การโจมตีซับเวย์โตเกียวด้วยซาริน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การโจมตีซับเวย์โตเกียวด้วยซาริน (อังกฤษ: Tokyo subway sarin attack; ญี่ปุ่น: 地下鉄サリン事件) เป็นการก่อการร้ายภายในซึ่งเกิดขึ้น ณ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1995 ผู้ก่อการ คือ สมาชิกลัทธิโอมชินริเกียวซึ่งนัดหมายกันโจมตีห้าจุดในชั่วโมงเร่งด่วน ด้วยการปล่อยสารซารินในรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทรสามขบวนที่เคลื่อนผ่านคาซูมิงาเซกิกับนางาตาโจอันเป็นที่ทำการรัฐสภาญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้ตาย 13 คน[1][2][3][4] บาดเจ็บอีก 5,500 คน และสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวอีกเกือบ 1,000 คน[5][6]
การโจมตีโตเกียวเมโทรด้วยซาริน 地下鉄サリン事件 | |
---|---|
การทำงานของเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินขณะเกิดเหตุการณ์ | |
สถานที่ | โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
วันที่ | 20 มีนาคม ค.ศ. 1995 7:00–8:10 นาฬิกา (UTC+9) |
เป้าหมาย | โตเกียวเมโทร |
ประเภท | การก่อการร้ายด้วยสารเคมี |
อาวุธ | ซาริน |
ตาย | 12 ราย (ในเหตุการณ์)[1] 1 ราย (หลังการรักษาตัว)[2] |
เจ็บ | ราว 6,252 a |
ผู้ก่อเหตุ | โอมชินริเกียว |
จำนวนก่อเหตุ | 10 |
a 17 สาหัส (บางส่วนเสียชีวิตในเวลาต่อมา), 37 สาหัส, 984 ปัญหาด้านการมองเห็นชั่วคราว[1] |
ลัทธิโอมชินริเกียว ซึ่งมีผู้นำคือ โชโก อาซาฮาระ เคยใช้ซารินลอบฆ่าและโจมตีบุคคลมาแล้วหลายครั้ง ในจำนวนนี้รวมถึงการโจมตีมัตสึโมโตะด้วยซารินเมื่อเก้าเดือนก่อน ลัทธิดังกล่าวยังผลิตสารหลายอย่างที่ส่งผลต่อประสาท เช่น VX และพยายามจะผลิตพิษโบทูลินัมเพื่อใช้ก่อการร้าย ลัทธิโอมชินริเกียวยังได้ลองก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพแต่ล้มเหลว ส่วนเหตุการณ์ครั้งนี้เนื่องจากอาซาฮาระทราบว่า ตำรวจจะบุกตรวจลัทธิของตนในวันที่ 22 มีนาคม จึงชิงโจมตีโตเกียวเมโทรในวันที่ 20 มีนาคม เพื่อเบนความสนใจของตำรวจ และอาจเพื่อเป็นชนวนไปสู่วันสิ้นโลก (apocalypse) ดังที่พวกตนเชื่อถือ ตัวอาซาฮาระเองยังประสงค์จะก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สามด้วย
หลังเกิดเหตุ ตำรวจบุกจับสมาชิกหลักของลัทธิได้หลายคน ตำรวจยังดำเนินการต่อมาตลอดฤดูร้อน ซึ่งนำไปสู่การจับกุมสมาชิกลัทธินี้กว่า 200 คน รวมถึงอาซาฮาระ ภายหลัง สมาชิกหลัก 13 คน อันรวมถึงอาซาฮาระนั้น ถูกประหารชีวิต ส่วนที่เหลืออีกหลายคนถูกจำคุกตลอดชีวิต การโจมตีครั้งนี้ยังคงเป็นเหตุก่อการร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
การโจมตี
แก้รถไฟใต้ดินสายชิโยดะ
แก้ทีมของ นพ. อิกูโอะ ฮายาชิ และ โทโมมิตสึ นีมิ ได้ก่อการปล่อยซารินในรถไฟสายชิโยดะ โดยระหว่างทางไปสถานีเซ็นดางิ นีมิได้ซื้อหนังสือพิมพ์เพื่อห่อขวดซาริน
ต่อมา นพ. ฮายาชิได้สวมหน้ากากอนามัย และโดยสารขึ้นรถไฟไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสายชิโยดะในขบวนแรก เวลา 07:48 น. รถหมายเลข A725K ทันทีที่รถเข้าจอดที่สถานีชิน-โอจาโนมิซุ ในย่านเศรษฐกิจใจกลางชิโยดะ เขาได้เจาะรูขวดซาริน และหลบหนีออกทางสถานีดังกล่าว นพ. ฮายาชิ ตัดสินใจเลือกเจาะขวดซารินในสถานีชิน-โอจาโนมิซุ แทนที่จะก่อการที่สถานีเซ็นดางิ เนื่องจากกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานีเซ็นดางิซึ่งมีผู้คนจำนวนมากกว่า จึงตัดสินใจก่อการที่สถานีชิน-โอจาโนมิซุ ซึ่งมีผู้คนเบาบาง นอกจากนี้เขายังเจาะขวดซารินเพียงขวดเดียวจากสองขวด ทั้ง นพ. ฮายาชิ และ นีมิ เป็นเพียงผู้ก่อการสองคนที่ไม่ได้เดินทางกลับศูนย์ลัทธิ ต่างจากผู้ก่อการที่เหลือทั้งหมด
