ฮารูกิ มูรากามิ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ฮารูกิ มูรากามิ (ญี่ปุ่น: 村上春樹; โรมาจิ: Murakami Haruki) เป็นนักเขียนและนักแปลร่วมสมัยชาวญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ผลงานของเขาถูกนำไปแปลแล้วกว่า 30 ภาษา
ฮารูกิ มูรากามิ | |
---|---|
![]() มูรากามิขณะบรรยายที่ เอ็มไอที ในปี พ.ศ. 2548 | |
เกิด | 12 มกราคม ค.ศ. 1949 |
อาชีพ | นักเขียน, นักแปล |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
แนว | นิยาย, เรื่องเหนือจริง, โพสต์โมเดิร์น, สัจนิยมมหัศจรรย์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
เว็บไซต์ | |
http://www.harukimurakami.com/ |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฮารูกิ มูรากามิ |
ประวัติแก้ไข
ฮารูกิ มูรากามิ เกิดที่จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นในปี 1949 แต่ไปโตที่เมืองโคเบะ พ่อและแม่ของมูรากามิมีอาชีพเป็นครูสอนวิชาวรรณกรรมญี่ปุ่น
ชีวิตในวัยเด็กของมูรากามิ ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะด้านดนตรีและวรรณกรรม เขาเติบโตขึ้นมาด้วยการอ่านวรรณกรรมทุกประเภทของนักเขียนตะวันตก ส่งผลให้ลักษณะงานเขียนของเขามีความแตกต่างจากนักเขียนญี่ปุ่นคนอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยงานเขียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญอย่างมากกับความงามของภาษา ทำให้เกิดรูปแบบการเขียนที่เข้มงวดและเย็นชาในบางครั้ง แต่งานเขียนของมูรากามินั้นกลับมีรูปแบบที่เป็นอิสระและมีความลื่นไหลของภาษา
มูรากามิสำเร็จการศึกษาวิชาการละคร ภาควิชาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยวาเซดะในมหานครโตเกียวซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับโยโกะ ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา มูรากามิได้เปิดบาร์เล็ก ๆ ที่โตเกียว มีชื่อว่า ปีเตอร์ แคท (Peter Cat) โดยเล่นดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) อยู่เป็นเวลา 7 ปี ยังผลในดนตรีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในงานเขียนของมูรากามิอยู่เสมอ
ไตรภาคมุสิกแก้ไข
มูรากามิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชมการแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ พินบอล, 1973 และตีพิมพ์ แกะรอยแกะดาว ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "ไตรภาคแห่งมุสิก" (鼠三部作) โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมูรากามินั้นได้ขาดตลาดไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง
การเดินทางไปสู่การเป็นนักเขียนผู้โด่งดังแก้ไข
ในปี 1985 มูรากามิตีพิมพ์ผลงานชื่อ แดนฝันปลายขอบฟ้า ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงานเขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง
มูรากามิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มูรากามิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ
ในปี 1986 มูรากามิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มูรากามิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ เริงระบำแดนสนธยา (ダンス・ダンス・ダンス) ซึ่งเป็นภาคต่อของไตรภาคมุสิก และ การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก (国境の南、太陽の西)
ในปี 1994 มูรากามิได้ส่งผลงานชื่อ บันทึกนกไขลาน (ねじまき鳥クロニクル) ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของเขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีและรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ อันเดอร์กราวด์ (アンダーグラウンド) ซึ่งเป็นสารคดี และ อาฟเตอร์เดอะเควก ซึ่งเป็นรวมเรื่องสั้น
นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes (象の消滅) และมูรากามิยังได้แปลผลงานของนักเขียนที่เขาชื่นชอบมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย
ผลงานล่าสุดแก้ไข
ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ รักเร้นในโลกคู่ขนาน (スプートニクの恋人) ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (海辺のカフカ) ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ ราตรีมหัศจรรย์ ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman (めくらやなぎと眠る女) ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (走ることについて語るときに僕の語ること) ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009
นวนิยายเรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84แก้ไข
ฮารูกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1 และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม 1-2 และ 3 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
ข้อวิพากษ์วิจารณ์แก้ไข
ผลงานของมูรากามิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อปที่มีอารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมูรากามิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น[ใครกล่าว?]
