สันติบาล (กัมพูชา)

สันติบาล (เขมร: សន្តិបាល, ออกเสียง [sɑnteɓaːl]; แปลว่า ผู้รักษาความสงบ) เป็นกองกำลังรักษาความมั่นคงและตำรวจลับในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย

สันติบาล
សន្តិបាល
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งประมาณ พ.ศ. 2514
ยุบเลิก7 มกราคม พ.ศ. 2522
ประเภทตำรวจลับ
เขตอำนาจกัมพูชาประชาธิปไตย
สำนักงานใหญ่เรือนจำความมั่นคงที่ 21 พนมเปญ
รัฐมนตรี
  • ซอน เซน, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สหายดุช ผู้บัญชาการ
ต้นสังกัดหน่วยงานเขมรแดง

สันติบาลรับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยภายในและดำเนินการในค่ายกักกันเช่นตวลซแลงที่ซึ่งผู้คนหลายพันคนถูกคุมขัง สอบปากคำ ทรมาน และประหารชีวิต สันติบาลเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กรของเขมรแดงตั้งแต่ก่อนวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่อเขมรแดงเข้าครอบครองประเทศ

ประวัติ แก้

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2514 เขมรแดงหรือพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาจัดตั้งเขตพิเศษนอกกรุงพนมเปญภายใต้การกำกับดูแลของวอน เวต และซอน เซน เซนซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจรับผิดชอบหน่วยสันติบาลและแต่งตั้งสหายดุชเป็นผู้บัญชาการ เจ้าหน้าที่คนสำคัญของสันติบาลเช่นสหายจันและสหายพลมีพื้นเพมาจากจังหวัดกำปงธม บ้านเกิดของสหายดุช[1]

เมื่อเขมรแดงครองอำนาจใน พ.ศ. 2518 ดุชย้ายกองบัญชาการสันติบาลไปกรุงพนมเปญโดยขึ้นตรงต่อซอน เซน ในขณะนั้นโบสถ์วัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองหลวงถูกใช้เป็นที่กักขังนักโทษที่เคยทำหน้าที่กับลอน นอล และสาธารณรัฐเขมร ซึ่งมีจำนวนไม่ถึงสองร้อยคน ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2519 ดุชได้ย้ายกองบัญชาการอีกครั้งไปสถานที่ที่เคยเป็นโรงเรียนมัธยมปลายชื่อตวลซแลงซึ่งสามารถกักขังนักโทษได้มากถึง 1,500 คน ที่ตวสเลงมีการกวาดล้างกลุ่มแกนนำเขมรแดงครั้งใหญ่ และนักโทษหลายพันคนถูกทรมานและสังหาร ระหว่าง พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2521 มีชาวกัมพูชา 20,000 คนถูกคุมขังที่ตวลซแลง ในจำนวนนี้มีผู้ใหญ่เพียงเจ็ดคนเท่านั้นที่รอดชีวิต อย่างไรก็ตาม ตวลซแลงเป็นเพียงหนึ่งในสถานที่ประหารชีวิตอย่างน้อย 150 แห่งทั่วประเทศ[2]

อ้างอิง แก้

  1. Ben Kiernan, The Pol Pot Regime: Race, Power and Genocide in Cambodia under the Khmer Rouge, 1975-1979. Page 315
  2. Locard, Henri, State Violence in Democratic Kampuchea (1975-1979) and Retribution (1979-2004) เก็บถาวร 2013-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, European Review of History, Vol. 12, No. 1, March 2005, pp.121–143.
  • Nic Dunlop (2005). The Lost Executioner - A Journey into the Heart of the Killing Fields. Walker & Company, New York. ISBN 0-8027-1472-2.
  • Bizot, François; translated from French by Euan Cameron (2003). The Gate. Alfred A. Knoph. ISBN 0-375-41293-X.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)