อาการปวดประสาทไทรเจมินัล

อาการปวดประสาทไทรเจมินัล หรือ ไทรเจมินัลนีวรอลเกีย (อังกฤษ: Trigeminal neuralgia; TN หรือ TGN) เป็นโรคที่แสดงอาการปวดระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทไทรเจมินัล[1] อาการนี้เป็นชนิดหนึ่งของความเจ็บปวดจากพยาธิสภาพของเส้นประสาท[9] และแบ่งออกเป็นสองชินด ได้แก่: ทั่วไป (typical) และ ไม่ทั่วไป[1] รูปแบบทั่วไปนั้นมีอาการคือชุดความเจ็บปวดที่รุนแรง ฉับพลัน และคล้ายการช็อกบนข้างหนึ่งของใบหน้า และค้างอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับวินาทีหรือนาที[1] กลุ่มความเจ็บปวดนี้อาจเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นชั่วโมงได้[1] รูปแบบไม่ทั่วไปมีอาการคือปวดร้อนตลอดเวลาแต่อาการปวดรุนแรงน้อยกว่า[1] การเจ็บปวดอาจถูกกระตุ้นได้จากการสัมผัสใบหน้า[1] และผู้ป่วยอาจมีอาการทั้งแบบทั่วไปและไม่ทั่วไปเกิดขึ้นพร้อมกัน[1] อาการนี้เป็นหนึ่งในความเจ็บป่วยที่มีความเจ็บปวดมากที่สุดในการแพทย์ และมักส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย[7]

อาการปวดประสาทไทรเจมินัล
ชื่ออื่นตีค ดูลูโร (Tic douloureux),[1] พรอซอพอลเกีย (prosopalgia),[2] โรคฟอเธอร์กีลล์ส์ (Fothergill's disease),[3] โรคฆ่าตัวตาย (suicide disease)[4]
ภาพเขียน เดอะสครีม โดยเอดวอร์ด มุงก์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเจ็บปวดที่ใบหน้าโดยทั่วไป[5] และใช้โดยเฉพาะมนอาการปวดประสาทไทรเจมินัล[6]
สาขาวิชาประสาทวิทยา
อาการทั่วไป: อาการเจ็บรุนแรงคล้ายอาการช็อกที่ข้างหนึ่งของใบหน้าอาจเป็นไปนานเป็นวินาทีหรือนาที[1]
พบน้อย: อาการเจ็บร้อนต่อเนื่อง[1]
ภาวะแทรกซ้อนอาการซึมเศร้า[7]
การตั้งต้นอายุ > 50 ปี[1]
ประเภทอาการปวดเส้นประสาทไทรเจมินอลผิดปกติและทั่วไป[1]
สาเหตุเชื่อว่าเกี่ยวของกับไมยีลินของเส้นประสาทไทรเจมินัล[1][8]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันอาการปวดประสาทหลังการบำบัด[1]
การรักษายา, ผ่าตัด[1]
ยาคาร์บามาเซปีน, ออกซ์คาร์บาเซปีน[8]
พยากรณ์โรค80% ดีขึ้นหลังการรักษาแรก[8]
ความชุก1 ใน 8,000 คนต่อปี[1]

สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดจากการเสื่อมสลายของไมยีลินที่หุ้มเส้นประสาทไทรเจมินัล[1][8] รวมถึงอาจเกิดจากการกดทับของเส้นเลือดขณะที่เส้นประสาทเดินทางออกจากก้านสมอง, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการเจ็บปวด[1] สาเหตุที่พบได้น้อยรองลงมา เช่น เนื้องอก หรือ การผิดรูปยองหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 "Trigeminal Neuralgia Fact Sheet". NINDS. November 3, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2016.
  2. Hackley, CE (1869). A text-book of practical medicine. D. Appleton & Co. p. 292. สืบค้นเมื่อ 2011-08-01. prosopalgia.
  3. Bagheri, SC; และคณะ (December 1, 2004). "Diagnosis and treatment of patients with trigeminal neuralgia". Journal of the American Dental Association. 135 (12): 1713–7. doi:10.14219/jada.archive.2004.0124. PMID 15646605. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-08-01.
  4. Adams, H; Pendleton, C; Latimer, K; Cohen-Gadol, AA; Carson, BS; Quinones-Hinojosa, A (May 2011). "Harvey Cushing's case series of trigeminal neuralgia at the Johns Hopkins Hospital: a surgeon's quest to advance the treatment of the 'suicide disease'". Acta Neurochirurgica. 153 (5): 1043–50. doi:10.1007/s00701-011-0975-8. PMID 21409517. S2CID 28245294.
  5. Williams, Christopher; Dellon, A.; Rosson, Gedge (5 March 2009). "Management of Chronic Facial Pain". Craniomaxillofacial Trauma and Reconstruction. 2 (2): 067–076. doi:10.1055/s-0029-1202593. PMC 3052669. PMID 22110799.
  6. "Facial Neuralgia Resources". Trigeminal Neuralgia Resources / Facial Neuralgia Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  7. 7.0 7.1 Okeson, JP (2005). "6". ใน Lindsay Harmon (บ.ก.). Bell's orofacial pains: the clinical management of orofacial pain. Quintessence Publishing Co, Inc. p. 114. ISBN 0-86715-439-X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ob2010
  9. Cruccu, Giorgio; Di Stefano, Giulia; Truini, Andrea (2020-08-20). Ropper, Allan H. (บ.ก.). "Trigeminal Neuralgia". New England Journal of Medicine (ภาษาอังกฤษ). 383 (8): 754–762. doi:10.1056/NEJMra1914484. ISSN 0028-4793. PMID 32813951.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก