สามารถ ม่วงศิริ

พลตำรวจตรี นายแพทย์ สามารถ ม่วงศิริ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

สามารถ ม่วงศิริ
สามารถ ใน พ.ศ. 2555
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าถวิล ไพรสณฑ์
สากล ม่วงศิริ
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
ถัดไปวัน อยู่บำรุง
เขตเลือกตั้งเขต 28
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2542 - ปัจจุบัน)


ประวัติ แก้

สามารถ ม่วงศิริ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[1] เป็นบุตรของนายประเสริฐ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร กับ นางรัตนา ม่วงศิริ และเป็นพี่ชายของนายสากล ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และนายสารัช ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

การศึกษา แก้

  • ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป้วยฮั้วกงฮัก
  • ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดหนัง
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • ปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
  • Visiting fellow in Hip and Knee Service, Hospital for Special Surgery, New York, U.S.
  • แพทย์เวชศาสตร์การบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
  • การบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 40 วิทยาลัยการตำรวจ
  • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 20 สถาบันพระปกเกล้า

การทำงาน แก้

  • นายแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลกลาง กรมราชทัณฑ์
  • นายแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
  • นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อเข่าและข้อสะโพก
  • กรรมการชมรมศัลยแพทย์ข้อเข่าข้อสะโพก แห่งประเทศไทย
  • หัวหน้าศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
  • ประธานศูนย์ความเป็นเลิศการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โรงพยาบาลตำรวจ
  • หัวหน้าทีมปฏิบัติการ โรงพยาบาลตำรวจ ภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า จ.เชียงราย

งานการเมือง แก้

สามารถได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเอาชนะ วัน อยู่บำรุง จากพรรคเพื่อไทยไปได้ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือก[2]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
  2. "ตรวจคะแนน เลือกตั้ง ส.ส.กทม.ครบ 30 เขต!". mgronline.com. 2019-03-25.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๖, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