หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

(เปลี่ยนทางจาก หมวกเกราะ (อิสริยาภรณ์))

หมวกเกราะ หรือ มาลา (อังกฤษ: Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริง[1][2] ในบางประเทศโดยเฉพาะในมุทราศาสตร์ของเยอรมันและนอร์ดิค ก็อาจจะใช้หมวกสองหรือสามใบในตราอาร์มเดียวกัน แต่ละใบก็เป็นสัญลักษณ์ของตำแหน่งประมุขของดินแดนนั้น ฉะนั้นหมวกเกราะและเครื่องยอดจึงเป็นสิ่งสำคัญในมุทราศาสตร์ของเยอรมันและนอร์ดิคและจะไม่แยกจากกัน

หมวกที่เปิดกระบังหน้าหรือมีตะแกรงหน้าบริเวณตาจะเป็นหมวกที่ใช้ได้เฉพาะขุนนางผู้มีตำแหน่งสูง ขณะที่ตราของขุนนางผู้ไม่มีตำแหน่งและผู้ดีท้องถิ่น (burgher) จะเป็นหมวกเกราะปิดหน้า[2] แม้ว่าการจัดลำดับการใช้จะมีกฎ แต่ลักษณะของหมวกของแต่ละกลุ่มก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ[2] การวิวัฒนาการของหมวกเกราะในมุทราศาสตร์เป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงวิธีการรบพุ่งของยุคกลาง การใช้จำนวนซี่ของหมวกเปิดหน้าในการระบุตำแหน่งของเจ้าของตรามิได้ใช้กันจนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1615[3] เมื่อการประลองบนหลังม้าด้วยหอกยาวมาแทนที่ด้วยการใช้พลอง (Mace) จุดประสงค์ก็เพื่อจะทุบเครื่องยอดให้หักจากหมวก หมวกที่ปิดหน้าเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปเป็นหมวกที่มีส่วนที่เปิดบริเวณตามากขึ้นเพื่อให้ผู้สวมสามารถมองเห็นได้มากขึ้น โดยมีซี่โลหะหรือตะแกรงป้องกันบริเวณตา เวียนนาจำกัดการใช้หมวกที่มีซี่สำหรับขุนนางและผู้มีความรู้ทางกฎหมายและเทววิทยา ขณะที่หมวกแบบปิดใช้ได้โดยทั่วไป[4] ทิศทางของด้านหน้าของหมวกหรือจำนวนซี่ของตะแกรงก็มีการระบุอย่างละเอียดในคู่มือต่อมา[5] หมวกเกราะของพระมหากษัตริย์ เป็นสีทองหันหน้าตรงเปิดกระบังมียอดเป็นมงกุฎกลายมาเป็นหมวกเกราะที่ใช้โดยพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซีย[5] สำหรับมุทราศาสตร์ทางศาสนา (ecclesiastical heraldry) สังฆราชและนักบวชจะใช้หมวกนักบวช (mitre) ที่เหมาะแก่ตำแหน่งฐานะแทนที่หมวกเกราะ[6]

ในประวัติศาสตร์หมวกเกราะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ได้รับเป็นเกียรติ แต่เป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นสิทธิที่ได้รับ ฉะนั้นหมวกเกราะที่มีแพรและพู่ประดับจะไม่ถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องแม้แต่ในการใช้ในตราที่ไม่มีเครื่องยอด[7] ถ้าตรามีเครื่องยอดมากกว่าหนึ่ง ในมุทราศาสตร์อังกฤษจะวาดทุกยอดบนหมวกใบเดียว ขณะที่มุทราศาสตร์เยอรมนีที่ปฏิบัติกันมากหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ละยอดก็จะมีหมวกของตนเอง[8] บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปหมวกเกราะหลายใบจะหันเข้าหากัน ถ้าเป็นจำนวนคี่หมวกใบกลางก็จะหันหน้าตรง แต่ในสแกนดิเนเวียหมวกจะหันออกด้านนอก[9] ตราอาร์มของมาร์กราฟคนสุดท้ายของบรานเดนบวร์ก-อันสบาคเป็นโล่ที่แบ่งเป็น 21 แบ่งสี่ที่มีหมวกเกราะ 15 ใบพร้อมเครื่องยอด[10]

แบบหมวก ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง
Meuble héraldique Heaume comte.svg
หมวกเกราะเปิดหน้ามีตะแกรงสำหรับตราของขุนนางผู้มีศักดิ์สูง
Royal Coat of Arms of the United Kingdom (1952-2022).svg
ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร
Duke of Waltham Arms.png
ตราอาร์มของดยุคแห่งวอลแธม
Wappen II Roehrenbrunnen FEU.JPG
ตราอาร์มที่มี
หมวกเกราะเก้าใบ
Skraiste 3.png
หมวกเกราะปิดสำหรับ
พ่อค้าหรือผู้ดี
Merseyside CoA.svg
เทศบาลเมือง
เมอร์ซีย์ไซด์
Coat of arms of the Pitcairn Islands.svg
หมู่เกาะพิตแคร์น
US Army Command & General Staff College Device.png
ตราของวิทยาลัย
เสนาธิการทหาร
แห่งกองทัพสหรัฐ
Mitra heráldica.svg
หมวกนักบวช
สำหรับพระสังฆราช
C o a Gregorio XVI.svg
พระสันตะปาปา
เกรกอรีที่ 16
Dieceze Brno CoA.jpg
สังฆมณฑลบรโน
John paul 2 coa.svg
จอห์น ปอลที่ 2
Template-Priest.svg
หมวก (และโล่ไม่มีตรา) ของนักบวช
Kard Tomasek Frantisek CoA.jpg
คาร์ดินัล Tomášek
Coat of arms of Joseph Ratzinger.svg
เบเนดิกต์ที่ 16
เมื่อเป็นคาร์ดินัล
Template - Grand Master of the Teutonic Order.svg
อัศวินทิวทัน

อ้างอิงแก้ไข

  1. Woodcock (1988), p. 202.
  2. 2.0 2.1 2.2 Fox-Davies (1909), p. 303.
  3. Fox-Davies (1909), p. 319.
  4. Neubecker (1976), pp. 148, 162.
  5. 5.0 5.1 Neubecker (1976), p. 148.
  6. Woodcock (1988), p. 75.
  7. Fox-Davies (1909), p. 58.
  8. Fox-Davies (1909), pp. 322-323.
  9. Fox-Davies (1909), p. 323.
  10. Neubecker (1976), p. 165.

บรรณานุกรมแก้ไข

  • Fox-Davies, Arthur Charles; Graham Johnston (1909, 2004). A Complete Guide to Heraldry. Kessinger Publishing. ISBN 1417906308
  • Neubecker, Ottfried (1976). Heraldry: Sources, Symbols and Meaning. Maidenhead, England: McGraw-Hill. ISBN 0070463085
  • Woodcock, Thomas; John Martin Robinson (1988). The Oxford Guide to Heraldry. New York: Oxford University Press. ISBN 0192116584

ดูเพิ่มแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หมวกเกราะ