เกล็ดหิมะ หรือ สโนว์เฟลก (อังกฤษ: Snowflake) เป็นศัพท์สแลงเชิงลบต่อบุคคลที่ใช้กันมากในช่วงในคริสต์ทศวรรษที่ 2010 ซึ่งใช้เปรียบเปรยบุคคลที่ทึกทักรู้สึกว่าตนนั้นมีความโดดเด่นสูงกว่าผู้อื่นแต่มากเกินความเป็นจริง หรือ บุคคลที่มีความรู้สึกว่าตนเองพิเศษกว่าผู้อื่นโดยไม่สมเหตุสมผล หรือมีอารมณ์อ่อนไหวมากเกินไป หรือโกรธง่ายจากการถูกสบประมาท และไม่อดทนหรือไม่สามารถจัดการอารมณ์ของตนต่อความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ได้[1]

นัยยะของคำว่า เกล็ดหิมะ (หรือ สโนว์เฟลก) ยังปรากฏในคำเปรียบเปรยอื่น ๆ ได้แก่คำว่า เจเนเรชันเกล็ดหิมะ (เจเนเรชันสโนว์เฟลก - Generation Snowflake) และ เกล็ดหิมะ ที่เป็นศัพท์สแลงทางการเมืองของการสบประมาส

ความเป็นมาและการใช้งาน แก้

เชื่อกันว่า เกล็ดหิมะ (ผลึกหิมะ) ทุกเกล็ดมีโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว[2][3] ไม่ซํ้าแบบ การใช้ศัพท์ "เกล็ดหิมะ" ส่วนใหญ่อ้างอิงถึงคุณสมบัติทางกายภาพของเกล็ดหิมะ เช่น โครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ หรือความเปราะบาง ในขณะที่มีการใช้ส่วนน้อยที่อ้างอิงถึงสีขาวของหิมะ[4][5]

เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ แก้

คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ หรือ เจเนเรชันสโนว์เฟลก หรือ คนรุ่นเกล็ดหิมะ (Generation Snowflake หรือ Snowflake Generation) ได้รับความนิยมจากหนังสือ I Find That Offensive ! ของ แคลร์ ฟ็อกซ์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์การถกเถียงกันที่เกิดขึ้นระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยและคณบดีวิทยาลัย นิโคลัส เอ. คริสทาคิส (Nicholas Christakis) ที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2015 ที่มหาวิทยาลัยเยล[ต้องการอ้างอิง] การเผชิญหน้ากันนี้ได้รับการบันทึกและอัปโหลดในยูทูบ ซึ่งแสดงภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยกำลังโต้เถียงกับคริสทาคิสที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับชุดฮาโลวีน และระดับความเหมาะสมของการเข้ามาแทรกแซงของมหาวิทยาลัยเยลในเรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษา ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นการจัดระเบียบทางวัฒนธรรม ซึ่งฟ็อกซ์อธิบายวิดีโอนี้ว่าเป็นการแสดงภาพของ "การกรีดร้องของกลุ่มนักเรียนผู้ประท้วงในลักษณะการตีโพยตีพาย" (อาการอ่อนไหวของการแสดงอารมณ์ที่มากเกินที่ควรเป็น) และปฏิกิริยาสะท้อนที่มีต่อวิดีโอไวรัลนี้นำไปสู่การตั้งคำนิยามเชิงดูหมิ่นต่อนักเรียนกลุ่มนั้น ว่าเป็น "เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ"[6]

"เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ" เป็นหนึ่งในศัพท์แห่งปีของพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับคอลลินส์ในปีค.ศ. 2016 โดยให้คำจำกัดความของคำนี้ในลักษณะเหมารวมว่า หมายถึง "คนหนุ่มสาวในยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2010 ที่ถูกมองว่ามีความยืดหยุ่นน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ "[7]

คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ หรือ เจเนเรชันสโนว์เฟลก ยังมักเกี่ยวข้องกับนัยยะของการกระตุ้นเตือนและพื้นที่ปลอดภัย (ในบริบทของการค่อนแคะบุคคลที่แสวงหาเซฟโซน การหาที่ปลอดภัยในการหลบเลี่ยงจากสิ่งใด ๆ ) หรือใช้เพื่ออธิบายต่อคนหนุ่มสาวว่านี่เป็นการต่อต้านเสรีภาพในการพูด โดยเฉพาะในแนวปฏิบัติที่เรียกว่า การปิดปาก (Deplatforming)[8][9][10] (เป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการสร้างความยับยั้งชั่งใจ โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ด้วยเป้าหมายในการปิดโอกาสผู้พูดหรือสุนทรพจน์ที่มีการโต้เถียง หรือการปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงสถานที่ที่จะแสดงความคิดเห็น) นอกจากคำนี้ยังเกี่ยวข้องกับนัยยะของการเพิ่มขึ้นปัญหาสุขภาพจิตในหมู่คนหนุ่มสาว [11]

