ฮีโรส์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)

ฮีโรส์ (อังกฤษ: Heroes) เป็นรายการซีรีส์อเมริกันที่แต่งขึ้นในแนววิทยาศาสตร์ ดรามา สร้างโดย ทิม คริง เริ่มออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ทางช่องเอ็นบีซี ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งกล่าวถึงกลุ่มคนที่มีพลังความสามารถพิเศษเหนือคนอื่นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งพัฒนาความสามารถเหนือมนุษย์ของตัวเองอย่างอธิบายไม่ได้ และแสดงบทบาทของตัวเองเพื่อปกป้องจากหายนะและช่วยหมู่มวลมนุษยชาติ ซีรีส์เรื่องนี้มีลักษณะการเล่าเรื่องแบบการ์ตูนอเมริกัน ใช้เรื่องสั้นหลายตอนปะติดปะต่อจนเป็นเรื่องราวเดียวกัน[2] ซีรีส์ผลิตโดยยูนิเวอร์ซัลมีเดียสตูดิโอส์ร่วมกับเทลวินด์โปรดักชันส์[3] มีสถานที่ถ่ายทำหลักในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[4] ผู้อำนวยการสร้างคือ อัลลัน อาร์คุช, เดนนิส แฮมเมอร์, เกร็ก บีแมน และ ทิม คริง

ฮีโรส์
โลโก้ของละครชุด ฮีโรส์
สร้างโดยทิม คริง
แสดงนำไมโล เวนทิมิกเลีย
เอเดรียน พาสดาร์
แฮเดน พาเนทเทียร์
แจ็ค โคล์แมน
เซนด์ฮิล รามามูร์ธิ
ซานติเอโก คาเบรรา
เจมส์ ไคสัน ลี
มาซิ โอกะ
เดวิด แอนเดอร์ส
เกรก กรันเบอร์ก
ลีโอนาร์ด โรเบิร์ทส
อาลิ ลาร์เทอร์
โนอาฮ์ เกรย์-คาเบย์
แดนา แดวิส
ดาเนีย รามิเรซ
คริสเตน เบลล์
แซกคารี ควินโต
ประเทศแหล่งกำเนิดสหรัฐอเมริกา
ภาษาต้นฉบับอังกฤษ
จำนวนฤดูกาล5
จำนวนตอน53
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างทิม คริง
เดนนิส แฮมเมอร์
อลัน อาร์คัช
เกรก บีแมน
ความยาวตอน42 นาที
ออกอากาศ
ออกอากาศ25 กันยายน 2549 (2549-09-25) –
8 กุมภาพันธ์ 2553 (2553-02-08)

ในฤดูกาลแรกของ ฮีโรส์ ออกฉายด้วยจำนวน 23 ตอนมีผู้ชมเฉลี่ย 14.3 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกา ยังสามารถครองอันดับเรตติ้งสูงสุดในรอบ 5 ปีของละครดราม่า ทางช่องเอ็นบีซี [5][6][3] ในฤดูกาลที่ 2 มีผู้ชมเฉลี่ย 13.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา[7] ในฤดูกาลที่ 2 นี้ยังติดอันดับ 1 ของซีรีส์ทางช่องเอ็นบีซีในกลุ่มอายุ 18-49 ปี[7] และยังติดอันดับ 1 ของรายการซีรีส์ในวันจันทร์ในทุกสถานีจากกลุ่มผู้ชมอายุ 18–49 ปี[7] และยังติดอันดับ 1 รายการซีรีส์แบบมีบทในทุกเครือข่ายสถานีในกลุ่มอายุ 18-34 ปี[7] นอกจากนี้ในฤดูกาลที่ 2 ยังเป็นรายการเดียวของทางเอ็นบีซีที่ติดอันดับ 20 อันดับแรกของรายการในทุกกลุ่มผู้ชมสำหรับซีรีส์ปี 2007-2008 จากการสำรวจของนีลเซนมีเดียรีเสิร์ช[8] มีการเตรียมการว่าจะฉายฤดูกาลที่ 2 เป็นจำนวน 24 ตอน[9] แต่ออกฉายจริงเพียง 11 ตอนเท่านี้น[10] เนื่องจากการประท้วง 100 วันของสมาคมนักเขียนแห่งอเมริกา[11][12] ความคัดแย้งนี้เองนำไปสู่การเลื่อนฉายจนในที่สุดก็ยกเลิกการฉาย 6 ตอน ที่มีชื่อตอนว่า Heroes: Origins[13] ฮีโรส์ กลับมาฉายอีกครั้งในฤดูกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2008[7][13] และในปี 2015-2016 ได้มีมินิซี่รี่ส์ภาคต่อจากฮีโรส์คือ ฮีโรส์ รีบอร์น (Heroes : Reborn) โดยการนำเอาตัวละครใหม่มาเป็นตัวหลัก และตัวละครเก่ามาเป็นตัวเสริมโดยจะเล่าหลังเหตุการณ์ที่พวกปีเตอร์ขัดขวางแผนการของซัลลิแวน โดยมีจำนวน 13 ตอน และได้มีการปล่อยมินิซีรีส์ใหม่เรื่อง Heroes Reborn : dark matter เป็นช่วงก่อนเหตุการณ์ในภาครีบอร์นโดยมีตัวละครหลักคือ เควนติน และ ฟีบี้ ว่าก่อนที่ฟีบี้จะเข้าด้านมืดมันเกิดอะไรขึ้น ตอนพิเศษอีกหนึ่งตอนคือ Damen peak โดยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ลุค กับ โจแอน โดยไม่มีการสร้างซีซั่นสองต่อ

เรื่องย่อ แก้

ฤดูกาลที่ 1 แก้

บทที่ 1: "Genesis" แก้

ในฤดูกาลแรกมีอยู่ 23 ตอนที่ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.00 น. ในสหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2006 ในฤดูกาลนี้เป็นบทที่มีชื่อเรียกว่า "Genesis" (แปลว่า ต้นกำเนิด) โดยมีการชะงักการฉาย 2 ครั้งคือจากวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ถึง 22 มกราคม ค.ศ. 2007,[14] และอีกครั้งจากวันที่ 5 มีนาคม ถึง 23 เมษายน ค.ศ. 2007[15] จนฉายจบในฤดูกาลแรกเมื่อ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[16]

