สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ
สโมสรฟุตซอลจังหวัดชลบุรี หรือ บลูเวฟ ชลบุรี เป็นสโมสรฟุตซอลในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดชลบุรี ได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยแลนด์ฟุตซอลลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 สามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 11 สมัย[1] และชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ในปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตซอลพีทีที บลูเวฟ ชลบุรี (ชลบุรี บลูเวฟ) | ||
---|---|---|---|
ชื่อย่อ | ชลบุรี บลูเวฟ | ||
ฉายา | ฉลามชล โต๊ะเล็ก, ฉลามพลังเพลิง | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2549 | ||
สนาม | บลูเวฟอารีนา (มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี) | ||
ประธาน | ธัชพัทธ์ เบ็ญจศิริวรรณ | ||
ผู้จัดการ | เบนจามิน จุง ทัฟเนล | ||
ผู้ฝึกสอน | ศรัณญ์ เพิ่มพูล (รักษาการ) | ||
ลีก | ฟุตซอลไทยลีก | ||
2566 | ฟุตซอลไทยลีก, อันดับที่ 3 | ||
|
ทีมของชลบุรีเอฟซี | ||
---|---|---|
ฟุตบอล (ชาย) | ฟุตบอลบี (ชาย) | ฟุตซอล (ชาย) |
อีสปอร์ต | ฟุตบอล (หญิง) |
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์ฟุตซอลลีกฤดูกาลแรกในปี พ.ศ. 2549 สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศได้ 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะยุติการทำทีมชั่วคราวโดยมีการโอนนักเตะและสิทธิการทำทีมทั้งหมดไปให้กับสโมสรฟุตซอล ธอส.อาร์แบค แทน และสามารถคว้าแชมป์ไปได้อีก 3 สมัย คือในปี พ.ศ. 2553, พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555
ต่อมาได้มีการกลับมาคุมทีมอีกครั้งภายใต้การควบคุมของสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี และสโมสรฟุตบอลชลบุรี ภายใต้ชื่อว่า สโมสรฟุตซอลชลบุรี ธอส. อาร์แบค ก่อนที่สุดท้ายจะเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเก่า คือ ชลบุรี บลูเวฟ
ในปี พ.ศ. 2556 ชลบุรีบลูเวฟกลายเป็นสโมสรแรกในประเทศไทยที่สามารถคว้าแชมป์รายการฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียได้สำเร็จ หลังดวลจุดโทษชนะ กิติ ปาซาน แชมป์เก่าเมื่อปี พ.ศ. 2555 จากอิหร่านไปได้ 5-2 หลังเสมอในเวลาปกติ 1-1[2]
ในปี พ.ศ. 2559 คณะกรรมการสโมสรมีมติแต่งตั้ง ธัชพัทธ์ เบ็ญจศิริวรรณ ขึ้นเป็นประธานสโมสรแทน อดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ ที่ได้ลาออกไปรับตำแหน่งประธานพัฒนาฟุตซอลแห่งชาติ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[3]
ในปี พ.ศ. 2560 บริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรพร้อมกับเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตซอลพีทีที บลูเวฟ ชลบุรี และสามารถคว้าแชมป์ฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียสมัยที่สองของสโมสรภายหลังเอาชนะ กิติ ปาร์ซาน จากประเทศอิหร่าน 3-2[4]
ในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักของสโมสรจากพีทีที เป็น ฟรีไฟร์
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ผลงาน
แก้- ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก
- ชนะเลิศ 11 สมัย - 2549, 2552 (ชลบุรี บลูเวฟ), 2553, 2554 - 2555 (ธอส.อาร์แบค), 2555 - 2556, 2557, 2558, 2559 (ชลบุรี บลูเวฟ), 2560, 2563, 2564 - 2565
- รองชนะเลิศ 3 สมัย - 2550, 2561, 2562
- ไทยฟุตซอลเอฟเอคัพ
- ชนะเลิศ 5 สมัย - 2553, 2554, 2557, 2558, 2562
อาเซียน
แก้- อาเซียนฟุตซอลคลับแชมเปียนชิพ
- ชนะเลิศ 2 สมัย - 2562,2564[5]
เอเชีย
แก้ระดับโลก
แก้- ฟุตซอลชิงแชมป์สโมสรโลก (Intercontinental Futsal Cup)
- รอบแรก - 2554
- อันดับที่ 4 - 2557, 2561
- อันดับที่ 6 - 2562
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "บลูเวฟ ชลบุรี ถล่ม ห้องเย็นท่าข้าม ผงาดแชมป์ฟุตซอลลีก สมัยที่ 11". pptvhd36.com.
- ↑ "Chonburi Bluewave win Futsal Club Championship". the-AFC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ บลูเวฟ แถลงตั้ง ธัชพัทธ์ บุตรชาย บิ๊กป๋อม นั่งแทนรองประธาน ลุยศึก 2015 เก็บถาวร 2016-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ทางการสโมสรฟุตซอล ชลบุรี บลูเวฟ
- ↑ "Suphawut stars as Chonburi clinch second title". the-AFC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ AFF, บ.ก. (2021-09-17). "Freefire win AFF Futsal Cup 2021". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ ที่เฟซบุ๊ก
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสโมสร เก็บถาวร 2022-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน