นายสุ่ม โพธิเสน เป็น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต1 (แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง) สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม และเคยเป็น ผู้ถือใบรับรองจัดตั้งโรงเรียนโพธิเสนวิทยา [1]

สุ่ม โพธิเสน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519
ก่อนหน้าสงวนศักดิ์ ศิริชนะ
เขตเลือกตั้งจังหวัดหนองคาย เขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
เสียชีวิต7 มีนาคม พ.ศ. 2553 (84 ปี)
พรรคการเมืองพรรคสังคมชาตินิยม
อาชีพนักการเมือง
ชื่อเล่นสุ่ม

ประวัติ แก้

นาย สุ่ม โพธิเสน เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 เป็นบุตรของนายจันทร์ โพธิเสน(อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนหรือบ้านเวียงคุกในปัจจุบัน) และนางดาว โพธิเสน (สกุลเดิม ณ หนองคาย) มีพี่น้อง 5 คน เกิดอยู่ที่บ้านเวียงคุก หมู่ 4 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย สำเร็จการศึกษาสอบไล่ได้ตามหลังสูตรประโยคครูมูล ในปี พ.ศ 2502 จัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้เด็กและเยาว์ชนได้ศึกษาเรียนรู้ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมวิสามัญศึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ในวันที่ 16 กันยายน 2551 เป็นปราชญ์หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ให้ข้อมูลทั้งประวัติบ้านโพนสา ในปี พ.ศ 2523 ได้ให้ความอนุเคราะห์รถยนต์ให้แก่โรงเรียนโพนศิลางามวิทยา ต้นตระกูลโพธิเสนสืบสายมาจากพระยาวุฒิธรรมมประดิษฐ์เป็นต้นตระกูลโพธิเสน เครือญาติสายสกุลที่ได้มาจากการสมรสของลูกหลานในภายหลัง สายสกุลแก้วโยธา สายสกุลจันทวงศ์ และราชสกุลทองแถม [2]

สถานที่ แก้

ด้วยที่พักสงฆ์ดอนแก้ว มีพระภิกษุมาพำนักอยู่ จำนวน ๔ รูปแต่ยังไม่มีอุโบสถ และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ที่ดิน เพื่อใช้ในการสร้างวัดเป็นที่พักนักของพระภิกษุสงฆ์สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดหนองคาย และเพื่อเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจอันก่อประโยชน์ด้านการสร้างศีลธรรมให้กับชุมชน โรงเรียน ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนารถบพิตร โดยทรงเน้นว่าให้มีวัดเพื่อให้มีพระไว้สอนชาวบ้านในบริเวณนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวัดใหญ่โต เน้นให้สามารถเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนได้เป็นสำคัญ ในลักษณะวัดขนาดเล็กที่เรียบง่าย ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และศรัทธา เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ ทั้งทางศาสนา สังคม และจริยธรรม แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน โดย นายอภิชาติ โพธิเสนบุตรของนายสุม โพธิเสน อายุ ๖๗ ปี สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ อาชีพ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนโพธิเสนวิทยา อยู่บ้านเลขที่ ๙/๓ หมู่ที่ ๔ ตำบล ท่าบ่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย บริจาคที่ดินโฉนด น.ส.๓ก. เลขที่ ๑๗๓๘ ตั้งอยู่ที่ บ้านเดื่อ ถนนมิตรภาพ หมู่ที่ ๖ ตำบล บ้านเดื่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย มีเนื้อที่ ๕ไ ร่ - งาน ๓๐ ตารางวา [3]

บุคคลสำคัญท่องถิ่น แก้

ขนะดำรงตำแหน่งนายสุ่ม โพธิเสนเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ในการสร้างถิ่นฐานหมู่บ้านเวียงคุก ในขนะนั้นบ้านเวียงคุกชื่อว่าบ้านดอนหรือห้วยคุก เพาะเป็นดอกเล็กๆที่ติดกับริมแม่น้ำโขงสามารถข้ามแม่น้ำโขงไปหากันได้ในยามแล้ง ในปี พ.ศ 2523 น้ำโขงเพื่มปริมาณขึ้นทำให้บ้านดอนกลายเป็นน้ำนายสุ่ม โพธิเสน นำเรือและอาหารมาดูแลรักษาและอพยกชาวบ้านขึ้นจากที่อันตราย การรับการดูแลผู้ที่อพยมมาจากประเทศลาว ผู้ป้องกันคนญานและคนลาวที่อพยมเข้ามาก่อการร้าย[4] ได้ตั่งกระทู้ในรัฐสภา ส่วนในตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวถึง หมื่นกางโฮง(กลางโรง) ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองสาเกตุ(จังหวัดร้อยเอ็ด)เพราะเมืองล่ม มาตั้งบ้านเรือนอยู่ปาก "ห้วยคุก" และการบรรจุพระธาตุบังพวน(พระธาตุขี่โพนหรือกระเพาะอาหาร) ซึ่งอยู่ใต้เมืองนี้ด้วย และตำนานท้องถิ่นว่ามีเจ้ามหาชีวิตลาวองค์หนึ่งทำคุคำ(ครุทองคำ)มาตกที่ห้วยนี้ จึงเรียกว่า "ห้วยคุกทองคำ" และกร่อนเสียงเป็น "คุก" จนตั้งเมืองและเวียง(นคร)ขึ้นจึงเรียกชื่อตามว่า "เวียงคุก" [5]

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นครู บุคลากร โรงเรียนในสังกัดเอกชน ในพื้นที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 1 สังกัดพรรคพลังชาติสังคมนิยม ปี พ.ศ. 2519 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดหนองคาย เขตการเลือกตั้งที่ 1 ใน อำเภอเมืองหนองคาย, อำเภอศรีเชียงใหม่, อำเภอท่าบ่อ และอำเภอสังคม นายสุ่ม โพธิเสนได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 เดือนเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งได้จำนวน ส.ส. มากที่สุดจึงได้ทำการจัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรคซึ่ง พรรคสังคมชาตินิยม ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับ พรรคชาติไทย และ พรรคธรรมสังคม โดยมีประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลผสมชุดนี้ได้บริหารประเทศอยู่ 6 เดือนก่อนจะถูก คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน รัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สุ่ม โพธิเสน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ครั้งแรก คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-02. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. [1]
  3. [2]
  4. [[https://web.archive.org/web/20190603044535/http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_214101.pdf เก็บถาวร 2019-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน]]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๕๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
  7. https://sites.google.com/site/rxbruthxngthinthabxhnxngkhay/home/prawati/phngsa-wli

แหล่งข้อมูลอื่น แก้