ในบทนี้ได้กล่าวถึงการค้นพบพลังพิเศษเฉพาะในแต่ละบุคคล ซึ่งได้อธิบายการได้มาและการใช้พลังพิเศษของแต่ละบุคคล การเกิดเหตุการณ์ต่างในที่แสดงออกในรูปแบบภาพเขียนถึงพลังพวกเขา และการค้นพบที่ส่งผลต่อชีวิตพวกเขา ในขณะเดียวกันก็มีบางคนที่ค้นหาความจริงถึงการเกิดขึ้นและขอบเขตของพลังความสามารถของตน โดยที่เนื่อเรื่องเริ่มจากที่ศาสตราจารย์เซอร์เรช นักพันธุกรรมศาสตร์ได้พยายามสืบหาร่องรอยการเสียชีวิตของพ่อของเขาจากการฆาตกรรมอันลึกลับซึ่งนั่นเองคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ศาสตราจารย์เซอร์เรชได้เข้ามาพัวพันกับกลุ่มคนที่มีพลังพิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไป

ขณะที่โนอาห์ เบนเนท ที่อยู่ในองค์กรลับที่เรียกว่า "เดอะคอมปานี" ที่ตามล่าพวกที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งก็มีบางคนได้เข้ามาสู่องค์กรทั้งยินยอมและไม่ยินยอม เพื่อควบคุมพวกเหนือมนุษย์นี้ และแข่งกับเวลาที่จะหยุดการทำลายล้างของนิวยอร์กซิตี

ฤดูกาลที่ 2 แก้

บทที่ 2: "Generations" แก้

ในฤดูกาลที่ 2 มีอยู่ 13 ตอน จากที่เคยวางแผนว่าจะออกฉาย 24 ตอน โดยเริ่มออกอากาศในคืนวันจันทร์เวลา 21.00 น. ในสหรัฐอเมริกา เริ่มเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 อีก 11 ตอนไม่ได้ออกอากาศเพราะการประท้วงของกลุ่มนักเขียน[17] ในฤดูกาลที่สองประกอบด้วย 2 ส่วนของภาค 2 ของซีรีส์ที่ชื่อว่า "Generations"[18] โดยตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 2 ออกฉายเมื่อ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2007[19] ภาค 2 เริ่มต้นที่เหตุการณ์ที่เคอร์บี้ พลาซ่า 4 เดือน โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับผู้มีความสามารถพิเศษได้เข้ามาข้องเกี่ยวกับเดอะคอมปานีและการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสชานติ ผลของการวิจัยนี้ค้นพบโดยผู้ร่วมก่อตั้งเดอะคอมปานีที่ได้ล่วงรู้ความสามารถพิเศษของแต่ละคน และยังรู้ผลของสายพันธุ์ไวรัส กลุ่มฮีโร่นี้ได้พยายามร่วมกันที่จะหยุดการแพร่กระจายของไวรัสและความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ในฤดูกาลที่ 2 เดิมทีจะมี 3 ภาคในนั้น แต่เนื่องจากการประท้วงของกลุ่มนักเขียนจึงทำให้ปรับเปลี่ยนเหลือแค่ภาคเดียวที่ชื่อว่า "Generations"[20] ภาค 3 จะเรียกว่า "Exodus"[21] และภาค 4 จะเรียกว่า "Villains" และจากผลจากการประท้วงทำให้ภาค 3 เปลี่ยนไปเป็น "Villains" แทนและย้ายไปอยู่ในฤดูกาลที่ 3[7] โดยในภาค "Exodus" จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบหลังการแพร่สเตรน 135 ของไวรัสแชนติ แต่ก็ยกเลิกไป ฉากสุดท้ายของภาค 2 คือตอน "Powerless" ที่ถ่ายทำใหม่เพื่อบ่งบอกการยกเลิกของภาค "Exodus" และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงเรื่องของ "Generations"[22][23]

ฤดูกาลที่ 3 แก้

บทที่ 3: "Villains" แก้

ไซลาร์ได้ถูกไวรัสของชานติยับยั้งความสามารถไว้ แต่พลังของเขาก็กลับคืนมาเช่นเดิมหลังจากที่ใช้ยารักษาของศาสตราจารย์เซอร์เรช[24]

ในฤดูกาลที่ 3 ออกอากาศครั้งแรกด้วยจำนวน 2 ตอนรวด ออกอากาศวันจันทร์ที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา[25] ตอนปฐมทัศน์บทที่ 3 ที่ชื่อว่า "Villains" (ตัวร้าย) โดยเริ่มออกอากาศภาพบนพรมแดงก่อน 1 ชั่วโมง และคลิปตอนเก่า ๆ รวมถึงภาพบางส่วนของตอนที่จะฉายในฤดูกาล และบทสัมภาษณ์ทั้งนักแสดงและทีมงาน บทที่ 3 เริ่มต้นด้วยการพยายามลอบสังหารเนธาน เพเทรลลี่ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ตัวร้ายหลายตัวก็หลุดออกมาจากที่กักขังของเลเวล 5 และเดอะคอมปานีพยายามหาหนทางที่จะตามจับพวกที่หลุดหนีกลับมา อาเธอร์ เพเทรลลี่ฟื้นมาจากอาการโคม่า จากพลังความสามารถของอดัม มอนโร และในที่สุดตัวร้ายก็เพิ่มขึ้น (ฟลินธ์ กอร์ดอน จูเนียร์, น็อกซ์ และแดฟเน่ มิลบรู๊ก) ขณะที่ก็ยังหลอกล่อโมฮินเดอร์ ซูเรช, เนธาน, เทรซี สเตราส์, แอลล์ บิช็อป และไซลาร์ ให้เป็นพวก โดยจุดหมายของพวกเขาคือการสร้างสูตรให้คนสามารถมีความสามารถพิเศษ แต่หลังจากความล้มเหลวหลายครั้ง พวกเขาก็พบว่าต้องมีตัวเร่ง ซึ่งก็คือแคลร์ ซึ่งแคลร์และฮิโระย้อนเวลากลับไปในอดีต ที่เขาได้รับตัวเร่งจากแม่ของเขา แต่หลังจากนั้นไม่นานอาร์เธอร์ก็ตามมาและเอาตัวเร่งไปได้ หลังจากนั้นปีเตอร์ เพเทรลลี่ ชาวไฮเทียน ได้ประชันหน้ากับอาร์เธอร์ที่ไพน์เฮิร์สต และต่อสู้กัน แต่ท้ายสุดอาร์เธอร์ก็ถูกยิงโดยกระสุนของปีเตอร์ผ่านพลังของไซลา ซึ่งได้บอกกับเขาว่าคนที่ฆ่าเป็นเขาไม่ใช่ปีเตอร์ ปีเตอร์ดีดตัวออกมาพร้อมกับเนธานที่หลังเกิดเพลิงไหม้ในตึก โดยเนธานเป็นฝั่งพ่อของเขา อันโดะได้มีความสามารถพิเศษขึ้นมา (ได้ช่วยฮิโระจากในอดีตโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลังซุเปอร์ความเร็วของแด็ปเน่) แคลร์ ,โนอาร์ เบนเน็ตต์ และแองเจลา เพเทรลลี่ต่อสู้กับไซลาร์ที่ไพรมาเทค ซึ่งที่นั่นพลังของเมเรดิธได้ประทุเกินควบคุมจนทำให้เผาไหม้อาคารเป็นหน้ากอง โดยไซลาร์สันนิษฐานว่าตายแล้ว

