สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี

สมเด็จราชบุตรี พระอนุช นโรดม อรุณรัศมี (เขมร: សម្តេចរាជបុត្រីព្រះអនុជ នរោត្តម អរុណរស្មី; ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวกัมพูชา และเป็นพระราชธิดาองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง บาทบริจาริกาชาวลาว

นโรดม อรุณรัศมี
สมเด็จราชบุตรีพระอนุช[ก]
ประสูติ2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
พนมเปญ อาณาจักรกัมพูชา
พระสวามีหม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ (หย่า)
แก้ว พุทธรัศมี
พระบุตรหม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นาเกีย
หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นนโท
หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริกิต นาตาลี
หม่อมเจ้านโรดม รัศมีปนิตา
หม่อมเจ้านโรดม รัศมีเขมมุนี
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
(สายราชสกุลนโรดม)
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระมารดามะนีวัน พานีวง
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง หม่อมชาวลาวจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยพระชนกของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โปรดหม่อมชาวลาวนางนี้มาก จึงได้พระราชนิพนธ์เพลง บุปผาเวียงจันทน์ พระราชทานแด่ชนนีของพระองค์ และถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง[1]

สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ทรงสำเร็จการศึกษาจาก Petit Lycée Descartes ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และโรงเรียนคาทอลิกมาร์แตเดอีในแกบ นอกจากภาษาเขมรแล้ว พระองค์สามารถรับสั่งเป็นภาษาลาว ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษได้

สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เคยเป็นพระราชอาคันตุกะพิเศษของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดโครงการสัมมนาดนตรีของไทยและกัมพูชา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[2]

พระองค์ได้เล่นการเมืองในพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC)[3]

สมรส แก้

สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เสกสมรสกับนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ ภายหลังได้หย่ากัน และได้เสกสมรสอีกครั้งกับนายแก้ว พุทธรัศมี มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่[4][5]

  1. หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ มีพระโอรสสองพระองค์ และพระธิดาพระองค์เดียว ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นาเกีย (4 สิงหาคม พ.ศ. 2518)
    • หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นันโท (16 มิถุนายน พ.ศ. 2520)
    • หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริกิต (9 ตุลาคม พ.ศ. 2522) สมรสแล้วกับชาลส์ เมลวิน ไฮด์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2547[6]
  2. แก้ว พุทธรัศมี มีพระโอรสและพระธิดาอย่างละคน ได้แก่
    • หม่อมเจ้านโรดม รัศมีปนิตา
    • หม่อมเจ้านโรดม รัศมีเขมมุนี

พระอิสริยยศและราชอิสริยาภรณ์ แก้

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้พระราชทานพระอิสริยยศที่ "พระองค์มจะ (พระองค์เจ้า) ราชบุตรีพระอนุช" ("Preah Ang Machas Reach Botrei Preah Anoch") และได้รับกาารเฉลิมพระอิสริยยศอีกครั้งโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น "สมเด็จราชบุตรีพระอนุช" ("Somdech Reach Botrei Preah Anoch") ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ หลายประเภท โดยทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา, เครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์ชั้นที่ 4 (Commander of the Royal Order of Monisaraphon) และอื่น ๆ

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ

ลำดับสกุลยศของราชสำนักกัมพูชา "สมเด็จพระราชบุตร/บุตรี" คือพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดินกับพระอัครชายา เทียบได้กับ "เจ้าฟ้าชั้นโท หรือชั้นสมเด็จ" ของราชสำนักไทย[7] และ "พระอนุช" เป็นราชาศัพท์เขมร แปลว่า "น้องชาย/น้องสาว"[8]

อ้างอิง
  1. คึกฤทธิ์ ปราโมช. ถกเขมร. ก้าวหน้า : พระนคร, พิมพ์ครั้งที่ 3, ตุลาคม 2506. หน้า 208
  2. "วงมโหรีปี่พาทย์ Khmer Orchestra จาก.สุรินทร์ .สู่..การบรรเลงเพลงที่ .อยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  3. "Nationality questions generate debate" เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Angus Reid Global Monitor.
  4. Preah Ang Mechas Norodom Arun Rasmy
  5. Vong Sokheng (18 October 2007). "Royalists nominate princess for PM slot". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
  6. "A Cambodian princess marries". The Star. Saturday January 15, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 395.
  8. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 5.