อัสแซสซินส์ครีด
อัสแซสซินส์ครีด (อังกฤษ: Assassin's Creed) เป็นซีรีส์เกมสร้างจากนิยายอิงประวัติศาสตร์แนวแอ็กชันผจญภัย, ลอบฆ่า, โลกเปิด จำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โดยจะปรากฏในรูปแบบวิดีโอเกมเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอสเท็น, นินเทนโด ดีเอส, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล, เพลย์สเตชันวิต้า, ไอโอเอส, เอชพีเว็บโอเอส[1] ,แอนดรอยด์ ,โนเกียซิมเบียนวินโดวส์โฟน และวียู พัฒนาโดยยูบิซอฟต์ มอนทรีออล รูปแบบเกมมือถือพัฒนาโดยเกมลอฟท์ และกริพโตไนต์ สตูดิโดส์ พร้อมด้วยพัฒนาเพิ่มเติมโดยยูบิซอฟต์ มอนทรีออล เป็นเกมซีรีส์ที่ได้รับความนิยมมากจากประชาชนทั่วไปและมีเสียงจากนักวิจารณ์ และขายได้มากกว่า 73 ล้านชุดนับถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 กลายเป็นแฟรนไชส์เกมที่ขายดีที่สุดของยูบิซอฟต์[2] ซีรีส์เกมมีแรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Alamut จากนักเขียนชาวสโลวีเนีย วลาดิเมีย บาร์ตอล (Vladimir Bartol)[3] และถือว่ามีรูปแบบพัฒนาต่อ (spiritual successor) จากซีรีส์ พรินซ์ออฟเปอร์เซีย[4]
อัสแซสซินส์ครีด | |
---|---|
โลโก้ของเกมซีรีส์ อัสแซสซินส์ครีด | |
ประเภท | บันเทิงคดีประวัติศาสตร์, แอ็กชันผจญภัย, ลอบฆ่า |
ผู้พัฒนา | ยูบิซอฟต์ มอนทรีออล เกมลอฟต์ กริพโตไนต์เกมส์ |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูบิซอฟต์ |
ผู้จัดสร้าง | Patrice Désilets Jade Raymond Corey May |
แต่งเพลง | Jesper Kyd (I, II, Brotherhood, Revelations) Lorne Balfe (Revelations, III) Winifred Phillips (III: Liberation) |
วางจำหน่ายครั้งแรก | อัสแซสซินส์ครีด 13 พฤศจิกายน 2007 |
จำหน่ายครั้งล่าสุด | อัสแซสซินส์ครีด เน็กซัส วีอาร์ 16 พฤศจิกายน 2023 |
เนื้อเรื่องโดยรวมของซีรีส์
แก้เกมอัสแซสซินส์ครีดมีเนื้อเรื่องข้องเกี่ยวกับคู่ปรับระหว่างสมาคมลับยุคโบราณ 2 สมาคม ได้แก่ เหล่ามือสังหารหรือนักฆ่า (assassin) และอัศวินเทมพลาร์ (Knight Templar) และความสัมพันธ์แบบอ้อม ๆ กับเผ่าพันธุ์ก่อนมนุษยชาติเผ่าพันธุ์หนึ่งที่ซึ่งสังคมและโลกของพวกเขาถูกพายุสุริยะลูกมหึมาทำลายไป ในฉากยุคปัจจุบันของเกมคือปี ค.ศ. 2012 นำเสนอตัวละคร เดสมอนด์ ไมล์ส บาร์เทนเดอร์ที่มีบรรพบุรุษหลายชั่วอายุเป็นนักฆ่า แม้ว่าจะถูกเลี้ยงดูมาอย่างนักฆ่า แต่เขากลับทิ้งครอบครัวไปใช้ชีวิตแบบปกติธรรมดา ทีแรกเขาถูกลักพักตัวโดยองค์การขนาดใหญ่ชื่อ แอ็บสเตอร์โก อินดัสตรี คราบอัศวินเทมพลาร์ยุคปัจจุบัน ผู้ซึ่งรู้เรื่องราวสายเลือดบรรพบุรุษของเดสมอนด์ เดสมอนด์ถูกบีบให้ใช้เครื่อง "แอนิมัส" (Animus) อุปกรณ์ที่พาเขาย้อนกลับไปหาความทรงจำของบรรพบุรุษของเขา จากนั้น แอ็บสเตอร์โกพยายามตามหาวัตถุโบราณหลายชิ้น หรือเรียกว่า "ชิ้นส่วนของเอเดน" (Pieces of Eden) ที่กุมอำนาจมหาศาลไว้ เพื่อที่จะได้ครอบครองมนุษยชาติและปรับเปลี่ยนโชคชะตา นำพามนุษยชาติสู่กลุ่มที่มีเพียงหนึ่งเดียว เดสมอนด์ยังได้พบกับเหล่านักฆ่ายุคปัจจุบันมากมาย จึงตัดสินใจร่วมมือกัน เดสมอนด์ใช้เครื่องแอนิมัสเวอร์ชันใหม่ (แอนิมัส 2.0) เพื่อเข้าถึงความทรงจำของบรรพบุรุษเพื่อหาชิ้นส่วนของเอเดนต่อไป เพื่อนำกลับคืนมาก่อนที่แอ็บสเตอร์โกจะเอาไป ขณะที่เขาสัมผัสกับประสบการณ์เหล่านี้ ความสามารถของเหล่าบรรพบุรุษได้รั่วไหลมาถึงตัวเดสมอนด์ผ่านทางกรรมพันธุ์ เรียกว่า บลีดดิงเอฟเฟกต์ (Bleeding Effect) ทำให้เขาได้รับทักษะของนักฆ่าจากบรรพบุรุษ ณ ขณะนั้นพร้อมกับความทรงจำและบุคลิกลักษณะมากมายเข้าไปในจิตใจของเขา