คำสบประมาททางการเมือง แก้

หลังจากผลการลงประชามติสนับสนุนเบร็กซิต (Brexit) ในสหราชอาณาจักร และการเลือกตั้ง ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ มักถูกย่อให้สั้นลงเหลือเพียง "เกล็ดหิมะ" และกลายเป็นคำค่อนแคะทางการเมือง บทความในเดอะการ์เดียนเดือนพฤศจิกายน 2016 ให้ความเห็นว่า "ก่อนหน้านี้ การเรียกใครสักคนว่าเกล็ดหิมะ น่าจะต้องร่วมกับคำว่า เจเนอเรชัน"

เกล็ดหิมะ (Snowflake) เป็นการค่อนแคะทางการเมืองที่โดยทั่วไปใช้โดยผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงขวา เพื่อใช้สบประมาทผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงซ้าย ในบทความจากลอสแอนเจลิสไทมส์ เจสสิก้า รอยกล่าวว่า ออลต์ไรต์ในสหรัฐอเมริกาค่อนแคะคนเสรีนิยมส่วนใหญ่ และรวมผู้ที่ประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าเป็นพวก "เกล็ดหิมะ"[12] บทความในThink Progress ปี 2017 ให้ความเห็นว่า "การค่อนแคะทางการเมืองนี้ขยายวงกว้างออกไปไม่เพียงเฉพาะต่อคนหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มเสรีนิยมทุกรุ่น และกลายเป็นทางเลือกหลักในการที่ฝ่ายขวาจะเรียกใครก็ตามที่ต้องสงสัยว่า โกรธง่ายเกินไป ต้องการเซฟโซนมากเกินไป เปราะบางเกินไป"[13] โจนาธอน กรีน บรรณาธิการของ พจนานุกรมคำแสลงของกรีน ระบุว่าศัพท์ เกล็ดหิมะ เป็นการค่อนแคะที่ผิดปกติในการเรียกเฉพาะคนที่อ่อนแอและเปราะบาง โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดูถูกเพศหญิง (misogynistic) หรืออาการเกลียดกลัวพวกรักเพศเดียวกัน (homophobic)[14]

จอร์จ ทาเคอิ (นักแสดง) ได้ขยายคำอุปมาเพื่อเน้นย้ำถึงพลังของคนพวกเกล็ดหิมะโดยกล่าวว่า "สิ่งที่เกี่ยวกับเกล็ดหิมะ คือ ความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่หากด้วยจำนวนที่มหาศาลกลับกลายเป็นหิมะถล่มที่ไม่สามารถหยุดได้ ซึ่งจะฝังคุณ (พวกฝ่ายขวา) ไว้ใต้นั้น"[14] ในขณะที่คนอื่น ๆ โต้กลับโดยค่อนแคะผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงขวาโดยอ้างว่า "เสียงการกรีดร้องลักษณะนี้ สามารถพบได้ทั่วทุกมุมมองทางการเมือง (ไม่ได้มาจากคนหนุ่มสาว หรือ ผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงซ้ายเพียงทางเดียว)" แต่รวมถึงพบได้จากประธานาธิบดีทรัมป์ด้วย

โอนีล เบรนแนน (นักแสดงตลก) เรียกโดนัลด์ ทรัมป์ว่าเป็น "เกล็ดหิมะที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา"[14] ในขณะที่ความคิดเห็นจาก เดอะการ์เดียน ในเดือนมกราคม 2017 อ้างถึงประธานาธิบดีทรัมป์ว่าเป็น "ประมุขแห่งเกล็ดหิมะ (Snowflake-in-Chief)"[15] และ แวน โจนส์ (ผู้บรรยายของ CNN) เรียกทรัมป์ว่า "ประธานาธิบดีเกล็ดหิมะ" ตามการตอบคำถามของเขาต่อเรื่องการสอบสวนรัสเซียของเอฟบีไอเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017[16]

