สมัยสจวต
สมัยสจวต (อังกฤษ: Stuart period) เป็นสมัยของประวัติศาสตร์อังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1603 จนถึงปี ค.ศ. 1714 ตรงกับการครองราชย์ของกษัตริย์ราชวงศ์สจวต ซึ่งเป็นระยะเวลาระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ และมาสิ้นสุดลงในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์เมื่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1แห่งราชวงศ์ฮาโนเวอร์ขึ้นครองราชย์ สมัยสจวตเป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยเอลิซาเบธ และตามด้วยสมัยจาโคเบียน สมัยสจวตเป็นสมัยของความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรและศาสนา
สมัยสจวต | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 | |
ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1714 | |
ก่อนหน้า | สมัยเอลิซาเบธ |
ตามด้วย | สมัยจาโคเบียน |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 - สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ |
ประวัติศาสตร์ - ยุคสมัย - กษัตริย์ |
เหตุการณ์สำคัญ
แก้สงครามกลางเมือง
แก้สงครามกลางเมืองอังกฤษเริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์สจวต ที่มาสิ้นสุดลงเมื่อพระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์โดยฝ่ายรัฐสภาผู้ได้รับชัยชนะในปี ค.ศ. 1649
หลังจากนั้นอังกฤษก็เข้าสู่สมัยไร้กษัตริย์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 จนถึงปี ค.ศ. 1660 ในช่วงนั้นอังกฤษก็ตกอยู่ภายใต้การนำของเจ้าผู้พิทักษ์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ระหว่างปี ค.ศ. 1653 - ค.ศ. 1659 หลังจากการเสียชีวิตของครอมเวลล์แล้วเครือจักรภพแห่งอังกฤษก็เริ่มสลายตัวลง จนกระทั่งรัฐบาลต้องหันไปอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้ไปลี้ภัยอยู่บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปกลับมาครองราชย์ในเหตุการณ์ที่เรียกว่าการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ
สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์
แก้สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นสามครั้งที่เป็นการต่อสู้ระหว่างอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1652 จนถึง ค.ศ. 1674 ความพ่ายแพ้ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ต่อเนเธอร์แลนด์ทำให้เนเธอร์แลนด์กลายมามีอำนาจอันแข็งแกร่งในการควบคุมเส้นทางการค้าทางเรือมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1713[1]
การคบคิดโพพพิช
แก้การคบคิดโพพพิช (ค.ศ. 1678) เป็นข่าวลือเกี่ยวกับการคบคิดของหมู่ผู้นับถือโรมันคาทอลิกที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ที่เป็นผลที่ทำให้ประชาชนเกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงไปทั่วราชอาณาจักรอังกฤษ ที่เป็นผลทำให้ผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารไปราว 35 คน[2]
การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของปี ค.ศ. 1688
แก้การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ซึ่งเป็นการปฏิวัติอันไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ที่เป็นผลให้เจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และพระชายาเจ้าหญิงแมรีได้ขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษร่วมกัน แต่ก็มีฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ในสกอตแลนด์ที่เป็นผลให้เกิดการสังหารหมู่ที่เกลนโค (Massacre of Glencoe) [3]
ลำดับเหตุการณ์
แก้- ค.ศ. 1651-ค.ศ. 1660 - สมัยไร้กษัตริย์อังกฤษ
- เครือจักรภพแห่งอังกฤษ (ครั้งแรก) (ค.ศ. 1649 - ค.ศ. 1653)
- รัฐผู้พิทักษ์ภายใต้โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (ค.ศ. 1653 - ค.ศ. 1658)
- รัฐผู้พิทักษ์ภายใต้ริชาร์ด ครอมเวลล์ (ค.ศ. 1658 - ค.ศ. 1659)
- เครือจักรภพแห่งอังกฤษ (ครั้งที่สอง) (ค.ศ. 1659 - ค.ศ. 1660)
พระมหากษัตริย์
แก้ราชวงศ์สจวตมีพระมหากษัตริย์อังกฤษ 7 พระองค์ (นับรวมสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ซึ่งครองราชย์ร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ด้วย) ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษ
พระเจ้าเจมส์ที่ 1 | พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 | พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 | พระเจ้าเจมส์ที่ 2 | พระราชินีนาถแมรีที่ 2 | พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 | พระราชินีนาถแอนน์ |
- ราชวงศ์สจวตสมัยแรก
- ราชวงศ์สจวตสมัยที่สอง
อ้างอิง
แก้- ↑ "Dutch War." Encyclopædia Britannica from Encyclopædia Britannica 2006 Ultimate Reference Suite DVD. ok[Accessed May 1, 2008].So, your mum!
- ↑ "Popish Plot."Encyclopædia Britannica from Encyclopædia Britannica 2006 Ultimate Reference Suite DVD.[Accessed May 1, 2008].
- ↑ "Glorious Revolution."Encyclopædia Britannica from Encyclopædia Britannica 2006 Ultimate Reference Suite DVD .[Accessed May 1, 2008].