพประตู 2 ภาพ ตามมาด้วยภาพภายในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ถัดจากประตู ปี ค.ศ. 2017

ประตูเทียนอันสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1420 โดยเป็นทางเข้าสู่นครจักรพรรดิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชวังต้องห้าม ประตูเทียนอันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัสเทียนอันเหมิน และมีถนนฉางอานเป็นจุดแบ่งออกจากจัตุรัส

ชื่อ แก้

เทียนอันเหมิน (天安门) ประกอบด้วยอักษรจีนสามตัว ได้แก่

  • เทียน (天) แปลว่า ฟ้า
  • อัน (安)แปลว่า ผาสุก สันติ ราบคาบ
  • เหมิน (门) แปลว่า ประตู

เมื่อแปลตามตัวอักษร จะได้ความหมายว่า "ประตูแห่งสันติภาพสวรรค์"[ต้องการอ้างอิง]

ประตู แก้

ในสมัยราชวงศ์หมิง เดิมประตูนี้มีชื่อว่า "เฉิงเทียนเหมิน" (จีนตัวเต็ม: 承天門; จีนตัวย่อ: 承天门; พินอิน: Chéngtiānmén) มีความหมายว่า "ประตูแห่งอาณัติสวรรค์" ต่อมาได้ถูกทำลายและสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง ตัวประตูดั้งเดิมสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1420 โดยตั้งชื่อตามประตูของพระราชวังต้องห้ามในหนานกิง ต่อมาประตูถูกฟ้าผ่าจนไฟไหม้หมดทั้งหลังในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1457

ในปี ค.ศ. 1465 จักรพรรดิเฉิงฮว่าแห่งราชวงศ์หมิงรับสั่งให้ซื่อ กุย (自圭) เสนาบดีโยธาธิการ สร้างประตูขึ้นมาใหม่ จึงได้เปลี่ยนรูปแบบจากแบบไผฟางเดิมเป็นแบบประตูเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ตัวประตูได้รับความเสียหายอีกครั้งในช่วงสงครามปลายราชวงศ์หมิง เมื่อในปี ค.ศ. 1644 ประตูถูกเผาโดยกลุ่มกบฏที่นำโดย หลี่ จื้อเฉิง (李自成)

หลังจากการสถาปนาราชวงศ์ชิง มีการสร้างประตูนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยเริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1645 ในรัชสมัยจักรพรรดิชุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง และโปรดให้เปลี่ยนชื่อประตูเป็น "เทียนอันเหมิน" สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1651

ประตูได้รับการบูรณะใหม่อีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1969 และ 1970 เพราะประตูดังกล่าวมีอายุมากถึง 300 ปีแล้ว และทรุดโทรมลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 เนื่องจากประตูแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จึงมีคำสั่งให้ปิดการบูรณะนี้เป็นความลับ ประตูทั้งหลังมีนั่งร้านปกคลุม และโครงการนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "การปรับปรุงใหม่" มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รูปลักษณ์ภายนอกของประตูไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันก็ต้านทานแผ่นดินไหวได้มากขึ้นและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เช่น ลิฟต์ น้ำประปา และระบบทำความร้อน

การออกแบบและก่อสร้าง แก้

ตัวประตูและหอคอย แก้

 
ประตูเทียนอัน

ประตูเทียนอันมีความยาว 66 เมตร กว้าง 37 เมตร และมีความสูง 32 เมตร ส่วนตัวหอคอยมีความยาว 57.14 เมตร กว้าง 21.97 เมตร มีชายคาคาสองชั้นอยู่บนยอดและปูด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง มีตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีนแขวนไว้ระหว่างชายคาทั้งสอง

รูปปั้นสิงโตสองตัวยืนอยู่หน้าประตู และอีกสองตัวเฝ้าสะพาน ในวัฒนธรรมจีน เชื่อว่าสิงโตจะปกป้องมนุษย์จากวิญญาณชั่วร้าย