ในแอนิมัส เดสมอนด์ได้เข้าไปในความทรงจำของนักฆ่ามากมาย ได้แก่ อัลตาเอียร์ อิบึน-ลาอาฮาด (Altaïr ibn-La'Ahad) นักฆ่าผู้อัปยศที่ต้องกู้ชื่อเสียงตนเองในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3, เอซิโอ ออดิทอเร ดา ฟิเรนเซ (Ezio Auditore da Firenze) นักฆ่าในอิตาลีในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี และเรอดูนเฮอเกดูน (Ratonhnhaké:ton) หรือ คอนเนอร์ เคนเวย์ (Conner Kenway) นักฆ่าครึ่งโมฮอว์กครึ่งชาวบริติชในระหว่างการปฏิวัติอเมริกา จากเรื่องราวทั้งหมด เดสมอนด์ได้เรียนรู้ว่าทั้งหมดได้พาดพิงถึงคำทำนายวันสิ้นโลกปี ค.ศ. 2012 จากหัวข้อทดสอบจากเครื่องแอนิมัสรุ่นเก่า นั่นคือ หัวข้อ 16 (Subject 16) เหตุการณ์กลายเป็นว่าภัยพิบัติที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ทำลายมนุษยชาติยุคโบราณไปหมดสิ้น และเขาพบว่าความทรงจำของเขาจะเป็นกุญแจที่ทำให้โลกอยู่รอดจากพายุลูกที่สอง ในระหว่างนั้น เดสมอนด์ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ปกครองเผ่าพันธุ์โบราณได้แก่ จูปิเตอร์ มิเนอร์วา และจูโน หลังจากเดสมอนด์เสียชีวิตเพื่อรักษาโลกไว้ ต่อมาความทรงจำของเขาได้ไปอยู่ในไซเบอร์สเปซ[5] และแอ็บสเตอร์โกสามารถเข้าถึงความทรงจำเหล่านี้ได้ แอ็บสเตอร์โกได้เปิดหัวข้อใหม่และจ้างคนใหม่ให้ใช้เครื่องแอนิมัส หัวข้อใหม่เป็นการเรียกคืนความทรงจำของเอ็ดเวิร์ด เคนเวย์ (Edward Kenway) ปู่ของเรอดูนเฮอเกดูน ซึ่งเป็นโจรสลัดในระหว่างยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษ[6]
รายชื่อเกม
แก้ช่วงเวลาของเนื้อเรื่องในเกม | ชื่อเกม | ปีที่จัดจำหน่าย | คอนโซล | คอมพิวเตอร์ | เครื่องเล่นเกมพกพา | โทรศัพท์มือถือ | อื่นๆ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 | Assassin's Creed | 2007 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | — | — | — | ||||||||||||
Assassin's Creed: Altaïr's Chronicles | 2008 | — | — | นินเทนโด ดีเอส | แอนดรอยด์, ไอโอเอส, ซิมเบียน, เว็บโอเอส, วินโดวส์ โฟน | — | |||||||||||||
Assassin's Creed: Bloodlines | 2009 | — | — | เพลย์สเตย์ชัน พอร์ตเอเบิล | — | — | |||||||||||||
ยุคเรเนซองส์ | Assassin's Creed II | 2009 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | โอเอส เอกซ์, วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | ซิมเบียน | OnLive | ||||||||||||
Assassin's Creed II: Discovery | 2009 | — | — | นินเทนโด ดีเอส | ไอโอเอส | — | |||||||||||||
Assassin's Creed: Brotherhood | 2010 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | โอเอส เอกซ์, วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | ซิมเบียน | OnLive | |||||||||||||
Assassin's Creed: Revelations | 2011 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | แอนดรอยด์, ซิมเบียน | OnLive | |||||||||||||
