หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

หมวกเกราะ หรือ มาลา (อังกฤษ: Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริง[1][2] ในบางประเทศโดยเฉพาะในมุทราศาสตร์ของเยอรมันและนอร์ดิค ก็อาจจะใช้หมวกสองหรือสามใบในตราอาร์มเดียวกัน แต่ละใบก็เป็นสัญลักษณ์ของตำแหน่งประมุขของดินแดนนั้น ฉะนั้นหมวกเกราะและเครื่องยอดจึงเป็นสิ่งสำคัญในมุทราศาสตร์ของเยอรมันและนอร์ดิคและจะไม่แยกจากกัน

หมวกที่เปิดกระบังหน้าหรือมีตะแกรงหน้าบริเวณตาจะเป็นหมวกที่ใช้ได้เฉพาะขุนนางผู้มีตำแหน่งสูง ขณะที่ตราของขุนนางผู้ไม่มีตำแหน่งและผู้ดีท้องถิ่น (burgher) จะเป็นหมวกเกราะปิดหน้า[2] แม้ว่าการจัดลำดับการใช้จะมีกฎ แต่ลักษณะของหมวกของแต่ละกลุ่มก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ[2] การวิวัฒนาการของหมวกเกราะในมุทราศาสตร์เป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงวิธีการรบพุ่งของยุคกลาง การใช้จำนวนซี่ของหมวกเปิดหน้าในการระบุตำแหน่งของเจ้าของตรามิได้ใช้กันจนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1615[3] เมื่อการประลองบนหลังม้าด้วยหอกยาวมาแทนที่ด้วยการใช้พลอง (Mace) จุดประสงค์ก็เพื่อจะทุบเครื่องยอดให้หักจากหมวก หมวกที่ปิดหน้าเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปเป็นหมวกที่มีส่วนที่เปิดบริเวณตามากขึ้นเพื่อให้ผู้สวมสามารถมองเห็นได้มากขึ้น โดยมีซี่โลหะหรือตะแกรงป้องกันบริเวณตา เวียนนาจำกัดการใช้หมวกที่มีซี่สำหรับขุนนางและผู้มีความรู้ทางกฎหมายและเทววิทยา ขณะที่หมวกแบบปิดใช้ได้โดยทั่วไป[4] ทิศทางของด้านหน้าของหมวกหรือจำนวนซี่ของตะแกรงก็มีการระบุอย่างละเอียดในคู่มือต่อมา[5] หมวกเกราะของพระมหากษัตริย์ เป็นสีทองหันหน้าตรงเปิดกระบังมียอดเป็นมงกุฎกลายมาเป็นหมวกเกราะที่ใช้โดยพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซีย[5] สำหรับมุทราศาสตร์ทางศาสนา (ecclesiastical heraldry) สังฆราชและนักบวชจะใช้หมวกนักบวช (mitre) ที่เหมาะแก่ตำแหน่งฐานะแทนที่หมวกเกราะ[6]

ในประวัติศาสตร์หมวกเกราะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ได้รับเป็นเกียรติ แต่เป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นสิทธิที่ได้รับ ฉะนั้นหมวกเกราะที่มีแพรและพู่ประดับจะไม่ถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้องแม้แต่ในการใช้ในตราที่ไม่มีเครื่องยอด[7] ถ้าตรามีเครื่องยอดมากกว่าหนึ่ง ในมุทราศาสตร์อังกฤษจะวาดทุกยอดบนหมวกใบเดียว ขณะที่มุทราศาสตร์เยอรมนีที่ปฏิบัติกันมากหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ละยอดก็จะมีหมวกของตนเอง[8] บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปหมวกเกราะหลายใบจะหันเข้าหากัน ถ้าเป็นจำนวนคี่หมวกใบกลางก็จะหันหน้าตรง แต่ในสแกนดิเนเวียหมวกจะหันออกด้านนอก[9] ตราอาร์มของมาร์กราฟคนสุดท้ายของบรานเดนบวร์ก-อันสบาคเป็นโล่ที่แบ่งเป็น 21 แบ่งสี่ที่มีหมวกเกราะ 15 ใบพร้อมเครื่องยอด[10]

แบบหมวก ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง

หมวกเกราะเปิดหน้ามีตะแกรงสำหรับตราของขุนนางผู้มีศักดิ์สูง

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร

ตราอาร์มของดยุคแห่งวอลแธม

ตราอาร์มที่มี
หมวกเกราะเก้าใบ

หมวกเกราะปิดสำหรับ
พ่อค้าหรือผู้ดี

เทศบาลเมือง
เมอร์ซีย์ไซด์

หมู่เกาะพิตแคร์น

ตราของวิทยาลัย
เสนาธิการทหาร
แห่งกองทัพสหรัฐ

หมวกนักบวช
สำหรับพระสังฆราช

พระสันตะปาปา
เกรกอรีที่ 16

สังฆมณฑลบรโน

จอห์น ปอลที่ 2

หมวก (และโล่ไม่มีตรา) ของนักบวช

คาร์ดินัล Tomášek

เบเนดิกต์ที่ 16
เมื่อเป็นคาร์ดินัล

อัศวินทิวทัน

อ้างอิง แก้

  1. Woodcock (1988), p. 202.
  2. 2.0 2.1 2.2 Fox-Davies (1909), p. 303.
  3. Fox-Davies (1909), p. 319.
  4. Neubecker (1976), pp. 148, 162.
  5. 5.0 5.1 Neubecker (1976), p. 148.
  6. Woodcock (1988), p. 75.
  7. Fox-Davies (1909), p. 58.
  8. Fox-Davies (1909), pp. 322-323.
  9. Fox-Davies (1909), p. 323.
  10. Neubecker (1976), p. 165.

บรรณานุกรม แก้

  • Fox-Davies, Arthur Charles; Graham Johnston (1909, 2004). A Complete Guide to Heraldry. Kessinger Publishing. ISBN 1417906308
  • Neubecker, Ottfried (1976). Heraldry: Sources, Symbols and Meaning. Maidenhead, England: McGraw-Hill. ISBN 0070463085
  • Woodcock, Thomas; John Martin Robinson (1988). The Oxford Guide to Heraldry. New York: Oxford University Press. ISBN 0192116584

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หมวกเกราะ