การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)
(ดูรายละเอียดในนิยามของตรา) |
การแบ่งโล่ หรือ แบ่งโล่ (อังกฤษ: Division of the field) เป็นศัพท์ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรงการแบ่งโล่บนตราอาร์มออกเป็นส่วนหรือช่องต่างๆ พื้นตราของโล่อาจจะแบ่งออกเป็นบริเวณที่มากกว่าสองบริเวณที่แต่ละบริเวณอาจจะมีผิวตราที่ต่างกัน ที่มักจะดำเนินตามลักษณะของเรขลักษณ์
การแบ่งแต่ละวิธีก็จะมี นิยามต่างกันไปที่ใช้ศัพท์คล้ายคลึงกับศัพท์ที่ใช้ในเรขลักษณ์ เช่นโล่ที่แบ่งตามเรขลักษณ์ทรงจั่วบ้านก็จะได้รับนิยามว่า “per chevron” หรือ “แบ่งจั่ว” ตามลักษณะแถบจั่วที่ใช้ในเรขลักษณ์
จุดประสงค์ของการแบ่งตราก็มีหลายประการๆ หนึ่งอาจจะเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตราที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อ “การรวมตรา” (marshalling) ที่หมายถึงการรวมตราอาร์มมากกว่าสองตราขึ้นไปเป็นตราเดียว หรือ เพียงเพื่อเป็นสร้างความสวยงามให้กับตรา “เส้นแบ่ง” (Line) ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรง และเส้นที่ใช้แต่ละแบบก็จะมีนิยามที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้โครงสร้างของศัพท์เช่นเดียวกับเรขลักษณ์
นอกจากนั้นการแบ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะเป็นลายหยักต่างๆ คล้ายกับที่ใช้ในเรขลักษณ์
แบ่งโล่ที่สำคัญ
แก้ลักษณะ | ตัวอย่าง | Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย |
---|---|---|
แบ่งขวาง (parted per fess หรือ party per fess) - แบ่งครึ่งตามแนวนอน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Apchat ในฝรั่งเศส | ||
แบ่งตั้ง (party per pale) - แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง เช่นที่ปรากฏบนตราของ Brest ในฝรั่งเศส | ||
แบ่งทแยง (party per bend) - แบ่งเป็นสองส่วนตามแนวทแยงจากมุมซ้ายบนลงมายังมุมขวาล่าง เช่นที่ปรากฏบนตราของ Barruera ในสเปน | ||
แบ่งทแยงขวา (party per bend sinister) - แบ่งครึ่งตามแนวทแยงจากมุมซ้ายล่างขึ้นไปยังมุมขวาบน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Tyrgils Knutsson | ||
แบ่งกางเขนไขว้ (party per saltire) - แบ่งเป็นสี่ส่วนตามแนวทแยงทั้งจากซ้ายและขวา เช่นที่ปรากฏบนตราของ Leudeville ในฝรั่งเศส | ||
แบ่งกางเขน (party per cross หรือ quarterly) - แบ่งเป็นสี่ส่วนตามแนวตั้งและแนวนอน เช่นที่ปรากฏบนตราของ Corrèze ในฝรั่งเศส | ||
แบ่งจั่ว (party per chevron) - แบ่งตามลักษณะจั่ว เช่นที่ปรากฏบนตราของมาร์ค ฟิลลิปส์ | ||
แบ่งวาย (party per pall) - แบ่งตามลักษณะรูปตัว “Y” เช่นที่ปรากฏบนตราของ Ménitré ในฝรั่งเศส |