บท "Villains" เดิมทีจะอยู่ในฤดูกาลที่ 2 แต่เนื่องจากการประท้วงของนักเขียนบท ทำให้บทนี้อยู่ในฤดูกาลที่ 3 แทน โดยที่ซานดิเอโกคอมิก-คอน 2008 คริงได้นำส่วนแรกของฤดูกาลที่ 3 นี้นำมาฉายครั้งแรก กับตอน "Villains" ที่ชื่อ "The Second Coming" ที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากแฟน ๆ[26] แต่ถึงแม้ว่าในทั้งสองฤดูกาลแรกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ใน "Villains" ความนิยมเรื่องเรตติ้งก็ลดลง รวมถึงเสียงตอบรับด้านบวกก็น้อยลงไปด้วย[27]

บทที่ 4: "Fugitives" แก้

ในบทที่ 4 นี้เริ่มต้นด้วยการที่เนธาน เพเทรลลี รายงานต่อประธานาธิบดี ว่าผู้มีพลังนั้นเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ และขอไห้มีคำสั่งควบคุมตัวพวกเขา ซึ่งประธานาธิบดีเห็นด้วย เป็นผลทำไห้เหล่าผู้มีพลังต้องออกต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพวกเขาเอง

ฤดูกาลที่ 4 แก้

บทที่ 5: "Redemtion" แก้

ในบทที่ 5 เรื่องเริ่มต้นที่กลุ่มของ แซมมวล ซัลลิแวน ผู้นำของเหล่าพวกมีพลังพิเศษอีกกลุ่มหนึ่งมีฉากหน้าเป็นเจ้าของงานสวนสนุกตระเวนโชว์รอบประเทศมีเป้าหมายคือต้องการรวบรวมคนที่มีพลังพิเศษมาไว้ในที่เดียวกัน โดยที่เจ้าตัวมีเป้าหมายที่จะทำให้เหล่าผู้ที่มีพลังมีที่อยู่อาศัยไม่ต้องหลบซ่อนจากผู้คน สัญลักษณ์ของกลุ่ม แซมมวล คือ เข็มทิศ ที่ถ้าอยู่กับคนธรรมดาจะไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าอยู่กับคนที่มีพลังพิเศษเข็มจะหมุนไปหาที่ตั้งสวนสนุกของแซมมวลเสมอ

ด้าน เนธาน เพเทรลลี่ ซึ่งตายจากภาคที่แล้ว แต่ แองเจล่า โนอาฮ์ และ แมท ได้จับตัว ไซล่าร์ และเปลี่ยนความทรงจำ ให้คิดว่าตนเป็น เนธาน เกิดความสับสนในตัวเองเพราะอาจเป็นเพราะพลังที่แมทสะกดไว้เสื่อมลง จึงต้องสืบว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตน

ด้าน ไซล่าร์ กลายเป็นจิตใต้สำนึกอยู่ในหัวของ แมท ต้องการร่างกายของตนคืนจึงพยายามก่อกวน แมท เพื่อหาร่างของตน หลังจากที่ได้ร่างของตนกลับมา ไซล่าร์ เริ่มสับสนตัวเองว่าจะฆ่าผู้ที่พลังพิเศษไปทำไมจึงต้องที่หยุดตัวเองอีกครั้งโดยให้ แมท สะกดจิต แต่ แมท ได้ขัง ไซล่าร์ ให้อยู่ในฝันร้ายตลอดกาล จนกระทั่ง ปีเตอร์มาช่วยจึงสามารถหลุดออกจากฝันร้ายนี้ได้

ในตอนท้ายของบทที่ 5 แผนการของ แซมมวล ถูกขัดขวาง โดย พวกของปีเตอร์ทำให้ แซมมวลถูกจับในที่สุด ส่วนแคลร์ ได้รับความจริงต่างๆจาก โนอาห์ เลยตัดสินทำบางอย่างโดยการเปิดเผยความสามารถของตนให้สื่อมวลชนดู และเป็นของการเริ่มต้น บทที่ 6: Brave new world

