อินฟันตากริสตินาแห่งสเปน
อินฟันตากริสตินา เฟเดริกา บิกโตเรีย อันโตเนีย เด ลา ซานติซิมา ตรินิดัด เด บอร์บอน อี เกรเซีย (สเปน: Cristina Federica Victoria Antonia de la Santísima Trinidad de Borbón y Grecia; ประสูติ: 13 มิถุนายน พ.ศ. 2508) หรือพระอิสริยยศเดิมว่า อินฟันตากริสตินา ดัชเชสแห่งปัลมาเดมายอร์กา (Infanta Cristina, Duquesa de Palma de Mallorca) เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน ทั้งเป็นพระขนิษฐาในอินฟันตาเอเลนา ดัชเชสแห่งลูโก และพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6
อินฟันตากริสตินาแห่งสเปน | |||||
---|---|---|---|---|---|
ประสูติ | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2508 มาดริด ประเทศสเปน | ||||
พระสวามี | อิญญากิ อูร์ดังการิน อี ลิบาร์ต (พ.ศ. 2540–2566) | ||||
| |||||
พระบุตร | ฆวน อูร์ดังการิน ปาโบล อูร์ดังการิน มิเกล อูร์ดังการิน อิเรเน อูร์ดังการิน | ||||
ราชวงศ์ | บูร์บง | ||||
พระบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน | ||||
พระมารดา | สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน | ||||
ลายพระอภิไธย |
ธรรมเนียมพระยศของ อินฟันตากริสตินา | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | Her Royal Highness (ใต้ฝ่าพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Royal Highness (พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ) |
อินฟันตากริสตินาเสกสมรสกับอิญญากิ อูร์ดังการิน อี ลิบาร์ต เมื่อ พ.ศ. 2540 มีพระบุตรด้วยกัน 4 คน ใน พ.ศ. 2557 ทั้งสองตกเป็นข่าวด้วยถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน[1][2] ทั้งนี้อินฟันตากริสตินาอยู่ในลำดับที่ 6 ของการสืบราชบัลลังก์สเปน[3]
พระประวัติ
แก้อินฟันตากริสตินา เฟเดริกา ประสูติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ทรงบัพติศมาโดยอาร์ชบิชอปแห่งมาดริด ณ โบสถ์ภายในพระราชวังซาร์ซูเอลา มีพระบิดาทูนหัวและพระมารดาทูนหัว คือ อัลฟอนโซ ดยุกแห่งอ็องฌูและกาดิซ และอินฟันตามารีอา กริสตินาแห่งสเปน
พระองค์เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนซานตามาริอาเดลกามิโน (Santa María del Camino) ระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด เมื่อ พ.ศ. 2532 แล้วทรงศึกษาต่อระดับปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยทรงเริ่มปฏิบัติงานในองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปีถัดมา
นอกจากภาษาสเปน พระองค์สามารถรับสั่งภาษากาตาลา อังกฤษ และกรีก
เสกสมรส
แก้อินฟันตากริสตินาเสกสมรสกับอิญญากิ อูร์ดังการิน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสมาชิกนักกีฬาแฮนด์บอลโอลิมปิก[4] เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ณ เมืองบาร์เซโลนา และเนื่องจากก่อนหน้านี้อินฟันตากริสตินาได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ "ดัชเชสแห่งปัลมาเดมายอร์กา" จากพระราชบิดา[5] ด้วยเหตุนี้นายอูร์ดังการินจึงมีพระยศเป็น "ดยุกแห่งปัลมาเดมายอร์กา" ตามภริยา ทั้งสองมีพระบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่
- ดอนฆวน อูร์ดังการิน (29 กันยายน พ.ศ. 2542)
- ดอนปาโบล อูร์ดังการิน (6 ธันวาคม พ.ศ. 2543)
- ดอนมิเกล อูร์ดังการิน (30 เมษายน พ.ศ. 2545)
- ดอญญา อิเรเน อูร์ดังการิน (5 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
การฉ้อโกง
แก้อินฟันตากริสตินาและพระสวามี ตกเป็นข่าวด้วยถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน โดยเรื่องเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2555 เมื่อดยุกแห่งปัลมาเดมายอร์กา (ยศในขณะนั้น) ใช้เส้นสายให้องค์กรการกุศลส่วนตัวได้กำไรจากรัฐบาล 5,600,000 ยูโร จากการเก็บเงินเกินจำนวนจากรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อใช้ในการแข่งกีฬา ในเดือนกันยายนปีถัดมาอินฟันตากริสตินาได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ว่าทรงรับผลประโยชน์ด้วย[6] เนื่องจากดัชเชสดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร ทั้งยังร่วมกันตั้งบริษัทบังหน้าเพื่อทำการฟอกเงิน[4] ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สเปนที่เชื้อพระวงศ์เข้ารับพิจารณาคดีเช่นสามัญชน และส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์พระราชวงศ์สเปน[7]
จากการที่พระองค์มีส่วนพัวพันกับคดีฉ้อโกงดังกล่าวซึ่งสร้างความเสื่อมเสียแก่พระราชวงศ์ สำนักพระราชวังสเปนจึงมีแถลงการณ์ระบุว่าสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 มีพระบรมราชโองการถอดพระอิสริยยศอินฟันตากริสตินาออกจากการเป็น "ดัชเชสแห่งปัลมาเดมายอร์กา" เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558[8][9][10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ""เจ้าหญิงสเปน" ขึ้นศาลใต่สวนข้อหาฉาว "ฉ้อโกงและฟอกเงิน"". ผู้จัดการออนไลน์. 9 กุมภาพันธ์ 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าหญิงสเปนถูกตั้งข้อหา 'คอร์รัปชัน' อย่างเป็นทางการ". ไทยรัฐออนไลน์. 25 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "La infanta Leonor, primera en la línea de sucesión". lainformacion.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "อัยการเสนอจำคุก สวามีเจ้าหญิงสเปน 19 ปี-ปรับ 3.5 ล้านยูโร". ไทยโพสต์. 11 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Real Decreto 1502/1997
- ↑ "เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสเปนยื่นอุทธรณ์ ค้านข้อหาคอร์รัปชัน". ไทยรัฐออนไลน์. 3 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พรรณิการ์ วานิช (10 มกราคม 2559). "เจ้าหญิงสเปนเตรียมขึ้นศาลคดีฉ้อโกง". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-12. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Spanish king strips sister of duchess title amid tax evasion scandal". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 12 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "'เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสเปน' ถูกถอดพระยศแล้ว". วอยซ์ทีวี. 12 มิถุนายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-24. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กษัตริย์สเปน ทรงถอดพระยศ เจ้าหญิงคริสตินา พระเชษฐภคินี". ไทยรัฐออนไลน์. 12 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Her Royal Highness the Infanta Cristina (Official profile) (สเปน)
- Royal Household of HM the King official website (อังกฤษ) (สเปน)
- Latest News on Infanta Christina เก็บถาวร 2013-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | อินฟันตากริสตินาแห่งสเปน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บิกโตเรีย เด มาริชาลาร์ อี บอร์บอน | ลำดับสืบราชบัลลังก์แห่งสเปน (อันดับที่ 6) |
ฆวน อูร์ดังการิน |