เชลลี่ แฮสแลม-ออร์เมรอด (Shelly Haslam-Ormerod) อาจารย์ด้านสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี จากมหาวิทยาลัย Edge Hill วิจารณ์การใช้คำนี้อย่างรุนแรง โดยโต้แย้งใน The Conversation ว่าเป็นการหยามเหยียดความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่เยาวชนในปัจจุบันต้องเผชิญในโลกที่ไม่แน่นอน และสังเกตว่าแม้แต่เด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 10 ปีถูกเหมารวมป้ายสีให้เป็น "เกล็ดหิมะ" อย่างไม่เป็นธรรมในบทความแท็บลอยด์ต่าง ๆ [17]

ในคอลัมน์ของมัลคิน (Michelle Malkin) ได้วิพากษ์วิจารณ์ รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เข้าถึงได้ ซึ่งกำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพจากนายจ้าง เพื่อให้ขยายการคุ้มครองไปยังลูกหลานของลูกจ้างที่เป็นผู้ใหญ่แล้วซึ่งมีอายุไม่เกิน 26 ปี โดยอธิบายว่าเป็น "กฎหมายของคนเกียจคร้าน" และเรียกคนหนุ่มสาวเหล่านี้ว่า "เกล็ดหิมะอันล้ำค่า" มัลคินระบุว่ากฎหมายดังกล่าวมี ผลกระทบทางวัฒนธรรม โดยไปลดแรงจูงใจสำหรับคนอายุ 20 ปีกว่า ๆ ที่จะเติบโตขึ้นเอง และแสวงหาชีวิตที่พึ่งพาตนเอง และการดำรงชีวิตด้วยตนเอง"[18]

ศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ "Broflake" ซึ่งมาจาก "bro" (การติดเพื่อนในกลุ่มเยาวชนชาย) และ "snowflake" ซึ่งทั้งคู่เป็นคำสแลงเชิงลบซึ่งเกี่ยวข้องกัน ซึ่งพจนานุกรมฉบับออกซ์ฟอร์ด ให้คำจำกัดความหมายถึง "คนที่ไม่พอใจ หรือ ขุ่นเคืองใจได้ง่ายจากทัศนคติที่ก้าวหน้า ซึ่งขัดแย้งกับมุมมองแบบดั้งเดิมหรือแบบอนุรักษ์นิยมของเขา"[19] นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้กับผู้หญิงในความหมายทั่ว ๆ ไปของผู้ที่อ้างว่าตนไม่โกรธเคืองง่ายแต่แท้จริงแล้วเป็น[20]

การใช้งานอื่น แก้

ในช่วงทศวรรษ 1970 ตามพจนานุกรมคำแสลงฉบับกรีน ศัพท์ เกล็ดหิมะ ถูกใช้เพื่ออธิบายถึง "คนผิวขาวหรือคนดำที่ถูกมองว่าทำตัวเหมือนคนขาวมากเกินไป"[13] ซึ่งมีต้นกำเนิดย้อนไปถึงสมัยการยกเลิกการค้าทาส ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[4][5]

ในที่ทำงาน แก้

ในปี 2560 บริษัทการตลาดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้สร้าง "การทดสอบความเป็นพวกเกล็ดหิมะ" (snowflake test) เพื่อใช้ในกระบวนการจ้างงานเพื่อตัดผู้สมัครงานที่มีแนวโน้มของความอ่อนไหวและความเสรีนิยมที่มากเกินไป ซึ่งเชื่อว่ามักอาจส่งผลให้โกรธเคืองง่ายเกินไป" คำถามในการทดสอบดังกล่าวจำนวนมาก ถูกตั้งมาเพื่อประเมินท่าทีของผู้สมัครที่มีต่อ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำรวจ และอาวุธปืน[21] อย่างไรก็ตาม Cary Cooper (นักจิตวิทยาและนักวิชาการ) จากสถาบันธุรกิจแมนเชสเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ให้ความเห็นว่า การทดสอบนี้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แย่ในการดึงดูดผู้สมัครงานรุ่นเยาว์ที่มีความสามารถ[22][23]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