ฮีโรส์ รีบอร์น แก้

บทที่ : 6 "brave new world" แก้

มินิซี่รี่ส์ภาคต่อจากฮีโรส์

ตัวละคร แก้

  • ปีเตอร์ เพเทรลลี่ (ไมโล เวนทิมิกเลีย) (ภาค 1-5) ตัวละครเอกของเรื่อง มีความสามารถในการดูดซับความสามารถของผู้อื่น ที่เขาอยู่ใกล้หรือเคยเห็นความสามารถนั้นๆ ภายหลังจากการสู้กับ พ่อของตน (อาร์เธอร์ เพเทรลลี่) ทำให้มีความสามารถเหมือนพ่อตน โดยปีเตอร์มีอาชีพหลักคือเป็นบุรุษพยาบาล
  • เนธาน เพเทรลลี่ (เอเดรียน พาสดาร์) (ภาค 1-5) พี่ชายของปีเตอร์, พ่อของแคลร์ มีความสามารถในการเหาะเหิน ภายหลังถูก ไซล่าร์ ฆ่าตายแต่ แมท ใส่ความคิดของตนในร่าง ไซล่าร์
  • แองเจล่า เพเทรลี่ (คริสทีน โรส) (ภาค 1-6) แม่ของนาธานและปีเตอร์ มีความสามารถในการนิมิตฝันเห็นอนาคต และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง คอมพานี ในภาค6 แองเจลล่ารู้ว่าทอมมี่มีเชื้อแบบเดียวกับสามีของ(อาร์เธอร์ เพเทรลลี่)
  • แคลร์ เบนเนท (แฮเดน พาเนทเทียร์) (ภาค 1-6) เชียร์ลีดเดอร์ของโรงเรียนไฮสคูลที่โอเดสซา เท็กซัส เป็นลูกเลี้ยงของโนอาฮ์ เบนเนท, ลูกสาวของเนธาน เพเทรลลี่ มีความสามารถในการสร้าง เซลล์ใหม่ และภายหลังมีพลังเป็นอมตะคล้าย อดัม และไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ในภาค6 แคลร์ได้คลอดเด็กแฝดสองคนนั่นก็คือทอมมี่และมาลิน่าแต่พอแคลร์คลอดเสร็จแคลร์ได้เสียชีวิตลง เนื่องจากทอมมี่ที่มีเชื่อมาจากตาของเขา(อาร์เธอร์ เพเทรลี่) เลยทำให้พลังของแคร์ถูกลบไป
  • โนอาฮ์ เบนเนท (แจ็ค โคล์แมน) (ภาค 1-5) พ่อบุญธรรมของแคลร์ เป็นนักล่าผู้มีพลังพิเศษ ภายหลังได้หย่ากับ ภรรยา ของตน (ซานดร้า)
  • โมฮินเดอร์ ซูร์เรช (เซนด์ฮิล รามามูร์ธิ) (ภาค 1-5) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ได้เดินทางจากอินเดียมาที่นิวยอร์ก เพื่อมาสืบหาสาเหตุของการเสียชีวิตของพ่อเขา ในเลือดของเขามีสารที่สามารถต่อต้านไวรัส ที่ผู้มีความสามารถกำลังติดเชื้อไวรัสนั้นอยู่ ภายหลังได้ฉีดวัคซีนที่ตนทดลองทำให้มีพลังเหนือมนุษย์ คล้ายกับ นิกิ
  • ไอแซค เมนเดซ (ซานติเอโก คาเบรรา) (ภาค 1) จิตรกรผู้มีความสามารถในการวาดภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง 9th Wonders!
  • อันโด มาซาฮาชิ (เจมส์ ไคสัน ลี) (ภาค 1-5) เป็นเพื่อนสนิทของฮิโระ นาคามูระ ในภาค 3 ตนได้ฉีดวัคซีนที่ โมฮินเดอร์ สร้างขึ้นทำให้ตนมีความสามารถในการเร่งพลังพิเศษให้คนอื่น และสามารถปล่อยคลื่นแสงสร้างความเสียหายได้
  • ฮิโระ นาคามูระ (มาซิ โอกะ) (ภาค 1-6) โปรแกรมเมอร์ที่โอซากา ญี่ปุ่น มีความสามารถในการควบคุมกาลเวลา ในภาค 4 ตนมีเนื้องอกในสมองทำให้ควบคุมเวลาคลาดเคลื่อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตตน
  • อดัม มอนโร/ทาเคโซ เคนไซ (เดวิด แอนเดอร์ส) (ภาค 2-3) ชาวอังกฤษผู้สร้างตำนานแห่งนักรบเคนไซในญี่ปุ่น มีความสามารถในสร้างเซลล์ใหม่ เช่นเดียวกันกับแคลร์ และได้มีการพัฒนาศักยภาพของความสามารถ จนมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง คอมพานี
  • แมทท์ พาร์คแมน (เกรก กรันเบอร์ก) (ภาค 1-5) ตำรวจ นครลอสแอนเจลิส ผู้มีความสามารถในการอ่านจิตใจของผู้อื่น และได้มีการพัฒนาศักยภาพของความสามารถ จนสามารถควบคุมความคิดของผู้อื่นได้ ภายหลังมีลูกชาย ชื่อ แมทธิว (เกิดกับ เจนิส) มีความสามารถในการเปิด-ปิดพลังผู้อื่น และควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า คล้ายกับ ไมก้า
  • ดี.แอล. ฮอว์คินส์ (ลีโอนาร์ด โรเบิร์ทส) (ภาค 1-2) สามีของนิกิ, พ่อของไมคาฮ์ มีความสามารถในการทะลุผ่านสิ่งกีดขวาง
  • นิกกิ้ แซนเดอร์ส (อาลิ ลาร์เทอร์) (ภาค 1-3) นางโชว์ทางอินเทอร์เน็ต,ฝาแฝดเจสสิก้า มีความสามารถในการเปลี่ยนจิตให้เป็นอีกคน(ซึ่งก้คือเจสสิก้านั่นเอง) ภายหลังเสียชีวิตเพราะไปช่วยโมนิกาจากอาคารที่ถูกระเบิด
  • เทรซี่ สเตราส์ (อาลิ ลาร์เทอร์) (ภาค 3-5) แฝดของนิกิ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์ของ คอมพานี มี 3 คนคือ นิกกิ้,เทรซี่ และ เจสสิก้า มีความสามารถในการแช่แข็งของที่ตนสัมผัส ภายหลังพัฒนาความสามารถของตนทำให้ตนมีร่างกายเป็นน้ำ
  • ไมคาฮ์ แซนเดอร์ส (โนอาฮ์ เกรย์-คาเบย์) (ภาค 1-4) เด็กอัจฉริยะ ผู้มีความสามารถในการสื่อสารและควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายหลังใช้ชื่อตนว่า รีเบล ต้องการที่จะปลดปล่อย ผู้ที่มีพลังพิเศษ จากแผนการในภาคที่ 4
  • โมนิกา ดอว์สัน (แดนา แดวิส) (ภาค 2) หลานสาวของดี.แอล. มีความสามารถในการเลียนแบบพฤติกรรมที่เธอเคยเห็น
  • มายา เฮอเรอรา (ดาเนีย รามิเรซ) (ภาค 2-3) มีความสามารถในการแพร่กระจายพิษ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เวลาที่เธอร้องไห้ ภายหลังถูกลบความสามารถจาก อาร์เธอร์ พ่อของเนธานและปีเตอร์
  • อเดจานโดร เฮอเรอรา (ภาค 2) คู่แฝดของมายา มีความสามารถในการรักษาพิษที่มายาปล่อยออกไป ภายหลังถูกไซล่าร์ ฆ่าตาย
  • เอลล์ บิชอป (คริสเตน เบลล์) (ภาค 2-4) ลูกสาวของบ็อบ หนึ่งใน the company มีความสามารถในการปล่อยพลังงานไฟฟ้า ภายหลังถูกไซล่าร์ ฆ่าตาย
  • ไซลาร์ (แซกคารี ควินโต) (ภาค 1-5) ตัวร้ายของเรื่อง ชื่อจริง คือ เกเบรล เกรย์ เป็นนักซ่อมนาฬิกา มีความสามารถในการรู้ถึงการทำงานของสิ่งต่างๆสามารถใช้พลังของผู้อื่นโดยการฆ่าผู้อื่นแล้วเปิดกะโหลกแล้วอ่านจากสมอง ชื่อ“ไซลาร์”นั้นมาจาก ยี่ห้อของนาฬิกาที่เกเบรลกำลังซ่อมอยู่

