ความหลงตนเอง[1] (อังกฤษ: narcissism ; กลุ่มคนที่มีอาการนี้เรียกว่า นาร์ซิสซิสต์ (narcissist)[2]) คือการแสวงหาความพึงพอใจจากความทะนงตนหรือการยกย่องว่าตนสำคัญกว่าผู้อื่น ความหลงตนเองเป็นแนวคิดของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)ซึ่งถูกแนะนำอย่างแพร่หลายจากเรียงความของซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ที่ชื่อ ออน นาร์ซิสซิซึม (On Narcissism) (1914) โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้จัดรายการหมวดความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองลงใน คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลจากแนวคิดทางประวัติศาสตร์ของอาการเมกะโลเมเนีย (megalomania)[nb 1]

ความหลงตนเองยังถูกยกให้เป็นปัญหาทางด้านสังคมหรือวัฒนธรรม ทั้งใช้เป็นปัจจัยในทฤษฎีลักษณะอุปนิสัย (trait theory) ซึ่งใช้ในการสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบมิลลอน คลินิคัล มัลติแอกเซียล อินเวนทอรี (Millon Clinical Multiaxial Inventory) อีกทั้งเป็นหนึ่งในสามลักษณะบุคลิกภาพด้านมืด (dark triad) (ซึ่งอีกสองอย่างคือ ไซโคพาท และ แมเคียเวลเลียนิซึม) และความหลงตนเองซึ่งยกเว้นการหลงตนเองในระยะเบื้องต้นหรือการรักตัวเอง มักถูกยกให้เป็นปัญหาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม

ลักษณะและสัญญาณ แก้

ชีวิตคือเวทีละคร เมื่อม่านปิดลงในการแสดง นั่นคือการแสดงนั้นสิ้นสุดและจะถูกลืมไป และความว่างเปล่าของชีวิตนั้นมันเกินกว่าจะจินตนาการได้

อะเล็กซานเดอร์ โลเวน อธิบายการดำรงอยู่ของนาร์ซิสซิสต์[6]

ตัวแปรบุคลิกภาพของนาร์ซิสซิสต์แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ ความเป็นผู้นำ/การมีอำนาจ ความเหนือกว่า/ความทะนงตน ความหมกมุ่นอยู่แต่ตนเอง/การยกยอตนเอง และการหาผลประโยชน์/การมีสิทธิ์[7]

7 พฤติกรรมร้ายแรงของความหลงตนเอง แก้

จิตแพทย์แฮตช์คิสส์และเจมส์ เอฟ. มาสเตอร์สัน ระบุสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า 7 พฤติกรรมร้ายแรงของความหลงตนเอง ไว้ดังต่อไปนี้[8]

