อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ชื่อเล่น "เจ้ย" ต่างประเทศเรียก "Joe") เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513กรุงเทพมหานคร เติบโตในจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นบุตรชายของ นายสุวัฒน์ วีระเศรษฐกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น[1] กับนางอรุณ วีระเศรษฐกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาพยนตร์ จากสถาบันศิลปะชิคาโก​ (Art Institute of Chicago) เริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ อภิชาติพงศ์มักทดลองโดยยึดหลักโครงเรื่องที่อิงมาจากละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ การ์ตูน และภาพยนตร์เก่า ๆ มักได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองเล็ก ๆ มักใช้นักแสดงที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่ใช่มืออาชีพ และใช้บทสนทนาสด

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในปี 2553
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในปี 2553
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์ , นักเขียนบทภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

พ.ศ. 2543 ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาวเรื่องแรกของเขา ดอกฟ้าในมือมาร (Mysterious Object at Noon) ได้เข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมากมาย และได้รับคำวิจารณ์พร้อมรางวัล 4 รางวัล และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในปี 2543 โดยนักวิจารณ์นิตยสาร The village voice อภิชาติพงศ์เปิดบริษัทภาพยนตร์ Kick the Machine โดยผลิตภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ประจำปี พ.ศ. 2545ประเทศฝรั่งเศส ถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล The Jury Prize และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเข้าเลือกในสายประกวดหลักของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์

พ.ศ. 2551 อภิชาติพงศ์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัล (ส่วนของภาพยนตร์สายหลัก) ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008[2]

พ.ศ.2564 อภิชาติพงศ์ เปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง Memoria ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2021 (ครั้งที่ 74) ได้สร้างปรากฏการณ์ผู้ชมลุกขึ้นปรบมือ หรือ Standing Ovation นานกว่า 10 นาที ขณะเดียวกัน อภิชาติพงศ์ได้กล่าว "Long Live Cinema" หรือ “ภาพยนตร์จงเจริญ” ออกมา ส่วนภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ รางวัล The Jury Prize หรือรางวัลพิเศษจากกรรมการ นับเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ที่อภิชาติพงศ์ คนไทยคนเดียวที่ได้รับรางวัลนี้[3]

ผลงานภาพยนตร์เรื่องยาว

แก้

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • In competition, Un Certain Regard - 2015 Cannes Film Festival.

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • In competition, Venice Film Festival, Italy, 2006
  • รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Lotus du Meuilleur Film-Grand Prix ในงานเทศกาลภาพยนตร์จากเอเชีย ครั้งที่ 9 ประเทศฝรั่งเศส

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • The Jury Prize, Cannes Film Festival, France, 2004[5]
  • Age d’or Prize, Cinédécouvertes, Belgium, 2004
  • Grand Prize, Tokyo Filmex, Japan, 2004
  • Best Film, The xx International Gay & Lesbian Film Festival in Turin, Italy, 2005
  • Special Jury Prize, The xx International Gay & Lesbian Film Festival in Turin, Italy, 2005
  • Special Jury Prize, Singapore International Film Festival, Singapore, 2005

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • Le Prix Un Certain Regard, Cannes Film Festival, France, 2002
  • Golden Alexander Award – Best Film, Thessaloniki Film Festival, Greece, 2002
  • Grand Prize, TOKYO FILMeX, Japan, 2002
  • The Circle of Dutch Film Critics Award, Rotterdam International Film Festival 2003
  • The International Critics Award (FIPRESCI Prize), Buenos Aires Film Festival 2003
  • Silver Screen Award, Singapore International Film Festival 2003
  • Best International Film Award, Images Festival, Canada 2004

ดอกฟ้าในมือมาร (Mysterious Object at Noon) ภาพยนตร์สารคดี (พ.ศ. 2543)

แก้

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • 2nd Prize, Yamagata International Documentary Film Festival, Japan, 2001
  • NETPAC Special Mention Prize, Yamagata Documentary Film Festival, 2001
  • Grand Prix - Woosuk Award, JeonJu International Film Festival, Korea, 2001
  • Special Citation, "Dragons & Tigers," Vancouver Film Festival, Canada, 2000

Memoria (พ.ศ.2564)

แก้

รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

  • The Jury Prize, Cannes Film Festival, France, 2021[2][6][3]

ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ขนาดสั้น

แก้
  • Song Of The City (2561) หนึ่งในโครงการภาพยนตร์สั้น Ten Years Thailand
  • นิมิต (Meteorites) (2550) ภาพยนตร์สั้นในชุด แด่พระผู้ทรงธรรม
  • Ghost of Asia/ collaboration with Christelle Lheureux (พ.ศ. 2548)
  • Worldly Desires, Korea (พ.ศ. 2548)
  • It is Possible That only Your Heart is Not Enough to Find You a True Love, Korea. (พ.ศ. 2547)
  • This and Million More Lights, for Nelson Mandela Foundation, South Africa (พ.ศ. 2546)
  • Golden Ship/ Brugge Museum - Belgium & Opera City Gallery - Japan (พ.ศ. 2545)
  • Second Love in Hong Kong/ collaboration with Christelle Lheureux (พ.ศ. 2545)
  • I was Sketching/ segment of multi projections, ICC - Sapporo, Japan (พ.ศ. 2544)
  • Masumi is a PC Operator/ Fumiyo is a Designer (พ.ศ. 2544)
  • Haunted Houses: Swan’s Blood/ collaboration with Masahito Araki (พ.ศ. 2544)
  • Haunted Houses/ Istanbul Biennale, Turkey (พ.ศ. 2544)
  • Boys at Noon (พ.ศ. 2543)
  • Malee and the Boy (พ.ศ. 2542)
  • The Lungara Eating Jell-O/ World Artists for Tibet Exhibition (พ.ศ. 2541)
  • Thirdworld (พ.ศ. 2540)
  • Like the Relentless Fury of the Pounding Waves (พ.ศ. 2538)
  • Kitchen and Bedroom (พ.ศ. 2537)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. “เจ้ย อภิชาติพงศ์” ผู้กำกับไทยปลุกรัฐบาลบนเวทีคานส์ กับ 2 ธุรกิจในมือ
  2. 2.0 2.1 Festival de Cannes : Juries 2008
  3. 3.0 3.1 ‘อภิชาติพงศ์’ คอลเอาท์บนเวทีหนังเมืองคานส์ หลัง ‘Memoria’ คว้า JURY Prize ไปครอง สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2564
  4. รางวัลปาล์มทองคำ สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2564
  5. Jury Prize (Cannes Film Festival) สืบค้นเมื่อ 18 กรกฏาคม พ.ศ.2564
  6. ‘อภิชาติพงศ์’ คอลเอาท์บนเวทีหนังเมืองคานส์ หลัง ‘Memoria’ คว้า JURY Prize ไปครอง สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2564
  7. Kaona Pongpipat (16 June 2014). "Pichet conferred with French decoration" (ภาษาอังกฤษ). Bangkok Post.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้