การสร้าง แก้

แนวความคิด แก้

ฮีโรส์ เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ในช่วงทำตอนทดลองในปี 2006 เมื่อทิม คริง ที่ตอนนั้นเป็นผู้สร้าง Crossing Jordan ทางเอ็นบีซีได้เกิดแนวความคิดโดยเขาต้องการสร้างโชว์ที่เป็น "การรวมกันของกลุ่มคนผู้กล้าหาญ" โดยได้เชื่อมโยงกับคนดู เขาเริ่มคิดเกี่ยวกับความใหญ่โต ความหวาดกลัว และความสลับซับซ้อน ที่เขารู้สึกกับโลกปัจจุบัน และต้องการสร้างตัวละครที่จะผลักดันให้คนที่สามารถทำอะไรบางอย่างได้ คริงรู้สึกว่าซีรีส์ประเภทที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร แพทย์ และ ประเภทซีรีส์อย่าง Lost ยังไม่ใหญ่พอที่จะช่วยเหลือโลก เขาผุดแนวคิดเกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ ที่ค้นพบความสามารถพิเศษของตัวเองขณะที่ยังคงเชื่อโยงกับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่ ไมโล เวนติมิเลีย อธิบายตอนทดลองของเรื่องว่า "มีตัวละครดราม่าในชีวิตประจำวันที่มีความเป็นเรียลลิตี้มากกว่าเดิม" คริงต้องการให้ซีรีส์มีมาตรฐานของการทดสอบที่เกี่ยวกับตัวละครและโลกที่พวกเขาอยู่[28][29]

ก่อนที่เขาจะเริ่มรวมแนวความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เขาได้มีโอกาสพูดกับผู้อำนวยการสร้างซีรีส์เรื่อง อสุรกายดงดิบ ชื่อเดมอน ลินเดลอฟ ที่เคยทำงานใน Crossing Jordan เป็นเวลา 3 ปี คริงให้เครดิตกับลินเดลอฟสำหรับข้อแนะนำและแนวคิดในการนำซีรีส์ไปเสนอกับทางสถานีและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานซีรีส์ในรูปแบบดรามา ซึ่งทั้ง 2 คนก็ยังคุยกันอยู่และสนับสนุนโครงการแต่ละฝ่ายด้วยกันอยู่[30][31][32] เมื่อคริงได้เสนอแนวคิดเรื่อง ฮีโรส์ ให้กับทางสถานีเอ็นบีซีแล้ว เขาอธิบายว่าสถานีให้การตอบรับ "ตื่นเต้น และให้การสนับสนุนมาก"[33] เขาอธิบายว่าเขาเคยมีมีส่วนร่วมกับทางเอ็นบีซีหลายครั้ง จากการที่เขาเป็นโชว์รันเนอร์ให้กับ Crossing Jordan เป็นเวลาถึง 6 ปี[33] เมื่อเขานำเสนอตอนทดสอลเขาอธิบายทุกรายละเอียด รวมถึงตอนจบของเรื่อง เมื่อเอกซ์คูทีฟของเอ็นบีซีถามเขาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ คริงตอบว่า "คุณเพียงแค่รอ และค้นหามัน"[34] หลังจากโครงการผ่านแล้ว ตอนทดลองพิเศษความยาว 73 นาทีออกฉายครั้งแรกให้ผู้ชมครั้งแรกในงานคอมิกคอน ปี 2006 ในซานดิเอโก[35] มีการรายงานว่าตอนทดลองที่ไม่ได้ออกฉายนี้จะไม่ออกฉาย แต่อย่างไรก็ตามก็มีอยู่ในเซ็ตดีวีดีในฤดูกาลแรก[36]

การเขียนบทและรูปแบบตอน แก้

เมื่อทีมเขียนบทเริ่มทำงานในแต่ละตอน นักเขียนบทแต่ละตัวละครจะเขียนแยกเป็นฉาก ๆ ไปที่เรื่องราวที่รายล้อมพวกเขาอยู่ เนื้อเรื่องจะถูกเชื่อมต่อกันและจากนั้นก็เป็นหน้าที่ให้กับนักเขียนบทของตอนนั้น ระบบนี้เองยังทำให้นักเขียนสามารถมีส่วนร่วมในทุก ๆ ตอน[37] และยังทำให้ทีมนักเขียนสามารถทำงานเขียนแบบเสร็จได้เร็วขึ้น จากนั้นทีงานถ่ายทำสามารถถ่ายทำฉากในแต่ละที่ได้มากขึ้น[34] ทิม คริง อธิบายขึ้นตอนการเขียนว่าเป็นการร่วมกันเป็นหนึ่งโดยผู้ที่ร่วมมีความสำคัญเพราะการผลิตต้องการถ่ายทำหลายฉาก ในสถานที่เดียว และเพื่อที่จะทำให้เสร็จ เจซซี อเล็กซานเดอร์ ผู้ร่วมสร้างและนักเขียนบท อธิบายว่ารูปแบบการทำงานแบบนี้มีความสำคัญในการถ่ายซีรีส์ประเภทดราม่าเพราะ แต่ละคนจะต้องรู้ว่าแต่ตัวละครกำลังเดินเรื่องที่ไหน[34]

