สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ย้อนไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว

สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยมีจุดเริ่มต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (ตามเวลา UTC) แล้วข้ามเข้าสู่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เงามืดได้เริ่มพาดผ่านบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากเส้นขอบฟ้า เข้าสู่ ประเทศเนปาล ประเทศบังคลาเทศ ประเทศภูฐาน และ ประเทศพม่า ก่อนที่จะเข้าสู่ตอนกลางของประเทศจีน โดยเงามืดพาดผ่านเมืองสำคัญของประเทศจีนเป็นจำนวนมาก และ พาดผ่านลงสู่ที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจนสิ้นสุดเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นการเกิดสุริยุปราคาที่บงบังดวงอาทิตย์ได้นานมากกว่า 6 นาที 39 วินาที ยาวนานที่สุดตั้งแต่การเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และนับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[1] ประเทศที่เป็นสุริยุปราคาบางส่วน เช่น ไทย ลาว พม่า ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประเภท
แกมมา0.0696
ความส่องสว่าง1.0799
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา398 วินาที (6 นาที 38.8 วินาที)
สถานที่เอเชียแปซิฟิค
พิกัด24°12′36″N 144°06′24″E / 24.21000°N 144.10667°E / 24.21000; 144.10667
ความกว้างของเงามืด258.4 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด02:35:21
แหล่งอ้างอิง
แซรอส136
บัญชี # (SE5000)9528


สุริยุปราคาบางส่วนในไทย แก้

การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม 2552 ประเทศไทยสามารถเห็นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน เริ่มสัมผัสในเวลา 7:02 น. (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) บดบังมากที่สุดประมาณ 69% (จังหวัดเชียงราย) และสิ้นสุดเวลา 09:19 น. (จังหวัดอุบลราชธานี) [2]

สุริยุปราคาครั้งนี้ได้มีกิจกรรมจัดดูตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น กรุงเทพมหานครมี 3 จุด คือ โรงเรียนเทพศิรินทร์, วงเวียน 22 กรกฎาคม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] แต่ทัศนียภาพส่วนใหญ่ถูกบดบังด้วยเมฆฝน ท้องฟ้าปิดจึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ เว้นแต่พื้นที่ภาคเหนือบางส่วน[4]

รูปภาพ แก้

เต็มดวง แก้

บางส่วน แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้