สไมล์ เรดิโอ (อังกฤษ: Smile Radio) เป็นรายการเพลงไทยสากลทางวิทยุในกรุงเทพมหานครที่โดดเด่นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ดำเนินการผลิตโดย บริษัท มีเดีย พลัส จำกัด

สไมล์ เรดิโอ
สถานีวิทยุ เอฟเอ็ม "สไมล์ เรดิโอ"
พื้นที่กระจายเสียงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ความถี่FM 88.0 Mhz (2530-2534)
FM 98.0 Mhz (2535-2538), (2565-2567)
สัญลักษณ์เชื่อมต่อทุกรอยยิ้ม
แบบรายการ
ภาษาไทย ไทย
รูปแบบดนตรีไทยสากล และดนตรีสากล
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (2530-2534)
สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (2535-2538),(2565-2567)
(บริษัท มีเดีย พลัส จำกัด)
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียงพ.ศ. 2530
(ครั้งที่ 1)
พ.ศ. 2565
(ครั้งที่ 2) [1]
ยุติกระจายเสียงพ.ศ. 2538
(ครั้งที่ 1)
พ.ศ. 2567
(ครั้งที่ 2)
ลิงก์
เว็บไซต์www.smileradio.live

ประวัติ

แก้

รายการ สไมล์ เรดิโอ เริ่มกระจายเสียงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 88.0 เมกะเฮิร์ตซ์ หรือที่เรียกกันว่า คลื่นสุดท้ายทางซ้ายสุด โดยจัดเปิดเพลงไทยสากลหลากหลายสไตล์ ทั้งที่กำลังได้รับความนิยม และเพลงหาฟังยากชนิดสถานีอื่นๆ ไม่กล้าเปิดได้ ซึ่งริเริ่มมาจากคลื่นนี้ เช่น เพลงบรรเลง เพลงประกอบ เพลงในเวอร์ชัน Remix โดยเป็นรายการเพลงรายแรกที่จัดตลอดทั้งวัน มีการทำ Jingle ด้วยตนเอง มีการพูดทับในตอนต้นเพลงและตบท้ายเพลง และเป็นรายการเพลงที่ "ไม่รับคิวเพลงจากใคร" จึงสามารถเปิดเพลงได้อย่างอิสระโดยไม่ยึดติดกับสังกัดค่ายเพลงใดๆ ทั้งสิ้น

ความนิยม

แก้

รายการนี้ได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นจำนวนมาก และเป็นที่เชื่อถือของคนในแวดวงสื่อสารมวลชนทุกๆ แขนง โดยสามารถแจ้งเกิดคนขายเสียงจนต้องเผยหน้าค่าตาออกสู่สาธารณชนได้หลายคน อาทิ วินิจ เลิศรัตนชัย, หัทยา เกษสังข์, สาลินี ปันยารชุน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับแฟนรายการอยู่เป็นระยะๆ มีการจัดคอนเสิร์ตครั้งสำคัญ "Live Project" ที่ เอ็ม 88 ไลฟ์เฮ้าส์ รามคำแหง อีกทั้งยังได้ผลิตรายการโทรทัศน์และนิตยสารของตนเองด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

แก้

"สไมล์ เรดิโอ" ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในช่วงต้นปี พ.ศ. 2535 โดยต้องแพ้ประมูลคลื่นวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ และมีการลาออกของดีเจชื่อดังบางคน ทำให้รายการต้องย้ายไปกระจายเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกที่เอฟเอ็ม 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ในชื่อเดิม แต่ได้ขยายการจัดรายการออกเป็น 5 คลื่น โดยมีการส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอลผ่านดาวเทียมไปทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดรายการเพลงตามคอนเซ็ปท์ของแต่ละคลื่น ได้แก่ สไมล์ เรดิโอ I (98.0) สไมล์ เรดิโอ II (94.5) สไมล์ เรดิโอ III (99.5) สไมล์ เรดิโอ IV (107.5) และสไมล์ เรดิโอ V (102.5) แต่ดำเนินรายการได้อีกไม่กี่ปีก็ต้องปิดตัวลงในราวปี พ.ศ. 2538 ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2565 สไมล์ เรดิโอ กลับมาออกอากาศอีกครั้งที่ FM98MHz[2]จนกระทั่งยุติการออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 พร้อมกับออกอากาศผ่านช่องทางออนไลน์ และได้ปิดตัวลงเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ 2567

นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สไมล์ เรดิโอ" กลับมาแล้วคลื่นSMILE RADIO FM 98 วิทยุยิ้มได้ในตำนาน
  2. "เปิดตัวสไมล์เรดิโอ คลื่นวิทยุฮิตยุค 90 หลังหายจากหน้าปัดวิทยุนานถึง 27 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-11-17. สืบค้นเมื่อ 2024-02-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้