ยุคล่าอาณานิคม | Assassin's Creed III | 2012 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี ยู | วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | ซิมเบียน | — | ||||||||||||
Assassin's Creed III: Liberation[a] | 2012 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | วินโดวส์ | เพลย์สเตย์ชัน วิต้า, นินเทนโด สวิชท์ | — | — | |||||||||||||
Assassin's Creed IV: Black Flag | 2013 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี ยู, — เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน | วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | — | — | |||||||||||||
Assassin's Creed Rogue | 2014 | เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 | วินโดวส์ | นินเทนโด สวิชท์ | — | — | |||||||||||||
ยุคปฏิวัติฝรั่งเศส | Assassin's Creed Unity | 2014 | เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ วัน | วินโดวส์ | — | — | — | ||||||||||||
จีนสมัยราชวงศ์ | Assassin's Creed Chronicles: China[b] | 2015 | |||||||||||||||||
อังกฤษยุควิกตอเรีย | Assassin's Creed Syndicate | 2015 | |||||||||||||||||
จักรวรรดิซิกข์ | Assassin's Creed Chronicles: India | 2016 | |||||||||||||||||
การปฏิวัติเดือนตุลาคม | Assassin's Creed Chronicles: Russia | ||||||||||||||||||
ยุคราชอาณาจักรทอเลมี (อียิปต์) | Assassin's Creed Origins | 2017 | |||||||||||||||||
สงครามเพโลพอนนีเซียน | Assassin's Creed Odyssey | 2018 | นินเท็นโด สวิตช์ | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | — | — | สตาเดีย | ||||||||||||
การขยายดินแดนของไวกิงเข้าสู่เกาะอังกฤษ | Assassin's Creed Valhalla | 2020 | เพลย์สเตชัน 4
เพลย์สเตชัน 5 เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์ |
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | — | — | — | ||||||||||||
ยุคทองของอิสลาม | Assassin's Creed Mirage | 2023 | เพลย์สเตชัน 4
เพลย์สเตชัน 5 เอกซ์บอกวัน เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์ |
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ | — | ไอโอเอส | — | ||||||||||||
ญี่ปุ่นยุคเซ็งโงกุ | Assassin's Creed Shadows | 2024 | เพลย์สเตชัน 5
เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์ |
แมคโอเอส, วินโดวส์ | — | — | — | ||||||||||||
Notes |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Assassin's Creed: Altair's Chronicles for Palm Pre". Gameloft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-07. สืบค้นเมื่อ December 26, 2010.
- ↑ "Facts & Figures". Ubisoft. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.
- ↑ "Interview: Assassin's Creed". CVG. สืบค้นเมื่อ September 2, 2012.
- ↑ "The Making Of: Assassin's Creed". EDGE. สืบค้นเมื่อ March 3, 2013.
- ↑ Bryan Vore (March 4, 2013). "Assassin's Creed IV: Black Flag". Gameinformer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ March 4, 2013.
- ↑ George, Richard (March 4, 2013). "The Dawn of Assassin's Creed IV: Black Flag". IGN. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.