อัลปราโซแลม

เคมี

อัลปราโซแลม[a] (อังกฤษ: Alprazolam) มีชื่อการค้า เช่น แซแน็กซ์ (Xanax) เป็นต้น เป็นยาสงบประสาทออกฤทธิ์เร็วที่มีระยะเวลาปานกลางในกลุ่มไตรอะโซโลเบนโซไดอะเซพีน (TBZD) ซึ่งเป็นเบนโซไดอะเซพีนที่ผสมกับวงแหวนไตรอะโซล[8] ยานี้ใช้กันมากที่สุดในการรักษาโรควิตกกังวลในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคตื่นตระหนกหรือโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD)[9] โดยทั่วไปเมื่อใช้รักษา GAD อาการจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์[10][11] ส่วนที่ใช้อื่น เช่น รักษาภาวะคลื่นไส้ที่เกิดจากเคมีบำบัด ร่วมกับการรักษาอื่น ปกติอัลปราโซแลมให้กินทางปาก[5]

อัลปราโซแลม
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียงอัลปราโซแลม /ælˈpræzəlæm/ หรือ /ælˈprzəlæm/, แซแน็กซ์ /ˈzænæks/
ชื่อทางการค้าXanax, Xanor, Niravam, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa684001
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
Dependence
liability
สูง[1]
ช่องทางการรับยาทางปาก
ประเภทยาเบ็นโซไดอาเซพีน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S8 (ควบคุม)
  • CA: ตารางรายการ 4
  • DE: Anlage III (in doses higher than 1 mg)
  • UK: Class C
  • US: ตารางรายการ 4 [3]
  • UN: Psychotropic Schedule IV
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล80–90%
การจับกับโปรตีน80%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ โดยผ่าน cytochrome P450 3A4
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยาAlpha-hydroxyalprazolam, 4-hydroxyalprazolam, beta-hydroxyalprazolam
ระยะเริ่มออกฤทธิ์20~60 นาที[4]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพออกฤทธิ์เต็มที่: 11~13 hours[5]
ออกฤทธิ์นาน: 11~16 ชั่วโมง[5]
ระยะเวลาออกฤทธิ์ออกฤทธิ์เต็มที่: 6 ชั่วโมง[4]
ออกฤทธิ์นาน: 11.3 ชั่วโมง
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • 8-Chloro-1-methyl-6-phenyl-4H-[1,2,4]triazolo[4,3-a] [1,4]benzodiazepine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.044.849
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC17H13ClN4
มวลต่อโมล308.77 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Cc1nnc2n1-c1ccc(Cl)cc1C(c1ccccc1)=NC2
  • InChI=1S/C17H13ClN4/c1-11-20-21-16-10-19-17(12-5-3-2-4-6-12)14-9-13(18)7-8-15(14)22(11)16/h2-9H,10H2,1H3 checkY
  • Key:VREFGVBLTWBCJP-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ผลข้างเคียงของยาที่พบทั่วไป มีตั้งแต่ง่วง ซึมเศร้า ปวดศีรษะ รู้สึกเพลีย ปากแห้ง และมีปัญหาเรื่องความจำ ผลการทำให้สงบและอ่อนเพลียของยาบางส่วนอาจดีขึ้นภายในไม่กี่วัน[12] เนื่องจากยานี้มีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด บางที่จึงไม่แนะนำให้ใช้อัลปราโซแลมเป็นยารักษาโรคตื่นตระหนกเป็นยาตัวแรก[13] อาการถอนยาหรือกลับมาป่วยซ้ำอาจเกิดขึ้นได้ถ้าปริมาณยาลดลงกระทันหัน ในการรักษาจึงอาจต้องค่อย ๆ ลดปริมาณยาโดยใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเดือน ความเสี่ยงที่พบน้อยอื่น เช่น ฆ่าตัวตาย[14][15] และมีความเสี่ยงเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเพิ่มขึ้น 2 เท่าเทียบกับผู้ไม่ได้รับยา[16] อัลปราโซแลมออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ GABAA เช่นเดียวกับยากลุ่มเบนโซไดอะเซพีนอื่น