หัวเปี่ยว (华表) แก้

 
หัวเปี่ยว (华表) มีรูปมังกรและนกฟีนิกซ์ประดับอยู่โดยรอบ

เสาหินสองต้นเรียกว่า หัวเปี่ยว (จีนตัวย่อ: 华表; จีนตัวเต็ม: 華表; พินอิน: huábiǎo) มีสิงโตยืนอยู่บนยอด เดิมที วัตถุประสงค์ของการติดตั้งได้รับการออกแบบมาสำหรับประชาชนทั่วไปในการถวายฎีกาโดยการเขียนหรือติดคำร้องไว้บนเสา อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการตกแต่งเท่านั้น และสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ

ป้ายคำขวัญ แก้

ด้านตะวันตกและตะวันออกของประตูมีการติดตั้งป้ายคำขวัญขนาดใหญ่ ด้านซ้ายเขียนว่า "中华人民共和国万岁" (พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó wànsuì) แปลว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีนจงเจริญ" ส่วนด้านขวาเขียนว่า "世界人民大团结万岁" (พินอิน: Shìjiè rénmín dà tuánjié wànsuì) แปลว่า "ความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ของประชาชนโลกจงเจริญ"

แรกเริ่มนั้นป้ายด้านขวาได้ถูกเขียนว่า "中央人民政府万岁" (พินอิน: Zhōngyāng Rénmín Zhèngfǔ wànsuì) แปลว่า "รัฐบาลกลางของประชาชนจงเจริญ" สำหรับพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

แต่ภายหลังพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประขาชนจีนก็ได้เปลี่ยนมาเป็นใช้แบบปัจจุบัน แผ่นป้ายทั้งสองเปลี่ยนมาใช้ภาษาจีนตัวย่อแทนตัวอักษรจีนตัวเต็มในปี ค.ศ. 1960

แท่นอัฒจันทร์ แก้

แท่นอัฒจันทร์ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกและด้านตะวันออกของประตู จะเปิดใช้งานในวันแรงงานสากล (1 พฤษภาคม) และวันชาติ (1 ตุลาคม) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และงานรัฐพิธีอื่น ๆ ของรัฐบาล ที่จัดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

ด้านหน้าของแท่นอัฒจันทร์คือคูเมืองของพระราชวังต้องห้าม ซึ่งปัจจุบันยังคงเต็มไปด้วยน้ำ และมีน้ำพุประดับไฟประดับอยู่

ภาพเหมือน แก้

ประวัติ แก้

เนื่องจากตำแหน่งของประตูเทียนอันอยู่ที่ด้านหน้าของพระราชวังต้องห้าม และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ประตูนี้จึงมีความสำคัญทางการเมืองอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 1925 เมื่อรัฐบาลสาธาณรัฐปกครองจีน ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของซุน ยัตเซ็น ถูกแขวนไว้ที่ประตูหลังจากที่เขาเสียชีวิต

ในปี ค.ศ. 1945 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเจียง ไคเชก ถูกแขวนไว้ที่ประตู เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือญี่ปุ่น

ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของจู เต๋อ และเหมา เจ๋อตง ถูกแขวนเพื่อรำลึกถึงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

นับตั้งแต่วันที่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเหมา เจ๋อตงได้แขวนไว้ที่ประตู และจะเปลี่ยนภาพทุกปีก่อนวันชาติ

มีอยู่เพียง 1 ครั้งเท่านั้นที่นำภาพเหมือนของบุคคลอื่นมาแขวนที่ประตู คือในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1953 เป็นภาพเหมือนของโจเซฟ สตาลิน ถูกแขวนเป็นการชั่วคราวเพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของเขา

ตราแผ่นดิน แก้

เนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประตูเทียนอันเหมินจึงมีการแขวนตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีนไว้ และตัวประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏในตราแผ่นดินสาธาณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย

 
ตราแผ่นดินสาธารณรัฐประชาชนจีน

การเข้าถึง แก้

 
รถโดยสารประจำทางปักกิ่ง สาย 1 กำลังผ่านจัตุรัสเทียนอันเหมิน

ประตูเทียนอันเหมินเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 17.00 น.

รถไฟใต้ดิน แก้

รถประจำทาง แก้

  • รถโดยสารประจำทางปักกิ่ง สาย 1, 2, 5, 52, 82, 120, ท่องเที่ยว 1, ท่องเที่ยว 2, กลางคืน 1, กลางคืน 2 และ กลางคืน 17 จอดใกล้ประตูเทียนอันเหมิน

อ้างอิง แก้