สัณหพจน์ สุขศรีเมือง

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง (เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516) รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เลขานุการคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร[1]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 สมัย

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 (51 ปี)
พรรคการเมืองรวมใจไทยชาติพัฒนา
พลังประชารัฐ
คู่สมรสพีรภาว์ เทียมไพศาล
บุตร3 คน

ประวัติ แก้

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 เป็นบุตรของนายประเสริฐ และ นางพร้อม สุขศรีเมือง[2] สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารรัฐกิจและกฎหมาย มหาวิทยารามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2550[2] สมรมกับ นางสาวพรีภาว์ เทียมไพศาล มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน แก้

สัณหพจน์เคยเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.เอส.เบลท์ จำกัด รวมถึงเคยทำงานเป็นเลขาฯของนายสมคาด สืบตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นอกจากนี้ยังเคยเป็นอดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสภาทนายความ และเป็นอดีตที่ปรึกษาสภาทนายความจังหวัดมีนบุรี ในช่วง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2554

งานการเมือง แก้

สัณหพจน์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เขต 12 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้เพียง 447 คะแนน นอกจากนั้นยังเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2556 สังกัดอิสระ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยสามารถเอาชนะวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส. 8 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปได้

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 (อำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร) โดยสังกัดพรรคเดิม[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นาย สัณหพจน์ สุขศรีเมือง
  2. 2.0 2.1 หมายเลข 6 นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง
  3. "เปิดใจ 'ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง' แม่ทัพใต้ 'พลังประชารัฐ'". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-04-02.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้