อาเรนาดาอามาโซเนีย
อาเรนาดาอามาโซเนีย (โปรตุเกส: Arena da Amazônia) เป็นสนามกีฬาแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองมาเนาช์ ประเทศบราซิล มีความจุทั้งหมด 44,300 ที่นั่งถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2010 ถึง 2014 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 และการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
ชื่อเต็ม | อาเรนาริวัลโดปัลมาลิมา |
---|---|
ที่ตั้ง | มาเนาช์, อามาโซนัส, บราซิล |
พิกัด | 3°4′59″S 60°1′41″W / 3.08306°S 60.02806°W |
เจ้าของ | รัฐบาลของรัฐอามาโซนัส |
ที่นั่งพิเศษ | 68 |
ความจุ | 44,300[2] |
ขนาดสนาม | 105 x 68 เมตร |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | 2010–14 |
เปิดใช้สนาม | 9 มีนาคม 2014 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 605 ล้าน R$[1] 270 ล้าน US$ 200 ล้าน € |
สถาปนิก | อีเอ็มพี |
การใช้งาน | |
นาซิอองนาล (2014–ปัจจุบัน) |
สนามถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมของสนามกีฬาริวัลโด ลิมา โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของรัฐอามาโซเนีย 25% และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาบราซิล 75% สนามได้รับการออกแบบโดย เกอเคิน มาร์ก อุน พาร์สนาส โดยได้แรงบันดาลใจมาจากป่าฝนอเมซอนที่ล้อมรอบเมืองมาเนาช์และโครงสร้างด้านนอกของโลหะถูกออกแบบมาเพื่อทำให้เกิดการสร้างงานการทำตะกร้าฟางซึ่งทำขึ้นในภูมิภาค สนามถูกสร้างขึ้นโดย อังแดร์ กุชแชร์ฮิส บริษัท วิศวกรรมสัญชาติบราซิล[3]
โดยมีความจุประมาณ 44,300 คน, มีร้านอาหารที่หรูหรา, ที่จอดรถใต้ดินและการเข้าถึงสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ นอกจากนี้ยังมีระบบรีไซเคิลน้ำฝนในสถานที่และระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อลดการใช้น้ำและถูกออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากการระบายอากาศตามธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงาน นอกจากนี้วัสดุที่นำมาสร้างสนามมากกว่า 95% มาจากการรื้อถอนสนามกีฬาเก่าที่ได้ถูกนำมารีไซเคิล[3]
สนามได้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2014 ในการแข่งขันโกปาเวร์จี ระหว่าง นาซิอองนาล พบกับ กลุบบิ ตู เฮโม ซึ่งผลจบลงด้วยคะแนน 2–2 รวมผลสองนัด 3–3 ซึ่งทำให้ กลุบบิ ตู เฮโม ชนะด้วยกฎประตูทีมเยือน[4]
ฟุตบอลโลก 2014
แก้อาเรนาดาอามาโซเนีย เป็น 1 ใน 12 สนามที่ใช้แข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล เป็นเจ้าภาพ โดยแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มเท่านั้น
วันที่ | เวลา (UTC-04) | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รอบ | ผู้ชม |
---|---|---|---|---|---|---|
14 มิถุนายน 2014 | 18:00 | อังกฤษ | 1–2 | อิตาลี | กลุ่ม ดี | 39,800 |
18 มิถุนายน 2014 | 18:00 | แคเมอรูน | 0–4 | โครเอเชีย | กลุ่ม เอ | 39,982 |
22 มิถุนายน 2014 | 18:00 | สหรัฐ | 2–2 | โปรตุเกส | กลุ่ม จี | 40,123 |
25 มิถุนายน 2014 | 16:00 | ฮอนดูรัส | 0–3 | สวิตเซอร์แลนด์ | กลุ่ม อี | 40,322 |
การแข่งขันของทีมชาติบราซิล
แก้วันที่ | เวลา (UTC−04:00) | ทีม | ผล | ทีม | รอบ | ผู้ชม |
---|---|---|---|---|---|---|
5 กันยายน 2016 | 20:45 | บราซิล | 2–1 | โคลอมเบีย | ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก | 36,609 |
12 ตุลาคม 2021 | --:-- | บราซิล | – | ปารากวัย | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อาเรนาดาอามาโซเนีย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
อ้างอิง
แก้- ↑ "Com ritmo acelerado, obras da Arena da Amazônia chegam a 76% (With fast pace, the Arena da Amazonia work reaches 76%)". O Globo. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
- ↑ "Governo do Estado do Amazonas" (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ June 6, 2016.
- ↑ 3.0 3.1 "Arena da Amazônia - The Stadium Guide". สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
- ↑ NACIONAL AM VS. REMO 2 - 2 soccerway สิบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2020