ขวดดังกล่าวถูกนำไปกำจัดหลังรถไฟเดินรถไปได้ 4 สถานี ที่สถานีคาซูมิงาเซกิ โดยเจ้าหน้าที่ได้นำไปกำจัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเสียชีวิตในเวลาต่อมาสองราย หลังรถออกจากสถานีคาซูมิงาเซกิ รถได้ไปจอดในสถานีถัดไปเพื่อทำความสะอาด และอพยพผู้โดยสารไปยังที่ปลอดภัย
ในปัจจุบัน อดีต นพ. ฮายาชิ เป็นผู้ก่อการคนเดียวที่ไม่ถูกโทษประหารชีวิต โดยได้ลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตเพราะให้การป็นประโยชน์ต่อการจับกุมสมาชิกของลัทธิหลังเหตุการณ์สงบ
รถไฟใต้ดินสายมารุโนชิ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รถไฟใต้ดินสายฮิบิยะ
แก้โทรุ โทยาดะ และ คัตสึยะ ทากาฮาชิ คือผู้ก่อการในรถไฟใต้ดินสายฮิบิยะ
โทยาดะเดินทางถึงสถานีนากาเมงูโระ และโดยสารขึ้นรถขบวนแรกเมื่อเวลา 07:59 น. บนรถหมายเลข B711T เขาเลือกนั่งที่นั่งติดประตู และกระทำการเจาะขวดซารินเมื่อรถเข้าจอดที่สถานีรถไฟเอบิซุ รวมเวลาที่เขาอยู่บนรถทั้งหมดเพียงสองนาที ถือเป็นการโจมตีที่เร็วที่สุดในบรรดาเหตุการณ์ทั้งหมด
หลังรถวิ่งไปได้สองสถานี ที่สถานีรถไฟรปปงงิ ผู้โดยสารในขบวนแรกเริ่มรู้สึกถึงพิษซาริน จึงเริ่มเปิดหน้าต่างรถออก จนเมื่อถึงสถานีถัดมา ที่สถานีคามิยะโจ ผู้โดยสารในรถขบวนแรกเริ่มเกิดอาการแพนิก เจ้าหน้าที่จึงได้อพยพผู้โดยสารในขบวนแรกและส่งตัวไปยังโรงพยาบาล ก่อนจะมีการอพยพทั้งขบวนเมื่อจอดที่สถานีถัดไป ที่สถานีคาซูมิงาเซกิ สรุปส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 532 ราย
ยาซูโอะ ฮายาชิ และ ชิเงโอะ ซูกิโมโตะ กลุ่มสุดท้าย ผู้ซึ่งมีสารซารินจำนวนสามขวด ได้โจมตีสายฮิบิยะอีกช่วงหนึ่ง โดยโดยมีเป้าหมายคือสถานีคิตะเซ็นจู ไปยังสถานีนากะ-เมกูโระ
ซูกิโมโตะโดยสารรถจากสถานีรถไฟอูเอโนะ ขบวนที่สามของวัน หมายเลข A7205 ในเวลา 07:43 น. และเจาะรูขวดซารินทันทีที่รถจอดที่สถานีอากิฮาบาระ สองสถานีถัดจากอูเอโนะ และหลบหนีออกไป
เมื่อรถออกจากสถานีอากิฮาบาระและจอดที่สถานีถัดไป ผู้โดยสารเริ่มสังเกตเห็นขวดชุ่มซารินบนพื้นของรถ ทำให้มีผู้โดยสารคนหนึ่งตัดสินใจเตะขวดซารินออกไปจากรถที่สถานีโคเด็นมะโจ ส่งผลให้ผู้เสียชีวิต 4 รายในสถานีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีซารินบางส่วนนองเจิ่งอยู่บนพื้นขบวนรถ และรถก็เดินทางต่อไปตามปกติ จนเวลาราว 8:10 น. หลังออกจากสถานีฮัตโจโบริ มีผู้โดยสารกดกริ่งฉุกเฉิน รถได้เปลี่ยนทิศการเดินรถและจอดยังสถานีรถไฟสึกิจิ ทันใดที่ผู้โดยสารออกจากขบวนรถ ส่วนหนึ่งได้ล้มลงบนพื้นสถานี และรถหยุดให้บริการทันใด
ในตอนแรกสื่อรายงานว่าเป็นเหตุระเบิดในสถานีรถไฟ หรือการวางระเบิดในขบวนรถไฟ และเจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้สายฮิบิยะหยุดให้บริการทั้งสายในเวลา 8:35 น. และอพยพผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ออกจากทุกสถานีในสายฮิบิยะทั้งหมด รวมระยะทาง 5 สถานีที่ซารินถูกปล่อยออกมา มีผู้เสียชีวิต 8 ราย และบาดเจ็บสาหัส 275 ราย
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Amy E. Smithson and Leslie-Anne Levy (October 2000). "Chapter 3 – Rethinking the Lessons of Tokyo". Ataxia: The Chemical and Biological Terrorism Threat and the US Response (Report). Henry L. Stimson Centre. pp. 91–95, 100. Report No. 35. Retrieved 15 December 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Ramesh C. Gupta (2015). Handbook of Toxicology of Chemical Warfare Agents. Academic Press. p. 27. ISBN 9780128004944. สืบค้นเมื่อ 28 July 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อvictimsurvey
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSachiko
- ↑ Pletcher, Kenneth. "Tokyo subway attack of 1995". Britannica.
- ↑ "Tokyo marks 15th anniversary of subway gas attack".