ในแต่ละตอนมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน เริ่มจากการสรุปเหตุการณ์ โดยโชว์จะเริ่มโดยทีเซอร์ที่ตัดต่อสรุปเนื้อเรื่องที่ผ่านมาที่ในบางครั้งจะเริ่มโดยการแนะนำฉากในสัปดาห์ที่ผ่านมาในส่วนสำคัญ จากนั้นจึงตัดมาเป็นกราฟิกชื่อเรื่อง ซึ่งเป็นรูปสุริยคราส และโลโก้ของ ฮีโรส์ และเพลงเริ่มเรื่อง และชื่อตอนมักจะปรากฏหลังชื่อไตเติล ซึ่งเป็นช่วงหลังพักโฆษณา โดยชื่อตอนจะมีเกาะเกี่ยวกับวัตถุบนโลกในฉากหลังพักโฆษณาแรก ไตเติลจะระบุชื่อบท ที่มีบอกว่าบทที่เท่าไหร่ และเครดิตเปิดเรื่องจะปรากฏรายชื่อนักแสดงตามตัวอักษรของนามสกุลในขณะกำลังดำเนินเรื่องในช่วงแรก มีหลายที่มีหลายตัวละครหลายเรื่องในนั้น บางครั้งก็เป็นเหตุการณ์เดียวกัน ขณะที่หลายครั้งเรื่องของตัวละครแต่ละเรื่องจะสานกันเป็นตอนเดียวกัน แต่ละตอนมักจบด้วยภาวะที่คาราคาซังหรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น[38] โดยออกในวินาทีท้าย ๆ ก่อนจะตัดไปว่า "ติดตามชมตอนต่อไป"

ดนตรี แก้

ดนตรีประกอบในฤดูกาลแรกประพันธ์โดยเวนดี เมลวอยน์ และ ลิซา โคล์แมน ร่วมด้วยวิศวกรดนตรีอย่าง ไมเคิล เพอร์ฟิตต์[39] ส่วนเสียงร้องโดย ชังการ์ ในแต่ละตอนจะมีดนตรีเข้ามาเฉลี่ย 30 ถึง 35 นาที เล่นโดยเมลวอยน์และโคล์แมน ผลิตจากเครื่องอินเทลแม็ก 3 เครื่อง กับฮาร์ดไดร์ฟระบบ RAID[40] เมลวอยน์และโคลด์แมนได้มีส่วนร่วมใน ฮีโรส์ จากผลงานที่เคยทำงานร่วมกับผู้อำนวยการสร้างอย่าง อัลลัน อาร์คุช[40] ทิม คริงได้ให้ข้อมูลทั่วไปกัลทั้งคู่ รวมถึงอารมณ์และทิศทางของแต่ละตัวละคร คริงต้องการดนตรีที่ไม่ได้มีลักษณะทั่วไปและให้ความเป็นอิสระกับเวนดีและลิซาและอนุญาตให้ทดลองดนตรีต่าง ๆ ในตอนทดลองคริงแนะนำให้ให้มีลักษณะแบบความฝัน "dreamy" ในฉากที่แคลร์ เบนเนต วิ่งเข้าไปในรถไฟที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง "dreamy" เองก็เป็นลายเซ็นของโชว์เลย

เมลวอยน์และโคลแมนพัฒนาดนตรีให้แก่แต่ละตัวละคร ธีมดนตรีของคลอด (มนุษย์ล่องหน) ได้นำลมและเสียงพูดเข้ามาให้เกิดความรู้สึกเหมือนผี ธีมของฮิโร่ นาคามูระ นำมาริมบาส (เครื่องดนตรีคล้ายระนาด) กับบาสซูน เป็นห้วง ๆ และนำเสียงการเดินของนาฬิกามาประกอบพลังของตัวละคร ธีมของแม็ตต์ พาร์กแมนนำเสียงพูดที่เล่นกลับถอยหลังเมื่อเขาใช้พลังอ่านจิตใจคน ธีมของปีเตอร์ เพเทรลลี่ใช้เครื่องสาย ธีมของนิกี แซนเดอร์สยึดมาจากบุคลิกของเธอที่มีบุคลิกอีกคนที่ชื่อเจสสิกาจะมีเสียงลมและคำสวดแบบอินเดียที่เน้นความรู้สึกของเธอที่ถูกครอบงำในจิตใจ ธีมของโมฮินเดอร์ ซูเรชใช้เปียโนซึ่งในบางตอนจะใช้เล่นในตอนจบของหลาย ๆ ตอน และธีมของไซลาร์เป็นเสียงของนาฬิกาและเปียโนตัวเก่า ๆ[40]

ในปี 2007 ASCAP Film and Television Music Awards มอบรางวัลให้เวนดีและลิซา สำหรับการทำงานของพวกเธอในฮีโรส์[41] ในฝรั่งเศส ธีมของ ฮีโรส์ ประพันธ์โดย วิกตอเรีย พีโทรซิลโล มีเพลงอย่าง "Le Héros d'un autre" ที่ใช้เล่นในสถานีทีเอฟวัน แทนเพลงดั้งเดิม ทางสถานียังได้ทำเพลงเปิดตอนเครดิตใหม่จากนั้นจึงเข้าสู่เพลงธีมของพีโทรซิลโล[42] นอกจากนี้ยังมีเพลงของวงโร๊กเวฟชื่อเพลง "Eyes" ที่เคยเป็นเพลงประกอบเรื่อง Just Friends ก็นำมาใช้ในฤดูกาลแรกในตอน "Genesis" และ "Collision"[43]

เพลงประกอบ แก้

อัลบั้มเพลงประกอบซีรีส์อย่างเป็นทางการออกขายเมื่อ 18 มีนาคม ค.ศ. 2008 โดย The NBC Universal Television, DVD, Music & Consumer Products Group มีเพลงบันทึกเสียงของเวนดีและลิซา และยังมีเพลงของศิลปินอย่าง แพนิก แอต เดอะ ดิสโก, วิลโก, อิโมเจน ฮีป, บ็อบ ดีแลน, นาดา เสิร์ฟ และ เดวิด โบวี นอกจากเพลงจากศิลปินดังกล่าวแล้วยังมีเพลงธีมของ ฮีโรส์ แต่ในแผ่นก็ไม่มีเพลง "Eyes" ของโร๊ก เวฟ ที่มีในตอนที่ แรก และตอนที่ 4 ของฤดูกาลแรก ส่วนหน้าหลังของแผ่นจะมีเรื่องเล่าของโมฮินเดอร์ ซูเรชความยาว 45 นาที ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 NBC Universal Television, DVD, Music & Consumer Products Group ออกมิวสิกวิดีโอ 5 ตัว กำกับและสร้างโดย อัลลัน อาร์คุช โดยตัดภาพของโชว์กับเพลงประกอบเข้าด้วยกัน ออกทางเว็บไซต์ ซูน และ เอ็มเอสเอ็น[44][45][46]

ในเดือนกันยายน 2008 เวนดีและลิซา ประกาศว่าจะออกอัลบั้มเพลงสกอร์ของ ฮีโรส์ และยังไม่ระบุวันที่ออก[47]

