สมจิตต์ ยอดเศรณี

รองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 247517 กันยายน พ.ศ. 2555) อดีตอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 เป็นชาวสวนทุเรียน ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

สมจิตต์ ยอดเศรณี
เกิด10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475
นนทบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต17 กันยายน พ.ศ. 2555
(80 ปี 219 วัน)
อุบลราชธานี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
แบบแผนการกล่าวถึงสัตวศาสตร์
ตำแหน่งอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คู่สมรสระจิต ยอดเศรณี
บิดามารดา
  • ชื้น ยอดเศรณี (บิดา)
  • พยอม ยอดเศรณี (มารดา)

ประวัติการศึกษา แก้

รศ.สมจิตต์ ยอดเศรณี หรือ รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปี พ.ศ. 2499 ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2502 ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสัตวบาลสาขาพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2506 และได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ จากมหาวิทยาลัยมานิโตบา โดยทุนของรัฐบาลประเทศแคนาดา ปี พ.ศ. 2515

ประวัติการทำงาน แก้

รศ.สมจิตต์ ยอดเศรณี เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งนายสัตวบาลตรี ประจำสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ความทุรกันดาร สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภาคอีสาน ที่ท่านได้พบเห็นกลับเป็นแรงบันดาลใจในความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2507 ท่านได้ย้ายมาประจำสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ ในโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น นับได้ว่าท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีส่วนในการก่อร่างสร้างฐานให้กับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งนี้

ท่านได้เริ่มชีวิตการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อยมา จนกระทั่งปี 2518 จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ท่านมุมานะตามปณิธานผ่านการสอน การวิจัยเพื่อพัฒนา การถ่ายทอดส่งเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เป็นที่ปรึกษาชมรมสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อปี 2528 เป็นต้นมา

ด้านการบริหารงาน

จากประสบการณ์ความรู้ความสามารถในด้านการบริหารงาน ในปี 2529 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดอีกครั้งในชีวิตของท่าน คือการได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอุบลราชธานี ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเตรียมการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จึงนับได้ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญ เป็นเสาหลักและขวัญกำลังใจให้แก่คณะบุคคล ในการฟันฝ่าอุปสรรคให้บรรลุถึงเป้าหมายของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแห่งนี้ และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2534 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นบุคคลแรก คุณูปการที่ท่านรองศาสตราจารย์ สมจิตต์ ยอดเศรณี ได้ทำไว้ไม่เฉพาะนักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจสุขภาพความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคแห่งนี้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งก็คือเป้าหมายของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แห่งนี้นี่เอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙


ก่อนหน้า สมจิตต์ ยอดเศรณี ถัดไป
-   อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(25 มกราคม พ.ศ. 2534 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
  ศาสตราจารย์ (พิเศษ)
ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