  1. ความไม่ละอาย (Shamelessness): นาร์ซิสซิสมักภูมิใจในความไม่ละอายอย่างเปิดเผย คือ พวกเขาไม่ผูกอารมณ์ไปกับความต้องการและความปราถนาของผู้อื่น นาร์ซิสซิสต์เกลียดความอับอายขายหน้า เพราะมันหมายถึงพวกเขาไม่สมบูรณ์แบบและต้องเปลี่ยนแปลง นาร์ซิสซิสต์ชอบความรู้สึกผิดมากกว่าความอับอาย เพราะความรู้สึกผิดสามารถทำให้พวกเขาแยกระหว่างการกระทำกับเจตนาออกจากกันได้ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้การกระทำอาจจะผิด แต่ทำไปเพราะมีเจตนาที่ดี
  2. ความคิดเชิงไสยศาสตร์ (Magical thinking): นาซิสซิสต์เห็นตนเองเป็นคนที่สมบูรณ์แบบโดยใช้การบิดเบือนและสร้างสิ่งลวงตาที่เรียกว่าความคิดเชิงไสยศาสตร์ อีกทั้งพวกเขายังใช้ในการป้องกันตนเพื่อ "โยน" ความอับอายขายหน้าไปสู่ผู้อื่น
  3. ความทะนงตน (Arrogance): นาร์ซิสซิสต์ที่รู้สึกว่ากำลังสูญเสียความสำคัญ อาจ "เพิ่มความมั่นใจในความคิดที่ว่าตนเองสำคัญ" โดยการกดผู้อื่นให้ต่ำลง ลดคุณค่าของผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นอับอายขายหน้า
  4. ความอิจฉาริษยา (Envy): นาร์ซิสซิสต์อาจคงไว้ซึ่งความคิดที่ว่าตนเหนือกว่าผู้อื่นโดยการดูถูกเหยียดหยามหรือดูถูกความสำเสร็จของผู้อื่น
  5. การมีสิทธิ์ (Entitlement): นาซิสซิสต์ยึดถือความคาดหวังซึ่งไม่สมเหตุสมที่ว่าผู้อื่นจะปฏิบัติตัวเป็นอย่างดีกับพวกเขาและเชื่อฟังทุกสิ่งอย่าง เพราะพวกเขาคิดว่าพวกเขานั้นพิเศษ ซึ่งถ้าหากใครไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกตอกกลับด้วยความเหนือกว่าของพวกเขาและจะถือว่าเป็นบุคคล "ที่สร้างปัญหา" หรือ "หัวแข็ง" อีกทั้งการต่อต้านจะเป็นการทำให้พวกเขาเสียความมั่นใจ อันก่อให้เกิดบาดแผลจากความหลงตนเอง (narcissistic injury) จนกลายเป็นความคลั่งจากความหลงตนเอง (narcissistic rage) ในที่สุด
  6. การหาผลประโยชน์ (Exploitation): สามารถมาได้ในหลายรูปแบบ แต่มักจะเกี่ยวข้องกับการหาผลประโยชน์จากผู้อื่นโดยที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกหรือความสนใจของคนเหล่านั้น ซึ่งผู้นั้นมักตกอยู่ในตำแหน่งที่ต้องยอมจำนนเนื่องมาจากเป็นการยากที่จะต่อต้าน ทำให้ในบางครั้งผู้จำนนต้องยอมเพียงแค่การแสร้งทำ การหาผลประโยชน์นี้อาจทำให้ความสัมพันธ์ไม่ยืนยาวและจบไปอย่างรวดเร็ว
  7. การไม่รู้ขอบเขตการปฏิบัติตน (Bad boundaries): นาร์ซิสซิสต์ไม่รู้ถึงขอบเขตในการกระทำของตน ทำให้ผู้อื่นตีตัวออกห่างและไม่ปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา ใครก็ตามที่สนองความหลงตนเอง (narcissistic supply) แก่นาร์ซิสซิสต์จะถูกปฏิบัติตนเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของพวกเขาและถูกคาดหวังให้เป็นไปตามความคาดหวังของพวกเขา ภายในจิตใจของนาร์ซิสซิสนั้นไม่มีขอบเขตการปฏิบัติตัวระหว่างตนเองและผู้อื่น

การสนองความหลงตนเอง แก้

การสนองความหลงตนเอง (narcissistic supply) เป็นแนวคิดหนึ่งที่ถูกเสนอในทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดยออตโต เฟนิเชล ในปี ค.ศ. 1938 ซึ่งอธิบายถึงลักษณะความชื่นชมยินดี การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือการดำรงชีพไว้โดยบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมและจำเป็นต่อความภาคภูมิใจในตนเอง[9] โดยทั่วไปแล้วคำนี้มักใช้ในแง่ลบในการอธิบายบุคคลที่ควบคุมพฤติกรรมตนเองไม่ได้จนก่อให้เกิดความต้องการความสนใจหรือความชื่นชมยินดีที่ขึ้นกับผู้อื่นมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึก ความคิดเห็น หรือความชอบของผู้อื่นเลย[10]