การถ่ายทำและวิชวลเอฟเฟกต์ แก้

อีริก เกรเนาดิเออร์และจอห์น ฮาน จากสตาร์เกตดิจิตอล เป็นหัวหน้างานเร้องวิชวลเอฟเฟกต์ และมาร์ก สแปตนี[48] เป็นโปรดิวเซอร์วิชวลเอฟเฟต์ให้กับ ฮีโรส์ โดยทำงานร่วมกับนักสร้างแอนิเมชันที่ชื่อ แอนโธนี โอเคมโปและไรอัน วีเบอร์ ที่ทั้งคู่มาจากสตาร์เกตดิจิตอล[28][49] ในซีรีส์มีวิชวลเอฟเฟต์ที่ใช้บลูสกรีนทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ โดยฉากที่มีวิชวลเอฟเฟกต์จะทำหลังจากถ่ายทำเสร็จแล้วในขึ้นตอนโพสต์โปรดักชัน ไม่เหมือนกับทั่วไป ที่มักจะดำเนินร่วมกันขณะถ่ายทำ[50] ฉากวิชวลเอฟเฟกต์ที่โดดเด่นเช่นในฉากกัมมันตภาพรังสีในฉากของแคลร์ตอน "Company Man" ,ฉากนาธานบินจากเบนเน็ตและผู้ชายจากไฮติ ในตอน "Hiros", และฮิโร่ หยุดเวลาช่วงเด็กนักเรียนหญิงผู้โบว์สีแดงในตอน "One Giant Leap"[28]

สเปเชียลเอฟเฟกต์ได้ทำงานร่วมกับแกรี ด'อะมิโก ส่วนนักแสดงแทนจะทำงานร่วมกัลเอียน อวินน์ ที่ในบางครั้งก็มีการใช้บลูสกรีนร่วมในฉากเสี่ยงในหลาย ๆ ตอน อย่างเช่นฉากนาธาน เพเทรลลี่ บินหนีขณะที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนในตอน "Six Months Ago" ฉากถ่ายทำส่วนใหญ่ของ ฮีโรส์ ถ่ายทำในลอสแอนเจลิสและซานตาคลาริตา ในแคลิฟอร์เนีย[4] ทีมงานสตาร์เกตดิจิตอลก็รับผิดชอบการถ่ายทำในลอสแอนเจลิสให้ดูเหมือนในสถานที่ในต่างประเทศอย่างเช่น อินเดีย และ ยูเครน โดยถ่ายทำบนบลูสกรีนและออกแบบฉากโดย รัธ แอมมอน ผู้ออกแบบงานสร้างของซีรีส์นี้[51] ซีรีส์เรื่องนี้ถ่ายทำโดยใช้กล้องเดียว (single-camera)

และเพื่อให้ดูมีรูปแบบเหมือนหนังสือการ์ตูน องค์ประกอบการ์ตูนที่ใช้ในซีรีส์วาดโดยศิลปินที่ชื่อ ทิม เซล ที่วาดอาร์ตเวิร์กที่ใช้ในเรื่องรวมถึงงานศิลป์ของไอแซก เมนเดซ และงานตีพิมพ์การ์ตูนของเมนเดซเรื่อง 9th Wonders! [52] นอกจากนี้ตัวหนังสือในอธิบายและเครดิตของโชว์ยังใช้ลายมือเขียนแบบการ์ตูนของเซลด้วย ที่ยึดมาจากสไตล์การเขียนของเขาเอง[53]

ตำนาน ฮีโรส์ แก้

ในเรื่องฮีโรส์มีหลายสิ่งที่ยังทิ้งปมปริศนาอยู่มิใช่น้อย อาทิเช่น สัญลักษณ์เฮลิกซ์ รอยแผลเป็น และการเกิดสุริยคราส

สัญลักษณ์เฮลิกซ์ แก้

เฮลิกซ์ เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนี้ โดยปรากฏขึ้นครั้งแรกในตอน Don't Look Back ซึ่งผู้กำกับต้องการให้เครื่องหมายนี้สื่อถึง พลังอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า

การออกอากาศและความประสบผลสำเร็จในประเทศต่างๆ แก้

  • ออสเตรเลีย
    • เริ่มออกอากาศครั้งแรกที่ช่อง Seven Network ในทุกวันพุธ เวลา 20.30 น.สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 2 ล้านคน
  • ฟินแลนด์
    • ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 21.00 น.สามารถดึงดูดผู้ชมประมาณ 614,000 คน
  • ฝรั่งเศส
    • ออกอากาศทางช่อง TF1 ทุกวันศุกร์ เวลา 20.50 น. สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 6 ล้านคน
  • เยอรมัน
    • ออกอากาศทางช่อง RTL2 ทุกวันพุธ เวลา 20.15 น. สามารถดึงดูดผู้ชมราว 3 ล้านคน
  • ฮ่องกง
    • ออกอากาศทางช่อง TVB Pearl ทุกวันอังคาร เวลา 22.35 น.สามารถดึงดูดผู้ชมราว 340,000 คน
  • อิตาลี
    • ออกอากาศทางช่อง Italia 1ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.40 น.สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 2 ล้านคน
  • เนเธอร์แลนด์
    • ออกอากาศทางช่อง RTL5 ทุกวันอังคาร เวลา 21.30 น.สามารถดึงดูดผู้ชมราว 572,000 คน
  • นอร์เวย์
    • ออกอากาศทางช่อง NRK ทุกวันจันทร์ เวลา 21.25 น.
  • ฟิลิปปินส์
    • ออกอากาศทางช่อง RPN และ C/S
  • สิงคโปร์
    • ออกอากาศทางช่อง 5 ทุกวันจันทร์ เวลา 20.00 น.
  • แอฟริกาใต้
    • ออกอากาศทางช่อง SABC 3 ทุกวันพุธ สามารถดึงดูดผู้ชมราว 3 ล้านคน
  • สวีเดน
    • ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549 สามารถดึงดูดผู้ชมราว 965,000 คน
  • อังกฤษ
    • ออกอากาศทางช่อง Sci fi UK สามารถดึงดูดผู้ชมถึง 579,000 คน ในวันแรกที่ออกอากาศ
  • สหรัฐอเมริกา
    • ออกอากาศทางช่อง NBC สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 14 ล้านคน

