อาคารไปรษณีย์กลาง

อาคารเก่าแก่สำคัญในเขตบางรัก

อาคารไปรษณีย์กลาง หรือ ไปรษณีย์กลาง บางรัก เป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เคยเป็นสถานกงสุลอังกฤษและที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข ตัวอาคารมีลักษณะแบบสถาปัตยกรรมสากลและอลังการศิลป์ (art deco) จิตรเสน อภัยวงศ์ และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) เป็นผู้ออกแบบ[3]

อาคารไปรษณีย์กลาง
General Post Office
Grand Postal Building
อาคารไปรษณีย์กลาง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทที่ทำการไปรษณีย์
สถาปัตยกรรม
เมือง2 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°43′37″N 100°30′56″E / 13.72694°N 100.51556°E / 13.72694; 100.51556
เริ่มสร้าง24 มิถุนายน พ.ศ. 2483[1]
ผู้สร้างกรมไปรษณีย์โทรเลข
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างก่ออิฐถือปูน
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกจิตรเสน อภัยวงศ์
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)
วิศวกรเอ็ช เฮอรมัน[2]

ปัจจุบัน อาคารใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของไปรษณีย์ไทย ไปรษณีย์เขตบางรัก และสำนักงานใหญ่ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

บุคคลทั่วไปสามารถชมภายในอาคารส่วนโถงตรงกลางซึ่งใช้จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนของไปรษณีย์ไทย และสามารถเข้าชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในส่วนสาธารณะ ได้แก่ ห้องจัดนิทรรศการบริเวณด้านหลังของอาคาร และสวนดาดฟ้าสาธารณะ (public rooftop garden) ส่วนที่เหลือนั้นสงวนไว้สำหรับสมาชิกของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเท่านั้น[4]

ลักษณะของอาคาร

แก้

ด้านบนของอาคารประดับด้วยรูปสลักครุฑสีชมพูอิฐห้อยพวงมาลาเท้างุ้ม ขนาด 2 เท่าคนจริง ซึ่งเป็นผลงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2486 เชื่อกันว่า ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา อาคารแห่งนี้รอดพ้นจากการถูกการระเบิดทำลายได้อย่างปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิฤทธิ์ของครุฑดังกล่าว[5]

ด้านหน้าอาคารมีลานกว้างสาธารณะที่ผู้คนในพื้นที่นิยมมาออกกำลังกายและพักผ่อนช่วงเย็น ตรงกลางของลานประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ก่อกำเนิดกิจการไปรษณีย์โทรเลขของไทย

การจัดสรรพื้นที่

แก้

ในปัจจุบันอาคารไปรษณีย์กลางมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้งานดังนี้ (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561)[ต้องการอ้างอิง]

ไปรษณีย์ไทย

แก้
  • ส่วนตรงกลางของอาคารเป็นโถงจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนของไปรษณีย์ไทย
  • อาคารปีกทิศเหนือ ชั้น 1 เป็นที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์ เขตบางรัก

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

แก้
  • อาคารปีกทิศใต้
    • ชั้น 1: ทางเข้าหลักของศูนย์ และร้านค้าของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 2: ห้องประชุม ห้องประชุมเชิงปฏิบัติการ ห้องจัดนิทรรศการ
    • ชั้น 3-4: สำนักงานของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 5: สวนดาดฟ้าสาธารณะ และส่วนเชื่อมต่อกับอาคารด้านหลัง
  • อาคารด้านหลัง
    • ชั้น 1: ทางเข้าด้านหลังของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และห้องจัดนิทรรศการ
    • ชั้น 2: แมตทีเรียลคอนเน็กซ์ซันเซ็นเตอร์ (Material ConneXion® Centre) ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
    • ชั้น 3: แฟ็บคาเฟ่ (Fab Cafe) และพื้นที่จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    • ชั้น 4: ทีซีดีซีรีซอร์ซเซ็นเตอร์ (TCDC Resource Centre) ห้องสมุดด้านการออกแบบ และ โค-เวิร์กกิงสเปซ (Co-Working space)
    • ชั้น 5: ทีซีดีซีรีซอร์ซเซ็นเตอร์ (TCDC Resource Centre) ห้องสมุดด้านการออกแบบ, โค-เวิร์กกิงสเปซ (Co-Working space), และสวนดาดฟ้าสำหรับสมาชิก (private rooftop garden)

นอกจากนี้ ด้านหลังของอาคารยังมีท่าเรือสำหรับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปไอคอนสยาม อีกด้วย

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กาลครั้งนั้น ณ วันนี้...70 ปี ไปรษณีย์กลาง
  2. "ประวัติความเป็นมาของไปรษณีย์กลาง บางรัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  3. "อาคารไปรษณีย์กลาง (Grand Postal Office)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-25.
  4. PROGRAM.com
  5. ตึกงามแห่งประวัติศาสตร์ไปรษณีย์ไทย ไปรษณีย์กลาง-ไปรษณีย์นฤมิตร

13°43′37″N 100°30′56″E / 13.72694°N 100.51556°E / 13.72694; 100.51556