บาดแผลและความคลั่งจากความหลงตนเอง แก้

ความคลั่งจากความหลงตนเอง (narcissistic rage) เป็นปฏิกิรินาที่เกิดจากบาดแผลความหลงตนเอง (narcissistic injury) ซึ่งเป็นการคุกคามความภาคภูมิใจในตนเองหรือการมีคุณค่าของตนเองที่นาร์ซิสซิสต์สามารถรับรู้ได้ โดยคำว่า บาดแผลความหลงตนเอง and แผลเป็นความหลงตนเอง เป็นคำที่ถูกใช้โดยซีคมุนท์ ฟร็อยท์ในปี ค.ศ. 1920s[11]

ส่วนคำว่า ความคลั่งจากความหลงตนเอง ถูกคิดขึ้นมาโดยไฮนซ์ โคฮุตในปี ค.ศ. 1972 โดยบอกว่าความคลั่งจากความหลงตนเองจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นั้นแสดงออกถึงความไม่เป็นมิตรอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการแสดงออกถึงความรำคาญอย่างชัดเจน เป็นการระเบิดอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง และรวมไปถึงการใช้ความรุนแรงอีกด้วย[12]

ปฎิกิริยาความคลั่งจากคความหลงตนเองไม่จำกัดอยู่แค่ในความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ยังปรากฏอยู่ในคาตาโทเนีย โรคหลงผิด และภาวะซึมเศร้า[12] มีการเสนอว่านาร์ซิสซิสต์มีความคลั่งอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับแรกเป็นความคิดโกรธที่แน่วแน่ต่อผู้อื่น และระดับที่สองเป็นความโกรธแค้นตัวเอง[13]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. เมกะโลเมเนีย (megalomania) คือ ความปรารถนาอันแรงกล้าที่ผิดธรรมชาติเพื่อต้องการอำนาจและการควบคุม หรือความเชื่อที่ว่าบุคคลมีความสำคัญและอำนาจมากกว่าความเป็นจริง โดยในบางครั้งอาจเป็นอาการป่วยทางจิต[3][4] ซึ่ง สวทช. ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจหรือมีความสำคัญ"[5]

อ้างอิง แก้

  1. "Thai Word Repository คลังศัพท์ไทย โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สืบค้นคำว่า narcissism)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-13.
  2. Cambridge English Dictionary (สืบค้นคำว่า narcissist)
  3. Cambridge English Dictionary (สืบค้นคำว่า megalomania)
  4. Collins English Dictionary (สืบค้นคำว่า megalomania)
  5. "Thai Word Repository คลังศัพท์ไทย โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สืบค้นคำว่า megalomania)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-13.
  6. Lowen, Alexander (1997) [1983]. Narcissism: Denial of the True Self. New York, NY: Touchstone. p. 45.
  7. Horton, R. S.; Bleau, G.; Drwecki, B. (2006). "Parenting Narcissus: What Are the Links Between Parenting and Narcissism?" (PDF). Journal of Personality. 74 (2): 345–76. CiteSeerX 10.1.1.526.7237. doi:10.1111/j.1467-6494.2005.00378.x. PMID 16529580. See p. 347.
  8. Hotchkiss, Sandy & Masterson, James F. Why Is It Always About You?: The Seven Deadly Sins of Narcissism (2003)
  9. Fenichel, Otto (1938). "The Drive to Amass Wealth" (PDF). They Psychoanalytic Quarterly. 7 (1): 69–95. doi:10.1080/21674086.1938.11925342. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-02. สืบค้นเมื่อ 2019-12-04.
  10. "StackPath". www.healthyplace.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  11. Salman Akhtar, Comprehensive Dictionary of Psychoanalysis (London 2009) p. 182
  12. 12.0 12.1 Carl P. Malmquist (2006). Homicide: A Psychiatric Perspective. American Psychiatric Publishing, Inc. pp. 181–82. ISBN 978-1-58562-204-7.
  13. Vaknin, Sam, Malignant Self Love: Narcissism Revisited (1999).