ตามปกติแล้วพื้นตราไม่อาจจะแบ่งได้ตาม “per bordure” (แบ่งขอบ) ได้ หรือตาม “per chief” (แบ่งบน) หรือแบ่ง “เครื่องหมาย” (Charge) แต่ก็มีข้อยกเว้น ที่บันทึกในสำนักงานทะเบียนตราอาร์มของทั้งสกอตแลนด์และแคนาดาที่มีการแบ่งทั้งพื้นตราและขอบโล่ตาม “per chief” ที่บันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1677[1]
โล่อาจจะแบ่งเป็นสามส่วนตามนิยาม “tierced” เช่น “tierced per pall” หรือ “แบ่งวาย” หรือถ้าคว่ำ “Y” ก็จะเป็น “tierced per pall reversed” หรือ “แบ่งวายคว่ำ”
เส้นแบ่ง
แก้“เส้นแบ่ง” ก็เช่นเดียวกับเรขลักษณ์ ที่ไม่แต่จะเป็นเส้นตรงแต่เป็นอาจจะเป็นเส้นที่มีลักษณะต่างออกไปและบางครั้งก็จะมีความซับซ้อน เดิมเส้นแบ่งเหล่านี้ก็ใช้ศัพท์ที่มีใช้อยู่แล้วในเรขลักษณ์ แต่นักออกแบบตราสมัยใหม่โดยเฉพาะในฟินแลนด์สร้างกลุ่มเส้นใหม่ที่ใช้รูปทรงของพันธุ์ไม้ที่พบในท้องถิ่นเป็นแบบ[2] ในบรรดาเส้นที่นิยมใช้เป็นเส้นแบ่งก็ได้แก่ คลื่น, หยัก, หยักแหลม, หยักโค้งเว้า, หยักโค้งนูน, หยักปูด, หยักเชิงเทิน, หยักหางนกพิลาป, หยักตาปู ทรงสมัยใหม่ก็ได้แก่ หยักกิ่งสน (ฟินแลนด์: havukoro) หรือ หยักต้นสน (ฟินแลนด์: kuusikoro) เป็นต้น[3] ลายใหม่เหล่านี้พบในตราประจำเมืองหลายเมืองในฟินแลนด์[4]
ลักษณะ | ตัวอย่าง | Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย |
---|---|---|
หยักคลื่น (Wavy) - เช่นในตราของโคเรย์ในฝรั่งเศส | ||
หยักแหลม (Indented) - เช่นในตราของ Aigueperse ในฝรั่งเศส | ||
หยักโค้งนูน (Engrailed) | ||
หยักโค้งเว้า (Invected) - เช่นในตราของแคว้นการ์ดในฝรั่งเศส | ||
หยักปูด (Nebuly) เช่นในตราของ Macfie of Dreghorn ในฝรั่งเศส | ||
หยักเชิงเทิน (Embattled) - เช่นในตราของ L'Argentière-la-Bessée ในฝรั่งเศส | ||
หยักหางนกพิราบ (Dovetailed) - เช่นในตราของ ในฝรั่งเศส | ||
หยักตาปู (Potenty) | ||
หยักกิ่งสน (a fir twig chief) - เช่นในตราของ Ylämaa ในฟินแลนด์ที่นิยามว่า Vert, a fir twig chief Argent หรือ พื้นตราสีเขียว แบ่งขวางลายกิ่งสนสีเงิน | ||
หยักต้นสน (a tree-top lined chief) - เช่นในตราของ Mullsjö ในฟินแลนด์ที่นิยามว่า Azure, a snow crystal argent beneath a tree-top lined chief of the same หรือ พื้นสีน้ำเงิน เกล็ดหิมะสีขาว แบ่งขวางลายต้นสนสีเดียวกัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Skene of Newtyle", Public Register of All Arms and Bearings in Scotland, vol 1, p. 417.
- ↑ Neubecker (1976), p. 89.
- ↑ Appleton, David B. (2002). New Directions in Heraldry เก็บถาวร 2021-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ See fir twig lines of partition in the arms of the Finnish municipalities of Ylämaa, Siipyy, Varpaisjärvi, Karvia, Outokumpu and Joutsa. See tree top lines of partition in the arms of the Finnish municipalities of Taivalkoski, Puolanka, Rautjärvi and Pylkönmäki.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เส้นแบ่งโล่