มีการจดสิทธิบัตรอัลปราโซแลมในปี 1971 และได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐในปี 1981[5][17] อัลปราโซแลมเป็นสารควบคุมตามตารางรายการ 4 (ของรัฐบัญญัติสารควบคุม) และเป็นยาที่มีการใช้ในทางที่ผิดบ่อย ทั้งนี้ ยาดังกล่าวมีอยู่เป็นยาสามัญ[1][18] ในปี 2019 ยานี้เป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ในสหรัฐ โดยมีการสั่งจ่ายกว่า 17 ล้านครั้ง[19][20]

เชิงอรรถ แก้

  1. ในประเทศไทยมีคำเรียกว่า "ยาเสียตัว"[6] หรือ "ยาเสียสาว"[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ait-Daoud N, Hamby AS, Sharma S, Blevins D (2018). "A Review of Alprazolam Use, Misuse, and Withdrawal". Journal of Addiction Medicine. 12 (1): 4–10. doi:10.1097/ADM.0000000000000350. PMC 5846112. PMID 28777203.
  2. "Alprazolam Use During Pregnancy". Drugs.com. 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
  3. "Xanax- alprazolam tablet". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
  4. 4.0 4.1 Lilley LL, Snyder JS, Collins SR (2016). Pharmacology for Canadian Health Care Practice. Elsevier Health Sciences. p. 329. ISBN 9781771720663.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 American Society of Health-System Pharmacists (13 November 2017). "Alprazolam Monograph for Professionals". Drugs.com. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.
  6. "alprazolam หรือ ยาเสียตัว". กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
  7. "ยาเสียสาว "อัลปราโซแลม (Alprazolam)" เส้นบางๆ ระหว่างยารักษาหรือสารเสพติด". ไทยรัฐ. 10 May 2022. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
  8. Goldberg R (2009). Drugs Across the Spectrum. Cengage Learning. p. 195. ISBN 9781111782009.
  9. "Alprazolam Tablets, USP". dailymed.nlm.nih.gov. July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.
  10. Verster JC, Volkerts ER (2004). "Clinical pharmacology, clinical efficacy, and behavioral toxicity of alprazolam: a review of the literature". CNS Drug Reviews. 10 (1): 45–76. doi:10.1111/j.1527-3458.2004.tb00003.x. PMC 6741717. PMID 14978513.
  11. Tampi RR, Muralee S, Weder ND, Penland H, บ.ก. (2008). Comprehensive Review of Psychiatry. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins Health. p. 226. ISBN 978-0-7817-7176-4.
  12. Pavuluri MN, Janicak PG, Marder SR (2010). Principles and Practice of Psychopharmacotherapy (5th ed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/ Lippincott Williams & Wilkins. p. 535. ISBN 978-1-60547-565-3.
  13. Moylan S, Giorlando F, Nordfjærn T, Berk M (March 2012). "The role of alprazolam for the treatment of panic disorder in Australia" (PDF). The Australian and New Zealand Journal of Psychiatry. 46 (3): 212–24. doi:10.1177/0004867411432074. PMID 22391278. S2CID 11006795.
  14. Dodds TJ (March 2017). "Prescribed Benzodiazepines and Suicide Risk: A Review of the Literature". The Primary Care Companion for CNS Disorders. 19 (2). doi:10.4088/PCC.16r02037. PMID 28257172.
  15. McCall WV, Benca RM, Rosenquist PB, Riley MA, McCloud L, Newman JC, และคณะ (January 2017). "Hypnotic Medications and Suicide: Risk, Mechanisms, Mitigation, and the FDA". The American Journal of Psychiatry. 174 (1): 18–25. doi:10.1176/appi.ajp.2016.16030336. PMC 5205566. PMID 27609243.
  16. Xu KY, Hartz SM, Borodovsky JT, Bierut LJ, Grucza RA (December 2020). "Association Between Benzodiazepine Use With or Without Opioid Use and All-Cause Mortality in the United States, 1999-2015". JAMA Network Open. 3 (12): e2028557. doi:10.1001/jamanetworkopen.2020.28557. PMC 7726637. PMID 33295972.
  17. Fischer J, Ganellin CR (2006). Analogue-based Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 536. ISBN 9783527607495.
  18. Malamed SF (2009). Sedation: A Guide to Patient Management. Elsevier Health Sciences. p. 105. ISBN 978-0323075961.
  19. "The Top 300 of 2019". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021.
  20. "Alprazolam - Drug Usage Statistics". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021.