ผลงานแก้ไข
นวนิยายแก้ไข
ปี | ชื่อญี่ปุ่น | ชื่ออังกฤษ | ชื่อไทย |
1979 | 風の歌を聴け Kaze no uta o kike |
Hear the Wind Sing | สดับลมขับขาน |
1980 | 1973年のピンボール 1973-nen no pinbōru |
Pinball, 1973 | พินบอล, 1973 |
1982 | 羊をめぐる冒険 Hitsuji o meguru bōken |
A Wild Sheep Chase | แกะรอยแกะดาว |
1985 | 世界の終りとハードボイルド・ワンダーランド Sekai no owari to hādoboirudo wandārando |
Hard-Boiled Wonderland and the End of the World | แดนฝันปลายขอบฟ้า |
1987 | ノルウェイの森 Noruwei no mori |
Norwegian Wood | ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย |
1988 | ダンス・ダンス・ダンス Dansu dansu dansu |
Dance Dance Dance | เริงระบำแดนสนธยา |
1992 | 国境の南、太陽の西 Kokkyō no minami, taiyō no nishi |
South of the Border, West of the Sun | การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก |
1992-1995 | ねじまき鳥クロニクル Nejimaki-dori kuronikuru |
The Wind-Up Bird Chronicle | บันทึกนกไขลาน |
1999 | スプートニクの恋人 Supūtoniku no koibito |
Sputnik Sweetheart | รักเร้นในโลกคู่ขนาน |
2002 | 海辺のカフカ Umibe no Kafuka |
Kafka on the Shore | คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ |
2004 | アフターダーク Afutā Dāku |
After Dark | ราตรีมหัศจรรย์ |
2009-2010 | 1Q84 Ichi-kyū-hachi-yon |
1Q84 | หนึ่งคิวแปดสี่ |
2013 | 色彩を持たない多崎つくると、彼の巡礼の年 Shikisai o motanai Tazaki Tsukuru to, kare no junrei no toshi |
Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage | ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ |
2017 | 騎士団長殺し Kishidanchō-goroshi |
Killing Commendatore | สังหารจอมทัพอัศวิน |
สารคดีแก้ไข
ปี | ชื่อญี่ปุ่น | ชื่ออังกฤษ | ชื่อไทย |
1997 | アンダーグラウンド Andāguraundo |
Underground (1) | อันเดอร์กราวด์ |
1998 | 約束された場所で Yakusoku sareta basho de |
Underground (2) | สถานที่ในคำสัญญา - อันเดอร์กราวด์ 2 |
2007 | 走ることについて語るときに僕の語ること Hashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto |
What I talk about When I talk about Running | เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง |
รวมเรื่องสั้นแก้ไข
ปี | ชื่อญี่ปุ่น | ชื่ออังกฤษ | ชื่อไทย |
1983 | 中国行きのスロウ・ボート Chugoku yuki no Suroh Bohto |
A Slow Boat To China | เรือเชื่องช้าสู่เมืองจีน |
1984 | 螢・納屋を焼く・その他の短編 Hotaru, Naya wo yaku, sonota no Tampen |
Firefly, Barn Burning and Other Stories | เส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน |
1986 | パン屋再襲撃 Pan-ya Saishuhgeki |
The Second Bakery Attack | คำสาปร้านเบเกอรี่ |
1996 | レキシントンの幽霊 Rekishinton no Yuhrei |
Lexington Ghosts | ปีศาจแห่งเล็กซิงตัน |
2000 | 神の子どもたちはみな踊る Kami no kodomo-tachi wa mina odoru |
After the Quake | อาฟเตอร์เดอะเควก |
2014 | 女のいない男たち Onna no Inai Otokotachi |
Men Without Women | ชายที่คนรักจากไป |
หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทยแล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมูรากามิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- exorcising ghosts - Haruki Murakami Resources เก็บถาวร 2020-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.murakami.ch
- Featured author in The New York Times
- Complete Works
- Interview referenced in short story.
- The Internet Movie Database entry for Tony Takitani
- Special Edition book of Tony Takitani from Cloverfield Press เก็บถาวร 2019-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Review of Kafka on the Shore, The Oxonian Review of Books เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Review of Kafka on the Shore, Shogokawada.com เก็บถาวร 2006-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Short Stories
- The Folklore of Our Times เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ archive.today
- Hunting Knife เก็บถาวร 2012-12-08 ที่ archive.today
- Hanalei Bay
- Review of The Elephant Vanishes, The Great Swifty Speaketh!
- ภาษาไทย
- ไตรภาคของมุสิก กับพื้นที่ลี้ลับบนหน้ากระดาษของฮารูกิ มูราคามิ จาก Onopen
- บทวิจารณ์ และ แนะนำนวยิยายผลงานของ ฮารูกิ มูราคามิ เก็บถาวร 2007-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย พิรฌาน
บทสัมภาษณ์แก้ไข
- Interview with Laura Miller in Salon, December 1997
- Interview with Sinda Gregory, Toshifumi Miyawaki, and Larry McCaffer, Center for Book Culture เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Interview with Roland Kelts, Metropolis Magazine เก็บถาวร 2007-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Interview with Matt Thompson in The Guardian, May 26, 2001
- Interview with Velisarios Kattoulas, Time Asia, Nov. 25, 2002 เก็บถาวร 2007-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- An interview with Roland Kelts, The Japan Times: Dec. 1, 2002
- An interview with Richard Williams in The Guardian, May 17, 2003
- Interview with Murakami on Kafka on the Shore, Book Browse
- A Conversation with Philip Gabriel, translator of KAFKA ON THE SHORE, Random House