ในเดือนมีนาคมปี 2017 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ รายการตลกสเก็ตช์ภาพสดของชาวอเมริกัน ออกอากาศเกี่ยวกับ หมาของทรัมป์ (ซึ่งด้วยความช่วยเหลือทางเทคโนโลยี) สามารถพูดตำหนิมนุษย์ที่ต่อต้านทรัมป์ในห้องว่าเป็น "พวกเกล็ดหิมะเสรีนิยม"[24]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. a day “วัยรุ่นยุคใหม่อ่อนไหวราวเกล็ดหิมะ” คำที่ผู้ใหญ่ใช้สบประมาทหนุ่มสาวว่าบอบบางและสนใจแต่ตัวเอง
  2. Allman, William (1984). "No snowflakes alike? Prove it!". The San Diego Union.
  3. Jordan, Gill (10 December 2016). "Your kids aren't unique and neither are snowflakes". CBC News. Archived from the original on 5 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  4. 4.0 4.1 Stone, Brianna (1 February 2017). "Been called a 'snowflake'? The 'it' new insult". USA Today. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  5. 5.0 5.1 "No, 'Snowflake' as a Slang Term Did Not Begin with 'Fight Club'". Merriam-Webster. January 2017. Archived from the original on 6 July 2017. Retrieved 1 July 2017. "Palahniuk was hardly the first person to use the metaphor. It's the stuff of self-help books and inspirational posters and elementary school assurances. The imagery before negation is lovely; we are each unique snowflakes, each worth treasuring because each is uniquely beautiful. Palahniuk's denial of the individual's snowflake status struck a chord."
  6. Fox, Claire (2016). I Find That Offensive!. London: Biteback Publishing. ISBN 978-1-849-54981-3
  7. "Top 10 Collins Words of the Year 2016". Collins English Dictionary. 3 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2017. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  8. "'Stop calling us snowflakes', say millennials" เก็บถาวร 2020-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Day. 1 December 2016. Archived from the original on 14 January 2017. Retrieved 4 April 2017.
  9. Gordon, Bryony (8 April 2016). "I feel sorry for the poor ickle millennials". The Daily Telegraph. London. Archived from the original on 25 March 2017. Retrieved 4 April 2017.
  10. Brooks, Richard (14 November 2016). "In defence of generation snowflake- everyone's favourite punching bag". The Daily Telegraph. London. Archived from the original on 4
  11. Keaveney, Stephanie (19 December 2016). "The 'Snowflake' Generation: Real or Imagined?". The John William Pope Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2016. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  12. Roy, Jessica (16 November 2016). "'Cuck,' 'snowflake,' 'masculinist': A guide to the language of the 'alt-right'". Los Angeles Times. Archived from the original on 14 June 2017. Retrieved 14 June 2017.
  13. 13.0 13.1 Goldstein, Jessica (19 January 2017). "The surprising history of 'snowflake' as a political insult". Think Progress. Archived from the original on 9 August 2017. Retrieved 4 April 2017.
  14. 14.0 14.1 14.2 Peters, Mark (23 February 2017). "Some 'snowflakes' can take the heat". Boston Globe. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  15. Brammer, John Paul (16 January 2017). "America: behold, your Snowflake-in-Chief". The Guardian. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  16. Van Jones: Trump is 'President Snowflake', CNN Video, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017, สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017
  17. Haslam-Ormerod, Shelly (12 January 2019). ‘Snowflake millennial’ label is inaccurate and reverses progress to destigmatise mental health Archived 12 January 2019 at the Wayback Machine, The Conversation.
  18. Malkin, Michelle (16 November 2016). "The Slacker Mandate and the Safety Pin Generation". Townhall. Retrieved 15 December 2016.
  19. broflake เก็บถาวร 2020-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Archived 24 January 2019 at the Wayback Machine Oxford Dictionaries.
  20. Broflake defined Archived 7 March 2019 at the Wayback Machine at BoingBoing.
  21. Chapman, Ben (23 March 2017). "Company introduces 'snowflake test' to weed out 'whiny, entitled' millenial candidates". The Independent. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  22. Cooper, Cary (21 December 2017). "The legitimate concerns of 'snowflake' workers". BBC. Archived from the original on 21 April 2018. Retrieved 11 March 2019. "It's easy to ridicule millennials but while 'snowflake' bashing remains popular it may eventually prove to be a very stupid business move."
  23. Hashmi, Siraj (13 March 2017). "Hilarious SNL skit targets 'liberal snowflakes' through a talking dog [VIDEO]". Red Alert Politics. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.
  24. Tornoe, Rob (13 March 2017). "'Saturday Night Live' goes after liberal snowflakes with Trump-loving dog". Philadelphia Daily News. Archived from the original on 4 April 2017. Retrieved 4 April 2017.