อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี (ดาวเคราะห์)

อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี (อังกฤษ: Upsilon Andromedae b; υ Andromedae b / υ And b / υ Andromedae Ab / υ And Ab ) หรืออิปไซลอนแอนดรอมิดา เอบี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอในระยะทางที่ใกล้ที่สุด ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกประกาศการค้นพบพร้อมกันกับ 55 ปู บี และ เทา คนเลี้ยงสัตว์ บี เมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2539 อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีก็เป็นดาวพฤหัสร้อนดวงแรกๆที่ถูกพบ อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลสูง จึงน่าจะเป็นดาวแก๊สยักษ์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ได้ค้นพบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีอุณหภูมิประมาณ -20℃ ถึง 230℃ ในด้านที่ไม่ได้หันหน้าเข้าดาวเอกของมันและ 1,400℃ ถึง 1,650℃ ในด้านที่หันหน้าเข้าดาวเอกของมัน ซึ่งคล้ายกับดาวพุธ และด้านหลังของดาวเคราะห์ดวงนี้ สามารถเห็นสีแดงท่วมเต็มไปหมด คงมีจุดๆเดียวบริเวณขั้วดาวเคราะห์ที่เห็นเป็นรอยด่างเพราะเป็นจุดไกลที่สุด

อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี
ดาวเคราะห์นอกระบบ รายชื่อ

ภาพในจินตนาการของอิปไซลอนแอนดรอมิดา บี
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ
กลุ่มดาว กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไรต์แอสเซนชัน (α) 01h 36m 47.8s
เดคลิเนชัน (δ) +41° 24′ 20″
ความส่องสว่างปรากฏ (mV) 4.09
ระยะห่าง44.0 ± 0.1 ly
(13.49 ± 0.03 pc)
ชนิดสเปกตรัม F8V
มวล (m) 1.28 M
รัศมี (r) 1.480 ± 0.087 R
อุณหภูมิ (T) 6074 ± 13.1 K
ความเป็นโลหะ [Fe/H] 0
อายุ 3.3 พันล้านปี
องค์ประกอบวงโคจร
กึ่งแกนเอก(a) 0.0595 ± 0.0034 AU
    ~4.41 mas
จุดใกล้ที่สุดจากดาวฤกษ์แม่ (q) 0.0549 ± 0.0046 AU
จุดไกลที่สุดจากดาวฤกษ์แม่ (Q) 0.0609 ± 0.0046 AU
ความเยื้องศูนย์กลาง (e) 0.023 ± 0.018
คาบการโคจร(P)4.617113 ± 0.000082 d
(0.01264 y)
ความเอียง (i) ~25[1]°
มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω) 63.4°
เวลาที่เข้าใกล้ดาวฤกษ์แม่ที่สุด (T0) 2,451,802.64 ± 0.71 JD
ครึ่งแอมพลิจูด (K) 69.8 ± 1.5 m/s
ลักษณะทางกายภาพ
มวล(m)1.4[1] MJ
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2539
ค้นพบโดย จอฟฟรีย์ มาร์ซี
วิธีตรวจจับ ความเร็วแนวเล็ง
สถานที่ที่ค้นพบ สถานที่หาดาวเคราะห์นอกระบบแคลิฟอร์เนีย
 สหรัฐ
สถานะการค้นพบ ยืนยันแล้ว
ชื่ออื่น
50 แอนโดรเมดา บี, อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอบี

สีดาวเคราะห์ แก้

สีของดาวเคราะห์น่าจะอยู่ในสีโทนร้อน เช่นสีแดง สีส้ม สีเหลือง ฯลฯ เพราะโคจรอยู่ใกล้ดาวเอกของมันมาก

จุดร้อนประหลาด แก้

 
ภาพในจินตนาการของอิปไซลอนแอนดรอมิดา บี กับจุดร้อนของมัน (โทนสีส้ม)

นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบจุดร้อนประหลาดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ แล้วก็ยังตั้งข้อเสนอว่ามี่จุดร้อนที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของดาวเอกของมันบนดาวเคราะห์ดวงนี้ด้วย

การมีดาวบริวาร แก้

นักวิจัยหลายคนคาดว่าด้านที่ถูกแสงแดดของดาวเคราะห์ดังกล่าวอาจหันเข้าหาดวงฤกษ์ของมันตลอดเวลาด้วยแรงไทดัล เหมือนกับกรณีที่ดวงจันทร์หันด้านเดิมเข้าหาโลกเสมอซึ่งเกิดจากเวลาที่ใช้หมุนรอบตัวเองเท่ากับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้โคจรรอบโลก จึงไม่น่าสามารถที่จะมีดาวบริวารได้ แต่ ณ ตอนนี้ คงไม่อาจพิสูจน์ได้จากเทคโนโลยีสมัยนี้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 McArthur, Barbara E.; และคณะ (2010). "New Observational Constraints on the υ Andromedae System with Data from the Hubble Space Telescope and Hobby Eberly Telescope" (PDF). The Astrophysical Journal. 715 (2): 1203. Bibcode:2010ApJ...715.1203M. doi:10.1088/0004-637X/715/2/1203.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัด:   01h 36m 47.8s, +41° 24′ 20″