สื่ออื่นๆ แก้

หนังสือและสื่อสาธารณะ แก้

นอกจากนี้ทางบริษัท NBC ได้นำเสนอฮีโร่สในรูปแบบฉบับการ์ตูนรายสัปดาห์ ซึ่งในฉบับการ์ตูนนี้จะให้รายละเอียดของตัวละครและเนื้อเรื่องได้มากกว่าการออกฉายทางโทรทัศน์

วิดีโอเกม แก้

ทางบริษัทยูบิซอฟท์ได้รับอณุญาตลิขสิทธิ์ในการผลิตเกมส์ฮีโรส์ ซึ่งคาดว่าจะออกมาในรูปแบบเกมส์คอมพิวเตอร์[54]

เกมบนโทรศัพท์มือถือ แก้

บริษัทเกมส์ลอฟท์ได้ปล่อยเกมส์ฮีโรส์ ออกมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2550 โดยผู้เล่นสามารถเลือกบุคลิก จาก 3 ตัวละคร คือ ฮิโระ นากามูระ, นิกิ แซนเดอร์ส และปีเตอร์ เพเทรลลี่ ซึ่งในเกมส์จะรวมการเล่นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยเริ่มจากตอน "Five Years Gone"[55][56]

อ้างอิง แก้

  1. "Company credits for Heroes". Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
  2. Kring, Tim (2006-09-24). "How many seasons/scripts are plotted out?". NBC Universal Heroes Live Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
  3. 3.0 3.1 "Heroes TV Show on NBC". NBC.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  4. 4.0 4.1 "Real locations or movie magic?". NBC.com. 2005-09-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  5. "'Heroes' debut paces NBC's second Monday win of the new season" (Press release). NBC Universal. 2006-09-26. สืบค้นเมื่อ 2006-09-29.
  6. "Heroes (NBC) - Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-23. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 NBC (2008-02-13). "NBC Renews Drama Series 'Chuck, 'Life' and 'Heroes' for 2008-09 Season". สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  9. McLean, Tom (2007-05-14). ""Heroes" spins off". Bags and Boards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
  10. Strachan, Alex (2007-11-07). "Casualties of the Hollywood writers strike". The Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
  11. Jensen, Jeff (2007-11-07). "'Heroes' Creator Apologizes to Fans". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-16.
  12. Finn, Natalie (2007-12-03). "Heroes Drops Some Dead Weight". E!. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
  13. 13.0 13.1 Spelling, Ian (2008-04-04). "Heroes Returns; Origins Dies". Sci Fi Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.
  14. Kaplan, Don (2007-01-22). "New 'Heroes' Guy Revealed!". New York Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  15. Buckman, Adam (2007-03-05). "'Heroes' Spring Break". New York Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  16. "Heroes: How to Stop an Exploding Man - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
  17. "Heroes: (Volume Two: "Generations") Four Months Later... - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
  18. Logan, Michael (2007-12-04). "Exclusive: Tim Kring Explains Heroes' "Generations" Finale". TV Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  19. "Heroes: Powerless - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
  20. Goldman, Eric (2007-12-14). "Heroes Creator Tim Kring Talks". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. Carter, Bill (2008-07-21). "'Heroes' Is Ready for Its Rebound". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
  22. Phegley, Kiel (2007-12-20). "Tim Kring on 'Heroes' Vol. 3". Wizard Universe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  23. Goldman, Eric (2007-12-14). "Heroes Creator Tim Kring Talks". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  24. Beeman, Greg (2007-11-26). "Season 2 Episode 10 "Truth and Consequences"". Beaming Beeman. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  25. Josef Adalian (2008-05-23). "NBC Revamps Fall Plans, Delays Series Launches". TVWeek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-18.
  26. Hibberd, James (2008-07-26). "Tim Kring Screens Heroes Third Season Premiere". The Live Feed. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  27. "TV.com - "Chuck, Heroes hit ratings lows"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  28. 28.0 28.1 28.2 Kring, Tim (creator). (Unknown episode) (DVD) (Season one episodes). NBC Universal Media. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20. {{cite AV media}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |date2= ถูกละเว้น (help)
  29. Tim Kring. "Heroes Live Blog: Why I wanted to do a show like Heroes". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  30. Tim Kring. "Heroes Live Blog: Friends with the creator of LOST". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  31. "Interview with Jef Loeb". NBC. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  32. "www.boston.com/ae/tv/articles/2007/03/04/its_all_connected/?page=2".
  33. 33.0 33.1 Tim Kring. "Heroes Live Blog: The Pitch Process to NBC". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  34. 34.0 34.1 34.2 "Heroes Execs discuss show's future, LOST, more/". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
  35. Goldman, Eric (2006-06-22). "Comic-Con 2006: Heroes Pilot Premiere". IGN. สืบค้นเมื่อ 2006-11-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. Tribbey, Chris (2007-07-26). "The HD DVD of "Heroes" Comes Packed With Interactive Extras". allthingshidef.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Taylor, Robert (2006-10-26). "Reflections: Talking with Bryan Fuller". Comic Book Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2006-11-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. "theTVaddict.com Interview: Tim Kring HEROES Creator". the TV Addict. 2006-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
  39. Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
  40. 40.0 40.1 40.2 Greg Beeman. "BEEMAN'S BLOG – SEASON 2, EPISODE 11". สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  41. "22nd Annual ASCAP Film and Television Music Awards > Playback Summer 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  42. "Bienvenue chez Victoria !". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  43. Olund, Melissa (2006-09-26). "Rogue Wave on 'Heroes'". spinner.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. "Heroes soundtrack, music videos on the way - Today's News: Our Take | TVGuide.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  45. Dylan, Bowie on Heroes soundtrack | Entertainment | Reuters
  46. "Heroes soundtrack taps Bob Dylan, Wilco | Heroes | Television News | News + Notes | Entertainment Weekly". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  47. "Wendy and Lisa prepare 'Heroes' score album". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  48. "fxguide - vfx knowledge - Heroic VFX : Stargate Digital and NBC's Heroes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  49. Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
  50. Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
  51. Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
  52. Smith, Zack (2006-11-14). "Talking Heroes and comics with Tim Sale". Newsarama. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  53. George, Richard (2006-10-26). "Loeb Talks Heroes". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  54. Magrino, Tom (2007-07-26). "Ubisoft finds Heroes". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2007-07-27.
  55. "Gameloft and NBC Universal enter worldwide agreement to bring the #1 television drama series 'Heroes' to mobile phones". Gameloft. 2007-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
  56. supadupagama (2007-08-19). "Heroes: The Mobile Game developer walkthrough video". videogamesblogger.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

2 = ฮีโรส์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทร...