แอมพลิจูด (amplitude) ของตัวแปรเป็นคาบ (periodic variable) เป็นค่าความเปลี่ยนแปลงของมันในช่วงคาบหนึ่ง โดยค่าอาจเป็นลักษณะต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเช่น เวลาหรือระยะทาง มีนิยามของแอมพลิจูดหลายอย่าง แต่ทั้งหมดก็เป็นฟังก์ชันของขนาดความแตกต่างระหว่างค่าสุดขีดของตัวแปร

กราฟซายน์
1 = Peak amplitude (),
2 = Peak-to-peak amplitude (),
3 = RMS amplitude (),
4 = คาบของคลื่น (ไม่ใช่แอมพลิจูด)

อีกอย่างหนึ่ง แอมพลิจูด คือขนาดของการเปลี่ยนแปลงของค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการแกว่งตัวในระบบ ตัวอย่างเช่น คลื่นเสียง คือการแกว่งตัวของแรงดันในบรรยากาศ แอมพลิจูดของมันคือการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในแต่ละรอบ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในคาบการแกว่งตัวปกติ จะสามารถวาดเส้นกราฟของระบบออกมาโดยให้ค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นแกนตั้ง และเส้นเวลาเป็นแกนนอน แสดงให้เห็นภาพของแอมพลิจูดเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด

ในตำรารุ่นเก่า เฟสก็อาจเรียกว่าแอมพลิจูดเหมือนกัน[1]

หลักการของแอมพลิจูด

แก้

แอมพลิจูดแบบพีคทูพีค

แก้

แอมพลิจูดแบบพีคทูพีค (Peak-to-peak amplitude) คือการวัดค่าความเปลี่ยนแปลงจากจุดสูงสุดของการเคลื่อนที่ทางด้านหนึ่งไปจนถึงจุดต่ำสุดการเคลื่อนที่ในอีกด้านหนึ่ง สามารถวัดได้จากมิเตอร์บางชนิดที่มีวงจรเหมาะสม หรือจากการดูรูปคลื่นบนออสซิลโลสโคป

แอมพลิจูดแบบอาร์เอ็มเอส

แก้

แอมพลิจูดแบบอาร์เอ็มเอส (Root mean square (RMS) amplitude) ใช้มากในวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คือการหารากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของขนาดการเคลื่อนที่แนวดิ่งในกราฟนับจากศูนย์ในช่วงเวลาหนึ่ง[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Knopp, Konrad; Bagemihl, Frederick (1996). Theory of Functions Parts I and II. Dover Publications. p. 3. ISBN 0-486-69219-1.
  2. Department of Communicative Disorders, University of Wisconsin-Madison. RMS Amplitude เก็บถาวร 2013-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-08-22