หมาป่าเคราขาว
หมาป่าเคราขาว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.1–0Ma สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Canidae |
เผ่า: | Canini |
สกุล: | Chrysocyon C. E. H. Smith, 1839 |
สปีชีส์: | C. brachyurus |
ชื่อทวินาม | |
Chrysocyon brachyurus (Johann Karl Wilhelm Illiger, 1815) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
หมาป่าเคราขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysocyon brachyurus; อังกฤษ: Maned wolf) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Chrysocyon พบในทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศบราซิล, ประเทศปารากวัย และประเทศโบลิเวีย หมาป่าเคราขาวมีลักษณะโดยผิวเผินคล้ายคลึงกับหมาจิ้งจอก แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยสูงถึงสามฟุตนับจากเท้าถึงหัวไหล่ เพราะมีช่วงขาที่ยาวทำให้การมองเห็นได้ดีเมื่อต้องอยู่ในทุ่งหญ้าหรือที่รกชัฏ มีน้ำหนักประมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัม
ขนลำตัวเป็นสีแดงน้ำตาล โดยมีขนขาและหลังคอเป็นสีดำ ขนปลายหางและใต้ลำคอเป็นสีขาว ขนดำที่หลังคอเป็นขนยาวและตั้งชันได้เวลากลัวหรือต้องการแสดงความก้าวร้าว
หมาป่าเคราขาวมักอาศัยเป็นลำพัง หรือเป็นคู่ ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์หมาป่าขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่มักอยู่เป็นฝูง หมาป่าเคราขาวล่าสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นอาหารในเวลากลางคืน เช่น สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย และ นก นอกเหนือจากนี้ หมาป่าเคราขาวกินผลไม้และพืชอีกหลายชนิดไม่แพ้เนื้อสัตว์ หากไม่ได้กินพืช หมาป่าเคราขาวจะเป็นโรคนิ่วได้
หมาป่าเคราขาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเซอราโด ของบราซิล มีพฤติกรรมชอบกินผลของโลบิรา (Solanum lycocarpum) มาก[2] และเมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลลงบนยอดจอมปลวกเล็ก ๆ ที่ขึ้นในทุ่งหญ้าเซอราโด ซึ่งในมูลนั้นจะมีเมล็ดของโลบิราอยู่ด้วย ซึ่งจะงอกเป็นต้นโลบิราขึ้นมาบนจอมปลวกนั้น เป็นเหตุให้ต้นโลบิราในทุ่งหญ้าเซอราโด มักขึ้นอยู่บนยอดจอมปลวกขนาดเล็ก[3]
ในปัจจุบัน หมาป่าเคราขาวมีจำนวนลดลง เนื่องจากถูกล่าจากมนุษย์ และติดเชื้อโรคจากสุนัขบ้าน หมาป่าเคราขาวเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Rodden, M., Rodrigues , F. & Bestelmeyer, S. (2008). Chrysocyon brachyurus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009. Database entry includes justification for why this species is near threatened.
- ↑ Amboni, M.P. (2007). Dieta, disponibilidade alimentar e padrão de movimentação de lobo-guará, Chrysocyon brachyurus, no Parque Nacional da Serra da Canastra, MG (PDF) (วิทยานิพนธ์ Mestrado em Ecologia, Manejo e Conservação da Vida Silvestre) (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Belo Horizonte: UFMG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 15 September 2015.
- ↑ Mutant Planet: Brazil Cerrado. "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอล พลาเน็ต, ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2556
- ↑ "ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดของสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าและส่งออก" (PDF). 24 เมษายน 2017. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง หน้า ๔.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Bandeira de Melo, L. F., M. A. Lima Sábato, E. M. Vaz Magni, R. J. Young, C. M. Coelho (January 2007). "Secret lives of maned wolves (Chrysocyon brachyurus Illiger 1815): as revealed by GPS tracking collars". Journal of Zoology, 271(1). pp. 27–36. doi:10.1111/j.1469-7998.2006.00176.x.
- Garcia, D., Estrela, G. C., Soares, R. T. G., Paulino, D., Jorge, A. T., Rodrigues, M. A., Sasahara, T. H., & Honsho, C. (2020). "A study on the morphoquantitative and cytological characteristics of the bulbar conjunctiva of the maned wolf (Chrysocyon brachyurus; Illiger, 1815)". Anatomia Histologia Embryologia, 1. doi:10.1111/ahe.12647.
- Vergara-Wilson, V., Hidalgo-Hermoso, E., Sanchez, C. R., Abarca, M. J., Navarro, C., Celis-Diez, S., Soto-Guerrero, P., Diaz-Ayala, N., Zordan, M., Cifuentes-Ramos, F., & Cabello-Stom, J. (2021). "Canine Distemper Outbreak by Natural Infection in a Group of Vaccinated Maned Wolves in Captivity". Pathogens, 10(1), 51. doi:10.3390/pathogens10010051.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chrysocyon brachyurus ที่วิกิสปีชีส์